Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

จากแพขยะ สู่ บ้านพลาสติกของสิ่งมีชีวิตในกองขยะขนาดใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิก - EnvironmanEnvironman

จากแพขยะ สู่ บ้านพลาสติกของสิ่งมีชีวิตในกองขยะขนาดใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิก

เมื่อสัตว์น้ำใช้แพขยะเป็นที่อยู่อาศัย อาจทำให้กลายพันธุ์รุกรานต่อระบบนิเวศใกล้เคียง

Great Pacific Garbage Patch คือกองขยะพลาสติกขนาดมหึมาที่มากกว่า 1.8 ล้านล้านชิ้นถือเป็นหายนะของสิ่งแวดล้อม แต่ในตอนนี้นักวิทยาศาสตร์พบว่ามันอาจสร้างปัญหายิ่งกว่าเดิมเมื่อขยะเหล่านี้กลายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด ที่อาจกลายเป็นสายพันธุ์รุกรานต่อระบบนิเวศใกล้เคียง

แม้นักวิทยาศาสตร์จะรู้มานานแล้วว่าสัตว์ต่าง ๆ เช่น หนอน สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง และหอยจะใช้พลาสติกเป็นที่อยู่อาศัยบ้างแต่งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร Nature Ecology & Evolution จะได้ให้รายละเอียดที่ไม่มีใครคาดคิดว่า แพขยะพลาสติกจำนวนมากจะกลายเป็นสภาพแวดล้อมที่มีระบบชุมชนทางชีวภาพของตนเอง

ทั้งดอกไม้ทะเล ไบรโอซัวสีขาว แอมฟิพอดที่คล้ายกุ้ง หอยนางรมและหอยแมงภู่ต่างเรียนรู้ที่จะมีชีวิตรอดในทะเลเปิดได้โดยการเกาะติดกับพลาสติก พร้อมกับแพร่พันธ์ุในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากที่พวกมันเคยอยู่

“มันอาจจะเป็นหนึ่งในสภาพแวดล้อมที่มีคนรู้จักน้อยที่สุด นั่นคือ ผิวน้ำทะเล” Martin Thiel นักชีววิทยาทางทะเลจากมหาวิทยาลัยคาทอลิกทางตอนเหนือในชิลี กล่าว “มันเป็นชุมชนเฉพาะที่เรากำลังรบกวนมันอย่างมากในตอนนี้”

Great Pacific Garbage Patch คืออะไร?

Great Pacific Garbage Patch หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า แพขยะในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ถึงแม้จะมีคำว่า ‘แพ’ แต่ขยะเหล่านี้ก็ไม่ได้เกาะกันเป็นแพที่แน่นหนา พวกมันค่อนข้างกระจายตัวกันไปแต่ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ราว 1.6 ล้านตารางกิโลเมตร

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น พื้นที่ประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 513,120 ตารางกิโลเมตร ดังนั้นแพขยะในมหาสมุทรแปซิฟิกจึงใหญ่กว่าประเทศไทยอยู่ราว 3 เท่า ขยะพลาสติกจำนวนมากเหล่านี้ทอดยาวจากชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือไปจนถึงญี่ปุ่นฝั่งแปซิฟิก

ตามรายงานของ National Geographic ระบุเอาไว้ว่ากัปตันเรือที่ชื่อ Charles Moore คือผู้คนพบแพขยะเหล่านี้เป็นคนแรกในขณะที่แข่งขันเรือยอชท์อยู่ เมื่อเขาและลูกเรือข้ามวงเวียนกึ่งเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือไป พวกเขาก็เจอเข้ากับพลาสติกนับล้านชิ้นที่ลอยอยู่รอบเรือ

ทาง Reef Conservation International ซึ่งเป็นองค์กรอาสาสมัครที่มีจุดมุ่งหมายอนุรักษ์มหาสมุทรได้ระบุเพิ่มเติมว่า วิธีที่ดีที่สุดในการนึกถึง ‘แพขยะแปซิฟิก’ คือให้จินตนาการถึงฟองน้ำมันที่ลอยอยู่บนซุปขนาดใหญ่ซึ่งเปรียบได้กับมหาสมุทร แต่ฟองน้ำมันบนซุปเหล่านี้มีมากกว่า 1.8 ล้านล้านชิ้นและหนักกว่า 7 ล้านตัน

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่ากว่า 80% ของพลาสติกในแพขยะนั้นมาจากแผ่นดินซึ่งผู้คนทิ้งลงตามแม่น้ำหรือเล็ดลอดออกมาจากการจัดการที่ไม่ดี สำหรับส่วนที่เหลือนั้นมาจากเรือและแหล่งทางทะเลอื่น ๆ อย่างไรก็ตามเปอร์เซ็นดังกล่าวนั้นแตกต่างกันไปตามการศึกษา เช่น ในปี 2018 ระบุว่าอวนประมงคิดเป็นสัดส่วนมวลเกือบครึ่งของแพขยะดังกล่าว

แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทุกคนเห็นตรงกันคือ ขยะเหล่าไม่ได้เป็นขยะชิ้นใหญ่แต่กลับเต็มไปด้วยชิ้นเล็ก ๆ รวมถึงไมโครพลาสติกจำนวนอีกนับไม่ถ้วนที่แตกออกมา มันจึงกลายเป็นปัญหาโดยตรงกับสิ่งแวดล้อมและสัตว์นานาชนิด

สถานการณ์เหล่านั้นอาจย่ำแย่กว่าที่ใคร ๆ คิดจนทำให้สิ่งมีชีวิตในทะเลจำเป็นต้อง ‘อยู่กิน’ ในพลาสติกเหล่านี้

บ้านพลาสติกหลังใหม่

ทีมวิจัยที่นำโดย Linsey Haram และทีมงานจากศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมสมิธโซเนียน (SERC) ระบุว่ามีสิ่งมีชีวิตไม่มีกระดูกสันหลังที่เป็นสายพันธุ์อยู่ตามชายฝั่งจำนวนมาก มาสร้างอาณานิคมบนพลาสติกโดยที่พวกมันสามารถอยู่รอดและสืบพันธุ์ต่อไปได้

“ฉันจำครั้งแรกที่ Jim (หนึ่งในทีมวิจัย) และฉันดึงพลาสติกชิ้นหนึ่งออกมา แล้วเห็นระดับของสายพันธุ์ชายฝั่งที่มีอยู่ในนั้น เราแทบตกใจเลย” Haram กล่าว “ความหลากหลายที่เราพบส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ชายฝั่ง ไม่ใช่พันธุ์พื้นเมืองในมหาสมุทรเปิดตรงผิวน้ำทะเลที่เราคาดการณ์ไว้”

“บน 2 ใน 3 ของเศษซาก เราพบว่ามีชุมชนอยู่ร่วมกัน แข่งขันกันเพื่อแย่งชิงพื้นที่ และอาจมีแนวโน้มที่จะโต้ตอบกันในรูปแบบอื่น” เธอเสริม.

Haram และทีมงานได้ตรวจสอบขยะพลาสติก 105 ชิ้นที่ได้จากแพขยะในมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2018 ถึง มกราคม 2019 พวกเขาสามารถระบุสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเลได้ 484 ตัวบนเศษขยะ ซึ่งคิดเป็น 46 สายพันธุ์ที่แตกต่างกัน โดย 80% ของกลุ่มเหล่านั้นจะพบตามแนวชายฝั่ง

นับเป็นตัวเลขที่สูงกว่าที่ทีมวิจัยคาดการณ์ไว้อย่างมาก สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงการนำสัตว์ชายฝั่งทะเลออกสู่มหาสมุทรเปิดเท่านั้น แต่ยังสร้างสภาพแวดล้อมที่ผิดธรรมชาติซึ่งอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่อื่น ๆ ตามมา หลายชนิดอาจย้ายไปยังอีกซีกโลกหนึ่งแล้วแพร่พันธุ์กลายเป็นสัตว์รุกราน พร้อมกับกลืนกินสัตว์ท้องถิ่น แล้วทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลงจนระบบนิเวศพังทลาย

“ถ้าคุณสามารถสืบพันธุ์ได้ คุณก็สามารถแพร่กระจายได้ และถ้าคุณสามารถแพร่กระจายได้ คุณก็สามารถบุกรุกได้” Linda Amaral-Zettler นักจุลชีววิทยาทางทะเลจากสถาบันวิจัยทางทะเลแห่งเนเธอร์แลนด์ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการศึกษาครั้งใหม่กล่าว และแพขยะในพลาสติกก็ดูจะเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยในสถานการณ์นี้

นี่เป็นการศึกษาที่เกิดเฉพาะในพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์จึงไม่แน่ใจว่าแปซิฟิกในภูมิภาคอื่น ๆ หรือในมหาสมุทรอื่น ๆ (เพราะมีขยะพลาสติกจำนวนมากเช่นเดียวกัน) หากทั้งหมดเป็นไปในทางเดียวกัน เราก็สามารถคาดการณ์ถึงหายนะที่อาจจะเกิดขึ้นกับสายพันธุ์ท้องถิ่นได้เลย และนี่ยังไม่รวมปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับวาฬ ปลา นก และเต่าทะเล

อนาคตที่น่าหวั่นใจ

สำหรับนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลแล้ว การดำรงอยู่ของอาณานิคม ‘มหาสมุทรเปิดใหม่’ นี้ถือเป็นสิ่งที่ไม่เคยเจอมาก่อน ขยะพลาสติกที่เคยเชื่อกันว่าเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตและไม่มีใครต้องการมัน กลับกลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ของสัตว์นานาชนิดที่หลากหลาย และห่างจากบ้านของพวกมันหลายพันกิโลเมตร

การมาถึงของแพขยะในแปซิฟิกอาจสร้างการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศทางทะเลครั้งใหญ่ในทิศทางที่ไม่มีความมั่นคงเลย และหากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีกระดูกสันหลัง(ที่เป็นสายพันธุ์ชายฝั่ง)ได้ออกไปยังทะเลที่กว้างใหญ่ มันก็สร้างความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ ‘พื้นฐาน’ ขึ้นไปยังห่วงโซ่อาหารที่อยู่บนสุด

“นอกเหนือจากความน่าตกใจแล้ว ฉันคิดว่าผลกระทบก็อาจมีขนาดใหญ่มาก” Sabine Rech นักชีววิทยาทางทะเลจาก Universidad Católica del Norte ในชิลี ซึ่งศึกษาชีวิตเกี่ยวกับขยะในมหาสมุทรในแปซิฟิกใต้บอก

แม้การค้นพบนี้จะดูน่าทึ่งที่สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวให้เข้ากับมลพิษพลาสติก แต่มันก็แสดงให้เห็นด้วยเช่นกันว่าน ปัญหานี้ควรได้รับการจัดการอย่างจริงจังสักที

“สำหรับผม นี่เป็นคำเตือนอีกประการหนึ่งสำหรับเราว่า ต้องมีการดำเนินการอย่างรวดเร็วและจริงจังเพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกที่ลงสู่มหาสมุทร” Thiel กล่าว “เพราะเมื่อมันอยู่ในทะเลเปิดแล้ว มันก็สายเกินไป”

ที่มา

https://www.nature.com/articles/s41559-023-01997-y

https://www.scientificamerican.com/…/surprising…

https://www.theatlantic.com/…/animals-migrating…/673744

https://oceanographicmagazine.com/…/great-pacific…

https://www.firstpost.com/…/plastic-home-great-pacific…

Photo : Linsey Haram / Smithsonian Institution

Credit