Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

โลกจะเป็นอย่างไรในอีก 30 ปี หากเรายังนิ่งเฉย - EnvironmanEnvironman

โลกจะเป็นอย่างไรในอีก 30 ปี หากเรายังนิ่งเฉย

โลกนั้นกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ระบบนิเวศที่สำคัญของโลกพังทลายลงจนไม่สามารถค้ำจุนชีวิต

โลกจะเป็นอย่างไรในอีก 30 ปีข้างหน้าหากเรายังไม่หยุดทำลายธรรมชาติ? วิกฤตสภาพอากาศ การใช้ทรัพยากรที่มากเกินไป มลพิษ และการเห็นแก่ผลประโยชน์ ทั้งหมดนี้อาจทำให้ระบบนิเวศที่สำคัญของโลกพังทลายลงจนไม่สามารถค้ำจุนชีวิตที่สดใส ซึ่งมีอยู่เพียงแห่งเดียวในจักรวาลเท่าที่เรารู้ในตอนนี้ให้มีชีวิตต่อไปได้

“ผมรู้สึกเจ็บปวดที่ต้องคอยเห็นการทำลายระบบนิเวศทางธรรมชาติอย่างไม่มีที่สิ้นสุดในประเทศบ้านเกิดของผม ซึ่งก็คือบราซิล” Alexandre Antonelli ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ของสวนพฤกษศาสตร์ รอยัล โบทานิค การ์เดน กล่าว “ตั้งแต่ป่าฝนแอมะซอนและแอตแลนติก ไปจนถึงป่าไม้เซอร์ราโด ต้นไม้ที่เป็นที่อยู่ของแมลงและกล้วยไม้มากมาย”

“ดินที่เต็มไปด้วยจุลินทรีย์และเชื้อรา พร้อมกับที่ดินที่เสือจาร์กัวกับนกทูแคนอาศัยอยู่มาอย่างยาวนานนับพันปีกำลังสูญหายไปอย่างโหดร้าย” Antonelli กล่าวเสริม “ปัจจัยที่ทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพนั้นมีอยู่จริง และมันก็พร้อมให้ทุกคนได้เห็น วิทยาศาสตร์เสนอการแก้ไขที่ทรงพลัง แต่เวลาของเรากำลังจะหมดลง” 

หากเรามองไปรอบ ๆ ตัวของเราทุกวันนี้ คงไม่เป็นการยากที่จะบอกว่าโลกนั้นกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อากาศที่เคยหนาวเย็นในช่วงปลายเดือนกันยายนจนถึงมกราคม ที่ทำให้ชาวภาคเหนือต้องห่มผ้ากัน 2 ชั้นเหมือนเมื่อ 20 ปีที่แล้วไม่มีอยู่อีกต่อไป 

ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ร้อน ร้อนมาก และร้อนมากที่สุดซึ่งมาพร้อมกับฝุ่น PM2.5 ที่ค่อย ๆ บ่อนทำลายสุขภาพโดยที่เราไม่รู้ตัว ไม่เพียงเท่านั้น ทะเลที่เคยสดใสหลายแห่งกลับมีแต่ชายหาดที่เต็มไปด้วยขยะพลาสติกจำนวนมาก อีกทั้งเสียงของเหล่าสัตว์ก็เริ่มจางหายลงไป ความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นหากเราสังเกตสักนิดก็จะรับรู้ได้ไม่ยาก

ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า การทำลายธรรมชาติอย่างต่อเนื่องทั่วโลกจะส่งผลให้เกิดการ ‘ช็อก’ ครั้งใหญ่ต่อแหล่งน้ำสะอาดปลอดภัยและแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษยชาติ ซึ่งเกิดจากการสูญพันธุ์ของชีวิตที่มีเอกลักษณ์ในท้องถิ่นพังทลายล้มลงเป็นโดมิโน่

หากเรายังไม่มีการดำเนินการใด ๆ เพื่อยับยั้งผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นนี้ ภายในปี 2050 โลกอาจเปลี่ยนตัวเองกลายเป็นสิ่งที่เราไม่คุ้นเคยอีกต่อไป นี่คือสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ ผู้นำท้องถิ่น กับนักอนุรักษ์ทั่วโลกพยายามบอกมานานนับสิบปีแล้ว และ ‘เวลานั้นกำลังจะหมดลง’ 

คำเดียว ‘ทะเลทราย’ 

Sandra Myrna Díaz นักชีววิทยาชาวอาร์เจนติน่าซึ่งเป็นประธานร่วมในการประเมิน IPBES ซึ่งเป็นแบบประเมินความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศระดับโลก ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่สุดของความหลากหลายทางชีวภาพที่ลดลงคือ การเปลี่ยนแปลงที่ดิน” 

นักวิทยาศาสตร์ประเมินไว้ว่า มนุษยชาติได้เคลียร์พื้นที่โลกไปแล้วประมาณ 1 ใน 3 ของผืนป่าทั้งหมด เพื่อเปลี่ยนมันเป็นพื้นที่เพาะปลูกในช่วง 10,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เกิดการทำลายระบบนิเวศที่สำคัญเช่น ป่าฝนเขตร้อนซึ่งหนึ่งในป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก จนเหลือน้อยลงเรื่อย ๆ 

“หากแนวโน้มเหล่านี้ยังคงดำเนินต่อไปในทศวรรษหน้า สุขภาพของดินก็มีแนวโน้มที่จะเสื่อมลงอีก” Myrna Díaz กล่าวต่อ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้ภูมิประเทศในหลายภูมิภาคมีความเสื่อมโทรลง พร้อมกับแห้งแล้งขึ้น ดินที่เคยมีสารอาหารอันอุดมสมบูรณ์ถูกรีดออกไปเหลือแค่ดินเปล่า ๆ 

สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถรองรับพืชพรรณได้อีกต่อไป จากระบบนิเวศที่เคยเป็นป่าใหญ่กลับกลายเป็นพื้นที่รกร้างอันว่างเปล่า แล้วท้ายที่จะเมื่อเวลาผ่านไปมันจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็น ‘ทะลทราย’ ที่ขยายตัวขึ้น น่าเศร้าที่ดูเหมือนว่าเราทุกคนกำลังทำให้โลกเดินไปในทางนั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ 

“หากเราไม่ดำเนินการที่จำเป็น เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายไว้ อนาคตของโลกและของมนุษย์โลกจะสามารถอธิบายได้เป็นคำเดียวว่า ‘ทะเลทราย’” Cristiane Julião จากชนเผ่า Pankararu พื้นเมืองในแอมะซอนของบราซิล กล่าว 

“ป่าแอมะซอนในบราซิลที่ที่ผู้คนของผมอาศัยอยู่จะกลายเป็นทะเลทราย หากระบบเศรษฐกิจโลกยังคงให้ความสำคัญกับการแสวงหาผลประโยชน์และผลกำไรจากสุขภาพของโลกและผู้คนของเรา หากเราไม่เปลี่ยนแนวทางการพัฒนาในปัจจุบัน ความรู้ การปฏิบัติ และสัตว์ พืช กับสภาพอากาศที่เราต้องพึ่งพานั้นจะสิ้นสุดลง” Julião กล่าวต่อ

เรายังคงมีเวลา ลดการใช้พลังงานฟอสซิล ต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่าด้วยกฎหมายที่เข้มงวด และสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน อาจทำให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นลดน้อยลง สิ่งสำคัญคือเราต้องร่วมมือกัน

สายพันธุ์เอเลี่ยนรุกรานดาหน้ากันเข้ามา

เมื่อช่วงเดือนกันยายนปี 2023 ที่ผ่านมา สหประชาชาติได้เผยแพร่การประเมินที่มาจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งระบุเอาไว้ว่า สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์รุกรานกำลังกลายเป็นปัญหาทั่วโลก ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาท และมีแนวโน้มว่าจะเลวร้ายลงหากไม่มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน

นักวิทยาศาสตร์ได้บันทึกสายพันธุ์ที่รุกรานซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศท้องถิ่นไว้แล้วอย่างน้อย 3,500 ชนิดทั่วโลก พวกมันแพร่กระจายผ่านการเดินทางและการค้าขายของมนุษย์ ซึ่งกำลังมีมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมนุษย์นับแสนคนต้องออกจากบ้านของตัวเองเพื่อหนีไฟป่า หรือไม่ก็ระดับน้ำทะเลที่กำลังสูงขึ้น

“หากไม่มีการจัดการใด ๆ (ระบบนิเวศท้องถิ่น) จะสูญเสียเอกลักษณ์ทางนิเวศวิทยา และจะไม่มีความเหมาะสมต่อธรรมชาติกับผู้คน” Aníbal Pauchard ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ป่าไม้แห่งมหาวิทยาลัย Concepción ในชิลี และผู้ช่วยเป็นผู้นำการประเมินของผู้เชี่ยวชาญของ UN กล่าว

ทีมวิจัยประเมินว่า 1 ใน 4 ของความหลากหลายทางชีวภาพที่พบในชิลี ไม่มีในที่อื่นใดในโลกอีกแล้ว ดังนั้นสายพันธุ์รุกรานจึงมีความอันตรายอย่างยิ่ง และตอนนี้มันก็ทำให้สายพันธุ์เฉพาะถิ่นในชิลีเริ่มลดจำนวนลงแล้วจนถึงระดับใกล้สูญพันธุ์

ไม่เพียงเท่านั้น สภาพอากาศที่อบอุ่นก็ยังส่งเสริมให้สัตว์อย่างยุง ซึ่งก่อโรคในมนุษย์แพร่กระจายไปมากยิ่งขึ้น หากลองสังเกตดูในช่วงที่ฤดูหนาวอากาศหนาวนั้นจะไม่มียุงมาก่อกวน แต่เมื่ออากาศร้อนขึ้น ยุงก็สามารถระบาดได้ไกลขึ้น นี่เป็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในยุโรป ซึ่งหลายประเทศไม่เคยพบยุงมากขนาดนี้มาก่อน แต่ปัจจุบันแทบจะเจอยุงเป็นเรื่องปกติ

“หญ้าสายพันธุ์รุกรานจะยังคงมีส่วนทำให้เกิดไฟป่าและการเผาไหม้ง่ายขึ้น สัตว์ที่รุกรานชายฝั่งก็จะคุกคามการประมงต่อไป” ศาสตราจารย์ Peter Stoett ผู้ร่วมเป็นประธานการประเมินของสหประชาชาติเกี่ยวกับสายพันธุ์ที่รุกราน เตือน 

“การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศน่าจะขยายขอบเขตของหอยและผู้บุกรุกรายอื่น ๆ ในเกรทเลกส์ (Great lake) ด้วยเช่นกัน ซึ่งสร้างความกังวลเป็นพิเศษว่าจะคุกคามความเปราะบางของอาร์กติก” ศาสตราจารย์ Stoett กล่าว

หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง นักวิทยาศาสตร์คาดการว่า เฉพาะในยุโปร สายพันธุ์รุกรานจะเพิ่มจำนวนขึ้น 2 เท่าภายในปี 2050 

น้ำบาดาลที่จะไม่สะอาดอีกต่อไป

การสะสมของพลาสติก สารเคมี ยาฆ่าแมลง และปุ๋ยในระบบนิเวศ กำลังค่อย ๆ ซึมเข้าไปยังใต้ดิน และท้ายที่สุดแล้วมันจะเข้าไปในน้ำบาดาล แหล่งน้ำที่หลายพันล้านคนทั่วโลกใชอยู่ James Dalton ผู้อำนวยการโครงการน้ำระดับโลกของ IUCN (องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ) ได้กล่าวเอาไว้ว่า 

“น้ำที่เราใช้ ซึ่งเราสร้างมลพิษให้กับมัน และมลพิษเหล่านั้นบางส่วนก็ขึ้นกลับมาสู่พื้นดิน จากนั้นก็ค่อย ๆ แทรกซึมเข้าไปในแหล่งน้ำในอนาคตของเรา ซึ่งบางอย่างก็อยู่ถาวร” เขา กล่าว “ในสหรัฐอเมริกา พวกเขามีน้ำใต้ดินที่ปนเปื้อนซึ่งไม่สามารถทำความสะอาดได้อีกต่อไป” 

มีการประเมินกันว่าไมโครพลาสติกกว่า 170 ล้านล้านอนุภาคแพร่กระจายไปทั่วโลก ซึ่งจะเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าภายในปี 2050 ดังนั้นจึงคิดได้ไม่ยากว่าน้ำบาดาลเป็นหนึ่งในแหล่งที่ถูกปนเปื้อนอย่างแน่นอน ไม่เพียงเท่านั้น Federico Maggi จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์กล่าว กล่าวว่าโลกใช้ยาฆ่าแมลง 3 ล้านตันทุกปีเพื่อควบคุมพืช เชื้อรา และแบคทีเรีย

แม้ 82% ของสารเคมีเหล่านั้นจะย่อยสลายทางชีวภาพ แต่ 10% จะอยู่ในดิน และอีก 8% ที่เหลือจะลงไปยังชั้นหินอุ้มน้ำ แม้จะฟังดูเป็นตัวเลขไม่มาก แต่ 8% ของ 3 ล้านตันนั้นมากโขอยู่ มลพิษทั้งหมดนี้ “ลดความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ว่ามันจะไปที่ใดก็ตาม มันลดจำนวนไส้เดือน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แมลงผสมเกสร และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เป้าหมาย(ของยาฆ่าแมลง)” Maggi บอก

ระบบนิเวศในน้ำที่สูญหาย

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและมลพิษต่าง ๆ ไม่ได้คุกคามแค่ชีวิตบนดิน แต่รวมถึงในน้ำด้วยเช่นกัน ซึ่งมันกำลังสร้างปัญหาโดยตรง นกทะเลตายเพราะไมโครพลาสติกมากขึ้น และต้องดิ้นรนท่ามกลางอาหารทะเลที่น้อยลงเพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้น

เช่นกัน ภาวะโลกร้อนก็ได้ทำให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ยืนยันทั่วโลกแล้วว่าเป็นหนึ่งในครั้งที่รุนแรงที่สุด ปะการังเหล่านี้เปรียบเสมือน ‘ป่าฝน’ บนพื้นดิน มันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิด ซึ่งคอยค้ำจุนความอุดมสมบูรณ์ของชีวิตในทะเล 

การสูญเสียแนวปะการังที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้สัตว์ต่าง ๆ ตายลงไปตาม ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังความมั่นคงทางอาหารของมนุษย์ 

“อุณหภูมิที่สูงขึ้น ความแห้งแล้งที่ยืดเยื้อยาวนาน และเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรง ได้เปลี่ยนแปลงแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่ที่ชีวิตหลายชนิดเติบโต โดยสร้างผลกระทบด้านลบต่อผลผลิตและความมั่นคงทางอาหาร” Juan Lucas Restrepo ผู้อำนวยการทั่วไปของ Alliance of Bioversity International กล่าว

“นี่เป็นภัยคุกคามครั้งใหญ่ต่อความยั่งยืนด้านสิ่งแดวล้อม สังคม และเศรษฐกิจในภูมิกาค หากแนวโน้มนี้ยังคงอยู่ มันจะจำกัดความพร้อมของอาหาร และทำให้ราคาอาหารสูงขึ้นส่งผลให้เกิดภาวะโภชนาการไม่เพียงพอเพิ่มขึ้น” 

ความร่วมมือคือกุญแจสำคัญ

“ความร่วมมือระดับโลกเป็นสิ่งสำคัญ” Surangel Whipps Jr จากประเทศปาเลาในมหาสมุทรแปซิฟิกและประธานร่วมของคณะกรรมการระดับสูงเพื่อเศรษฐกิจมหาสมุทรที่ยั่งยืนกล่าว “มาตรการความยั่งยืนภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเราเพียงอย่างเดียวไม่สามารถรับประกันความสามารถของโลกในการจัดหาอาหาร อากาศ และน้ำได้”

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและภาวะโลกร้อนกำลังแยกเราเป็นเสี่ยง ๆ ซึ่งสร้างความตึงเครียดในระดับนานาชาติ ราวกับรูปปั้นที่เกิดรอยร้าวและพร้อมที่จะแตกออกหากมีใครสักคนมาสะกิด แต่ผู็เชี่ยวชาญเชื่อว่า เราทุกคนสามารถผ่านอุปสรรคเหล่านี้ไปได้ด้วยกัน เพียงแค่เราร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา

สิ่งที่เราทำเล็กน้อย ๆ ที่อาจดูไม่ได้ส่งผลอะไรเช่นการ ‘ไม่เทรวม’ หรือการแยกขยะให้ถูกต้องก่อนทิ้ง แต่รู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมนี้ช่วยส่งเสริมการรีไซเคิลให้มากขึ้น ลดมลพิษ และช่วยสนับสนุนให้เกิดการกำจัดอย่างถูกวิธี ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว เราสามารถเปลี่ยนแปลงผลกระทบที่เกิดขึ้นได้

“หากเราไม่ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพในตอนนี้เพื่อปกป้อง และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ” Unai Pascual จากศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบาสก์กล่าว “เราอาจจะได้เห็นความทุกข์ทรมานของมนุษย์ที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะชาวเมืองที่เปราะบางที่สุดในโลก” 

หากโลกเป็นสถานที่ที่สวยงาม เป็นบ้านของคนที่เรารัก และเป็นที่ที่ทำให้เราสามารถสร้างความฝันให้เป็นจริงได้ เราหวังว่าผู้อ่านจะร่วมมือกับเรา เพื่อรักษาโลกใบนี้ให้หมุนต่อไปอย่างสวยงามในแบบที่มันเป็น

ข้อมูลจาก

https://www.theguardian.com/environment/2023/nov/29/a-biodiversity-catastrophe-how-the-world-could-look-in-2050-unless-we-act-now-aoe

https://euromed-economists.org/unless-action-is-taken-by-2050-therell-be-a-biodiversity-catastrophe-experts-warn/

https://www.ipbes.net/impact/73676

https://press.un.org/en/2022/envdev2046.doc.htm

Credit