Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

สิ่งแวดล้อมกับ ฝุ่นต้นปี ของขวัญ (?) ที่คนไทย “เลี่ยงไม่ได้” - EnvironmanEnvironman

สิ่งแวดล้อมกับ ฝุ่นต้นปี ของขวัญ (?) ที่คนไทย “เลี่ยงไม่ได้”

ฝุ่นเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนผ่านฤดู สำหรับไทย ช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม ค่าฝุ่นจะพุ่ง แต่นั่นเป็นแค่ ‘การสะสม’ ของฝุ่นไม่ใช่ต้นตอที่แท้จริง

เปิดปี 2568 ด้วยฝุ่น PM 2.5 นับตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยเกิดปรากฏการณ์ฝุ่นปกคลุมอย่างหนาแน่น จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้คนไทยหลายคนได้รู้จักกับฝุ่น PM 2.5 เป็นครั้งแรก เป็นเวลากว่า 6 ปี ที่คนไทยต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มาปรากฏในทุกต้นปี

แต่คนไทยอาจใช้ชีวิตอยู่กับฝุ่นมานานกว่าที่คิด

หากอ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) หลังใช้ดาวเทียมระบบ MODIS ติดตามและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ฝุ่นในไทย พบว่าไทยเผชิญหน้ากับฝุ่นละอองขนาดเล็กมานานกว่า 20 ปี ยิ่งในแถบภาคเหนืออย่าง น่าน พะเยา เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน มีค่าฝุ่น PM2.5 สูงเกินมาตรฐานติดต่อนานหลายปี โดยเฉพาะช่วงมกราคม – มีนาคมของทุกปี จะเป็นช่วงที่สถานการณ์ฝุ่นมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก 

ทำไมทุกต้นปี ฝุ่นถึงกลับมาเยือน ? 

ฝุ่นเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนผ่านฤดู สำหรับประเทศไทย ช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากฤดูหนาวสู่ฤดูร้อน จึงมักพบเจอกับฝุ่น หมอก และควัน อยู่เป็นประจำ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังอ่อนลงตาม ผนวกกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในระดับล่าง ทำให้ระดับเพดานการลอยตัวและการกระจายตัวของฝุ่นละอองอยู่ในระดับต่ำ การไหลเวียนของอากาศไม่ดี จึงเกิดการสะสมของฝุ่นละออง หมอก และควัน ในชั้นบรรยากาศจำนวนมาก 

อย่างไรก็ดี ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านฤดูกาล เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิด ‘การสะสม’ ของฝุ่นได้ แต่ไม่ใช่ต้นตอที่แท้จริงของ ‘การเกิด’ ฝุ่น PM 2.5

ข้อมูลจาก SDG Move และกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า ต้นตอของปัญหามลพิษทางอากาศอย่างฝุ่น PM 2.5 ในแต่ละพื้นที่ของไทยไม่เหมือนกัน

ภาคเหนือ : พบว่าประมาณ 70% ของฝุ่น PM 2.5 มีสาเหตุมาจากการเผาป่า

ภาคอีสาน : พบว่าประมาณ 70% ของฝุ่น PM 2.5 มีสาเหตุมาจากการเผาทางการเกษตร

กรุงเทพและปริมณฑล : พบว่าประมาณ 60% ของฝุ่น PM 2.5 มีสาเหตุมาจากการจราจร การเผาไหม้ของท่อไอเสีย 

นอกจากนี้ กรมควบคุมมลพิษยังพบว่าปัญหาฝุ่นควันทางภาคเหนือและพื้นที่ตอนบนของไทย ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ คือ ฝุ่นควันข้ามพรมแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีสาเหตุมาจากการเผาทางการเกษตรและไฟป่า เมื่อช่วงมีนาคม พ.ศ. 2565 ข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี พบจุดความร้อนในเมียนมามากถึง 6,877 จุด มากกว่าจุดความร้อนที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเกือบ 1,500

แต่ไทยอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับจุดความร้อนในเมียนมา

กรีนพีซ ประเทศไทย ร่วมกับ ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษาแผนการกระจายตัวของมลพิษทางอากาศจากหมอกควันข้ามแดน พบพื้นที่ป่า 10.6 ล้านไร่ ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงกลายเป็นไร่ปลูกข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์ และเป็นที่มาของจุดความร้อนในเมียนมาและลาว มีสัดส่วนคิดเป็น 1 ใน 3 ของจุดความร้อนทั้งหมด 

อีกทั้ง กรีนพีซยังพบความเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการจากไทยกับธุรกิจเมล็ดพันธ์ุข้าวโพดในเมียนมา โดยจำนวน 60-70% ของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในเมียนมา ถูกจัดจำหน่ายโดยบริษัท Myanmar CP Livestork ซึ่งเป็น 1 ในเครือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ของไทยที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในต่างประเทศ ขณะเดียวกันยังพบข้อมูลเชิงสถิติที่ระบุว่า จำนวนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ที่ทำแผนศึกษาข้างต้น เพิ่มสูงขึ้น 3 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

คนไทยในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน รวมไปถึงภาคกลางตอนบน จึงอาจได้รับผลกระทบจากฝุ่นควันที่ลอยข้ามมาจากเพื่อนบ้านได้ ยิ่งมาสะสมรวมกับฝุ่นควันที่เกิดในพื้นที่ของไทยอยู่ก่อนแล้ว ยิ่งสร้างผลกระทบให้กับประชาชนอย่างคาดไม่ถึง

คนไทยสูดฝุ่นมากกว่าอากาศ

ข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า ในปี 2566 พบคนไทยจำนวนกว่า 10.5 ล้านคน ประสบปัญหาสุขภาพที่มีสาเหตุมาจากมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้นจากปี 2565 มากถึง 116% โดยพบคนไทยที่ป่วยทั้งโรคมะเร็งปอด หลอดลมอักเสบ โรคหอบหืด และโรคหัวใจ 

ขณะเดียวกัน การใช้ชีวิตท่ามกลางฝุ่นพิษในแต่ละวันไม่ต่างอะไรกับการสูบบุหรี่ทุกวัน นพ. รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ แพทย์เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยว่า 

“คนเชียงใหม่กำลังสูบบุหรี่วันละ 5 มวน” 

บทสัมภาษณ์จากบทความข่าวของ BBC ในช่วงสถานการณ์ที่เชียงใหม่กำลังประสบภัยฝุ่นพิษช่วงต้นปี ที่พยายามเปรียบเทียบความรุนแรงผลกระทบด้านสุขภาพของคนไทยให้เห็นภาพอย่างชัดเจน

ไม่ใช่แค่ผลกระทบกับคน แต่สัตว์ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน พบว่า สัตว์เลี้ยงที่ถูกเลี้ยงในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นสูง มีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจมากขึ้น 

ขณะที่ ข้อมูลจากภาคฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดเผยว่าจำนวนฝุ่นที่สะสมอยู่บนชั้นบรรยากาศ มีผลต่อค่าความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ ยิ่งฝุ่นมากยิ่งทำให้ค่าความเข้มข้นแสงลดน้อยลง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพันธุ์พืชต่าง ๆ ผลวิจัยระบุว่า หากอนาคตค่าแสงอาทิตย์ลดลง 5 – 6% อาจทำให้นาข้าวไม่ออกรวงได้ โดยเฉพาะ ข้าวหอมมะลิ ที่เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ

ชวนจับตา พ.ร.บ. อากาศสะอาด ของขวัญที่คนไทยควรได้รับ

หากต้องต้อนรับปีใหม่ด้วยฝุ่นพิษ คงเป็นการเริ่มปีใหม่ที่ไม่ดีนัก 

ปัจจุบัน ร่าง พระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด (ร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด) ทั้ง 7 ฉบับ ที่ถูกนำเสนอโดยพรรคการเมืองและภาคประชาชน กำลังอยู่ในขั้นตอนจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาในวาระที่ 2 หลังผ่านมติในวาระแรกไปเมื่อ 17 ม.ค. 67

พ.ร.บ. อากาศสะอาด เป็นความหวังสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านมลพิษทางอากาศของไทย เพราะเป็นร่างกฎหมายที่กำหนดวิธีจัดการกับปัญหามลพิษอย่างชัดเจน เช่น จัดเก็บภาษีเพื่ออากาศสะอาด จัดสรรเจ้าหน้าที่พนักงานเพื่ออากาศสะอาด สำหรับมอบอำนาจออกคำสั่งให้เจ้าของธุรกิจที่มีส่วนเกี่ยวข้องสร้างมลพิษทางอากาศ ต้องจัดส่งข้อมูลการปล่อยมลพิษให้กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงมาตรการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศต่าง ๆ ผ่านแผนพัฒนาระบบฐานข้อมูลคุณภาพอากาศ 

นอกจากนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าว ยังกำหนดโทษอย่างชัดเจน ตั้งแต่โทษปรับจนถึงโทษจำคุก เพื่อสร้างบรรทัดฐานให้กับผู้สร้างมลพิษจะต้องรับผิดชอบในการกระทำของตนเองต่อสังคม

อย่างไรก็ตาม แม้ร่างกฎหมายดังกล่าวจะมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่นควันภายในประเทศ แต่ก็ต้องทำงานควบคู่ไปกับส่วนอื่น ๆ ทั้งภาคการเกษตรที่จะต้องมีแผนปรับรูปแบบปลูกไร่และสวน เพื่อลดฝุ่นควันจากการเผาไหม้ กฎหมายจราจรที่จะต้องเข้มงวดกับผู้ขับขี่ยานพาหนะที่เชื้อเพลิงเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ และความร่วมมือกันระหว่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นควันข้ามพรมแดน

อากาศที่สะอาด เป็นสิทธิพื้นฐานในการใช้ชีวิตของประชาชน ทุกคนควรได้สูดอากาศสะอาดเป็นของขวัญตลอดปี

อ้างอิง

https://www.bbc.com/thai/articles/c723508nx22o

https://www.chula.ac.th/wp-content/uploads/2019/10/Chula-PM25.pdf

https://www.gistda.or.th/news_view.php?n_id=2256&lang=TH

https://workpointtoday.com/why-we-have-pm-25-in-thailand/

https://www.bbc.com/thai/articles/cjj76ygvn92o

https://www.greenpeace.org/static/planet4-thailand-stateless/2021/04/46bdd195-minireport-forest-maize-haze-transboundary.pdf

No tags found for this post.

Credit

uniPoP

เราสามารถเขียนบทความรักษ์สิ่งแวดล้อม ไปพร้อม ๆ กับรักแฟนได้