Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

วาฬ ยักษ์ใหญ่ผู้กู้โลกแห่งท้องทะเล ที่เราต้องเร่งปกป้อง - EnvironmanEnvironman

วาฬ ยักษ์ใหญ่ผู้กู้โลกแห่งท้องทะเล ที่เราต้องเร่งปกป้อง

การล่าวาฬเพื่อเอาน้ำมันไม่ได้มีอยู่แค่ในภาพยนตร์อวาตาร์ แต่ยังมีอยู่ในชีวิตจริง

เพื่อน ๆ จำฉากในเรื่องอวาตาร์ที่มีการล่าวาฬได้ไหม? ในชีวิตจริงยังมีการล่าอยู่เลยนะ ยักษ์ใหญ่แห่งท้องทะเลผู้ที่กอบกู้โลกจึงกำลังเจอกับวิกฤตที่ยากจะหลีกเลี่ยง

และรู้หรือไม่! ทุกวันเสาร์ที่สามของเดือนกุมภาพันธ์ คือ วันวาฬโลก (World Whale Day) โดย มูลนิธิ Pacific Whale Foundation ในปี 1980 ณ เกาะเมาวี รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับวาฬ รวมถึงสร้างตระหนักถึงบทบาทสำคัญของวาฬในระบบนิเวศมหาสมุทร ปีนี้ก็ตรงกับวันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2025 

จากรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ในหัวข้อ Nature’s Solution to Climate Change ระบุว่า ตลอดชีวิตของวาฬหนึ่งตัวสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 33 ตัน และเมื่อวาฬตาย ร่างจะจมลงสู่ทะเลลึกพร้อมคาร์บอนไดออกไซด์ที่เก็บไว้ในตัว ในขณะที่ต้นไม้หนึ่งต้นสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 21.8 กิโลกรัมต่อปี หากต้นไม้มีชีวิตอยู่ถึง 100 ปี จะสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 2.4 ตัน ซึ่งน้อยกว่าความสามารถของวาฬ

วาฬยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยเพิ่มปริมาณแพลงก์ตอนพืช ปกติแล้ววาฬใหญ่จะดำน้ำลึกเพื่อหาอาหาร และจะลอยขึ้นสู่ผิวน้ำเพื่อถ่ายของเสียออกจากร่างกาย หรือเรียกพฤติกรรมนี้ว่า ‘Whale pump’ โดยของเสียเหล่านี้อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืช ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ ในฐานะผู้ผลิตออกซิเจนมากถึงร้อยละ 50–80 ในชั้นบรรยากาศโลก และดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 37,000 ล้านตันต่อปี หรือคิดเป็น 40% หรือมากกว่าป่าแอมะซอนถึง 4 เท่า 

ทว่า ในปี 2023 จำนวนของวาฬที่เหลืออยู่ในมหาสมุทรทั่วโลกราว 1.3 ล้านตัว และมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีปริมาณการตายที่สูง จากภัยคุกคามที่วาฬต้องเผชิญ สาเหตุหนึ่งจากการล่าวาฬ ซึ่งเป็นปัญหาที่ดำรงอยู่มานานหลายศตวรรษ

จากรายงานจาก International Whaling Commission (IWC) ระบุว่า การล่าวาฬในช่วงศตวรรษที่ 20 มีการล่ามากกว่า 2.9 ล้านตัวในแถบมหาสมุทรแอนตาร์กติก เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์จากวาฬ เช่น น้ำมันวาฬ (whale oil) ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสบู่และน้ำหอม รวมถึงกระดูกวาฬที่ใช้ในเสื้อผ้าและเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งการล่าวาฬเชิงพาณิชย์ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชากรวาฬทั่วโลก หลายสายพันธุ์ เช่น วาฬสีน้ำเงิน (Blue Whale) ที่ถูกล่าจนใกล้สูญพันธุ์ 

แม้การล่าวาฬเชิงพาณิชย์จะถูกห้ามโดย IWC ตั้งแต่ปี 1986 แต่ยังมีบางประเทศที่ยังคงมีการล่าวาฬอยู่ คือ ญี่ปุ่น นอร์เวย์ และไอซ์แลนด์ โดยปี 2024 สำนักข่าว BBC มีรายงานข่าวว่า รัฐบาลไอซ์แลนด์ได้ออกใบอนุญาตล่าวาฬ เป็นเวลา 5 ปี ภายใต้ใบอนุญาตใหม่นี้ จะสามารถจับวาฬฟิน (Fin Whale) ได้ 209 ตัวและวาฬมิงค์ (Minke Whale) 217 ตัวในช่วงฤดูล่าวาฬของแต่ละปี เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ซึ่งหากมีการอนุญาตเกิดขึ้น จะส่งผลต่อชีวิตวาฬจำนวนกว่า 2,000 ตัวตลอดอายุใบอนุญาต

สำหรับประเทศไทย แม้จะไม่มีการล่าวาฬในเชิงพาณิชย์หรือวัฒนธรรม แต่วาฬในทะเลไทย เช่น วาฬบรูด้า (Bryde’s Whale) ซึ่งเป็นสัตว์สงวนลำดับที่ 16 ของประเทศไทย มีสถานะเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และวาฬหัวทุย หรือวาฬสเปิร์ม (Sperm Whale) ที่พบในน่านน้ำไทย มีรายงานเพียง 3 จังหวัด คือ พังงา ภูเก็ต และสตูล ซึ่งถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายไทย ยังต้องเผชิญภัยคุกคามจากมนุษย์ 

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ประเมินว่า ในทะเลไทย มีวาฬบรูด้าเพียง 50-70 ตัว ซึ่งใกล้สูญพันธุ์ จากการหายไปของแหล่งอาหาร การสูญเสียที่อยู่อาศัย การติดอวนประมง การเลี้ยวชนของเรือ มลพิษทางเสียง มลพิษทางน้ำ อุณหภูมิที่สูงขึ้นของน้ำทะเล รวมไปถึงขยะพลาสติกที่มนุษย์ผลิตกันอยู่ทุกวัน

ในทุก ๆ ปี ขยะพลาสติกมากกว่า 11 ล้านเมตริกตันถูกทิ้งลงทะเล ซึ่งมีตัวเลขที่พบว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ใต้ท้องทะเล 100,000 ตัว ต้องจบชีวิตลงด้วยขยะพลาสติกทุกปี โดย 59% ของวาฬได้รับผลกระทบจากขยะเหล่านี้ จากการผ่าพิสูจน์ซากวาฬคูเวียร์ ประเทศฟิลิปปินส์ พบขยะพลาสติกในท้องหนักประมาณ 40 กิโลกรัม และกระสอบข้าวอยู่ถึง 16 กระสอบ ในประเทศไทยเราเองก็มีปัญหาขยะทางทะเลมากเป็นอันดับที่ 6 ของโลก มีสัตว์ทะเลกินขยะพลาสติกจนทำให้ระบบทางเดินอาหารล้มเหลวจนเสียชีวิต ซึ่งเราอาจต้องใช้เวลามากกว่า 30 ปี ที่จะเพิ่มจำนวนวาฬทั่วโลกในปัจจุบันเป็นสองเท่าได้

หากสามารถทำให้วาฬเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 4 – 5 ล้านตัวได้ จะช่วยกักคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 1,700 ล้านตันต่อปี ดังนั้น เราควรให้ความสำคัญกับการเร่งปกป้องวาฬอย่างจริงจัง โดยการรณรงค์ให้ช่วยกันลดภัยอันตรายที่จะเกิดกับวาฬ ทั้งการไม่ล่าวาฬ ลดการใช้และไม่ทิ้งขยะพลาสติกลงสู่ท้องทะเล เพื่อช่วยให้วาฬได้อยู่กันอย่างปลอดภัยและมีจำนวนมากขึ้น เพราะการอนุรักษ์วาฬเท่ากับเราได้ช่วยกู้โลกแห่งท้องทะเลของเราด้วย

เรียบเรียง : Atitaya Phoemphon

ที่มา:

https://iwc.int/en

https://www.pacificwhale.org

https://km.dmcr.go.th/c_250/d_9775

https://www.seub.or.th/bloging/news/2023-295/

https://www.thaipbs.or.th/news/content/281354

https://reports.eia-international.org/keeptheban

https://www.bbc.com/news/articles/ced896w96w3o

https://hub.mnre.go.th/th/knowledge/detail/65491

https://www.unep.org/news-and-stories/story/protecting-whales-protect-planet

https://www.imf.org/en/Publications/fandd/issues/2019/12/natures-solution-to-climate-change-chami

Credit

Atitaya P.

นักสื่อสารหาทำ สนใจเรื่องการศึกษาและสิ่งแวดล้อม ชอบความท้าทายเล็กๆ เดินทาง ท่องเที่ยว เรียนรู้ผู้คน