Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

4 ความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับหมาป่าที่เราอาจยังไม่รู้ - EnvironmanEnvironman

4 ความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับหมาป่าที่เราอาจยังไม่รู้

เมื่อภาพจำของหมาป่าในวัยเด็กอาจทำให้เผลอเชื่อเรื่องเล่าว่าเป็นความจริงไปโดยไม่รู้ตัว

เรามีภาพจำของ ‘หมาป่า’ ยังไงกัน…

สุนัขตัวใหญ่ที่โก่งคอหอนเสียงดังกังวานใต้เงาของแสงจันทร์? หรือแววตาแน่วแน่ดุร้ายที่จ้องมองมาจากความมืด? บ้างก็บอกว่ามันอยู่กันเป็นฝูง บ้างก็เป็นหมาป่าเดียวดาย บ้างก็บอกว่ามันชอบทำร้ายคน บ้างก็บอกว่ามันล่าเหยื่อเพียงเพื่อความสนุก

ภาพจำพวกนี้มาจากไหน?

วรรณกรรมและสื่อเป็นส่วนสำคัญที่หล่อหลอมให้เรามีความเข้าใจและจดจำภาพของหมาป่าแบบนี้ เราเห็นหมาป่าที่เขมือบคุณยายและยังวางแผนจะจับเด็กมากินในหนูน้อยหมวกแดง เราดูการ์ตูนและภาพยนตร์ที่มักจะมอบบทตัวร้ายให้มัน เราได้ยินคนพูดเรื่องระบบการปกครองแบบแก๊งมาเฟียในฝูงที่ผู้แข็งแกร่งที่สุดคือผู้ชี้ความอยู่รอดของสมาชิกที่เหลือ แต่วรรณกรรมและตำนานความเชื่อเหล่านี้ดูจะวาดให้หมาป่ากลายเป็นตัวร้ายเกินความเป็นจริงจนกลายเป็นเหยื่อซะเอง

แล้วเรารู้เกี่ยวกับหมาป่าแค่ไหน?

หมาป่าเป็นสัตว์ที่ฉลาดและซับซ้อนกว่าที่เราคิด แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ค้นพบข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับมันทุกปีและข้อมูลหลายชิ้นก็ทำให้เห็นว่าที่ผ่านมาเราอาจจะเข้าใจมันผิดไป โดยเฉพาะเรื่องระบบการปกครองในฝูงหมาป่า ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนแพร่หลายที่สุด เนื่องในวันหมาป่าโลกนี้ เราเลยอยากชวนมาเคลียร์ความเชื่อผิด ๆ ที่เราอาจได้ยินกันมาเกี่ยวกับหมาป่า

photo: Eva Blue/Unsplash

ความเชื่อที่ 1 :  หมาป่าหอนในคืนพระจันทร์เต็มดวง เพราะเป็นการแสดงปฏิกิริยากับแสงของพระจันทร์

ความเป็นจริง :

พูดถึงหมาป่า ก็ต้องนึกถึงภาพที่มันหอนในคืนที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้เราอดคิดไม่ได้ว่าที่หมาป่าชอบหอนในคืนแบบนี้เพราะเป็นการแสดงปฏิกิริยาอะไรกับแสงของพระจันทร์หรือเปล่า

แต่ที่จริงแล้ว การหอน เป็นการสื่อสารแบบหนึ่งระหว่างหมาป่าในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งไม่ได้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพระจันทร์แต่อย่างใด 

การสื่อสารที่ว่านี้อาจเป็นการบอกถึงตำแหน่งที่อยู่ สร้างอาณาเขตสำหรับล่าเหยื่อ แสดงความรักใคร่กับคู่ของมัน หรืออาจเป็นการปลดปล่อยความเครียดก็ได้ ซึ่งหมาป่าแต่ละตัวก็มีเสียงหอนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของใครของมัน และอาจดังมาก จนถึงขั้นที่หมาป่าที่อยู่ไกลกว่า 6-7 ไมล์ ก็ยังได้ยิน

ส่วนสาเหตุที่มนุษย์โยงเสียงหอนของหมาป่ากับพระจันทร์ อาจเป็นเพราะว่าเสียงหอนของมันเมื่อประกอบกับความมืดของราตรีกาลแล้ว ช่วยเพิ่มความน่าขนลุกและความน่ายำเกรงต่อตัวของหมาป่าได้เป็นอย่างดี คนเลยเอามันมาผูกกับภาพของพระจันทร์ที่เป็นสัญลักษณ์ของเวลากลางคืนเพื่อทำให้เรื่องเล่าเป็นที่น่าจดจำและน่าตื่นเต้นมากขึ้น

photo: Mohamed Hassan/Pxhere

ความเชื่อที่ 2 : สังคมหมาป่าจะมีลำดับชั้น และมีตัวจ่าฝูงที่มีอำนาจ เรียกว่า Alpha Wolf

เราเคยได้ยินว่าหมาป่าอยู่กันแบบจ่าฝูงลูกน้อง ตัวที่เป็น ‘อัลฟ่า’ จะทำหน้าที่เป็นผู้นำ มีความแข็งแกร่งมากกว่าตัวไหน สามารถใช้อำนาจในการควบคุมสมาชิกในฝูง ชี้เป็นชี้ตาย สามารถขับไล่หรือให้ที่อยู่หมาป่าตัวอื่น ๆ ได้ เป็นตำแหน่งสูงสุดที่หมาป่าทุกตัวต่างแข่งขันเพื่อจะแย่งชิงมาเป็นของตัวเองให้ได้ ส่วนชนชั้นอื่น ๆ อย่าง ‘เบต้า’ ที่เป็นรองจ่าฝูง และ ‘เดลต้า’ หรือ ‘โอเมก้า’ ที่ระดับต่ำลงมา ก็จะมีความแข็งแกร่งน้อยลงมาตามลำดับ

ความเป็นจริง : 

ข้อมูลเรื่องระบบอำนาจในฝูงหมาป่านั้นก็ไม่ได้ผิดซะทีเดียว แต่ต้องเรียกว่า ล้าหลัง มากกว่า คอนเซ็ปต์เรื่องหมาป่าอัลฟ่านั้นเชื่อว่าได้รับอิทธิพลมาจากหนังสือเรื่อง “The Wolf: Ecology and Behavior of an Endangered Species” ของ David Mech ในปี 1970 จากการศึกษาระบบสังคมของหมาป่าใน Michigan’s Isle Royale National Park แต่ต่อมา หลังจากที่เขาและนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ได้ศึกษาพฤติกรรมของหมาป่าต่อไปเรื่อย ๆ ก็พบว่าแท้จริงแล้วหมาป่านั้นไม่ได้มีชนชั้นวรรณะแต่อย่างใด ฝูงที่ว่าจริง ๆ แล้วก็คือครอบครัว อันประกอบด้วยพ่อแม่และลูก ดังนั้นหมาป่าอัลฟ่าของแต่ละฝูงแท้จริงแล้วก็คือ พ่อกับแม่ นั่นเอง ส่วนพวกที่เหลือก็คือลูก ๆ ของมัน และการที่พวกอัลฟ่าใช้อำนาจกับพวกที่อ่อนแอกว่าก็เป็นเพียงแค่การใช้อำนาจของพ่อแม่กับลูกก็เท่านั้นเอง

photo: M L/Unsplash

ความเชื่อที่ 3 : หมาป่าเดียวดาย หรือ ‘Lone Wolf’ คือหมาป่าที่เลือกออกมาอยู่ตามลำพังเพราะรักสันโดษ หรือถนัดหาอาหารตัวคนเดียวมากกว่าอยู่ในฝูง

ความเป็นจริง : 

การแยกออกมาใช้ชีวิตคนเดียวแบบ ‘Lone Wolf’ นี้เป็นช่วงชีวิตหนึ่งของหมาป่าทุกตัว ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกระยะนี้ว่า Dispersal (การแยกตัวจากฝูง) โดยมีสาเหตุหลัก ๆ คือเพื่อมองหาคู่ผสมพันธุ์และสร้างครอบครัว นอกจากนั้นยังเป็นการมองหาแหล่งอาหารและที่อยู่ใหม่เพื่อจะได้ไม่ต้องแย่งอาหารกับหมาป่าตัวอื่น ๆ ในกลุ่ม ซึ่งในบางเคส การแยกตัวออกมานี้ยังอาจมาจากการถูกหมาป่ากลุ่มอื่นแย่งที่อยู่หรือคู่ของมันตายได้อีกด้วย 

จริง ๆ แล้วสำหรับหมาป่าเอง การออกจากฝูงมาอยู่ตัวคนเดียวไม่ใช่เรื่องดีเท่าไหร่ เพราะนั่นหมายถึงอัตราการรอดชีวิตที่ต่ำลงไปด้วย ปกติแล้วพวกมันจะไปไหนมาไหนกันเป็นกลุ่มทำให้สามารถต่อกรกับศัตรูหรือหาอาหารได้ง่ายและปลอดภัยมากกว่า แต่เมื่อต้องเดินทางคนเดียว ทำให้หมาป่าตัวนั้นต้องระแวงอันตรายมากขึ้น ซึ่งจากเท่าที่มีการศึกษามา พบว่าอัตราการรอดของหมาป่าในช่วงแยกตัวนี้มีค่อนข้างน้อย ดังนั้นแล้ว ถึงแม้ในสังคมมุษย์ คำว่า หมาป่าเดียวดาย อาจใช้เรียกคนที่ชอบรักชีวิตสันโดษ แต่สำหรับหมาป่าแล้ว มันอาจหมายถึงช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดของชีวิต

photo: Ray Hennessy/Unsplash

ความเชื่อที่ 4 : หมาป่าชอบทำร้ายคน เราอาจถูกปลูกฝังมาว่าหมาป่านั้นดุร้ายและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ไม่ว่าจะเขี้ยวเล็บหรือขนาดตัวที่สูงใหญ่ หากเผชิญหน้ากับมันแล้ว คงยากที่จะรอดพ้นจากการตกเป็นอาหารของมัน 

ความเป็นจริง :

แน่นอนว่าหากคนต้องสู้กับหมาป่าโดยไร้ซึ่งอาวุธแล้ว หมาป่าอาจเป็นสัตว์ที่อันตรายมากอย่างแน่นอนจากความได้เปรียบเรื่องขนาดรูปร่างและสมรรถภาพร่างกาย แต่การกล่าวว่าหมาป่านั้นชอบโจมตีคนอาจเป็นเรื่องที่พูดเกินจริงไปหน่อย เพราะจริง ๆ แล้วหมาป่าที่อยู่ในป่าจริง ๆ เป็นสัตว์ที่กลัวคน และหากต้องเผชิญหน้ากันแล้ว มันคงเลือกที่จะหนีเป็นอย่างแรก นอกเสียจากว่ามนุษย์จะเข้าไปใกล้หมาป่าที่เป็นพิษสุนัขบ้า แสดงพฤติกรรมที่คล้ายกับเป็นเหยื่อล่อ หรือทำให้หมาป่าตกใจ

ซึ่งในกรณีนี้ หมาป่าอาจทำตามสัญชาตญาณในการไล่เหยื่อตามที่มันคุ้นเคย แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่มีเคสไหนที่หมาป่าทำร้ายคนจนเป็นอันตรายถึงชีวิต จะมีที่โดนทำร้ายจนตายในช่วง 100 ปีที่ผ่านมานี้ก็เพียงแค่ 2 คนเท่านั้น ซึ่งทั้งสองเคสล้วนเป็นสถานการณ์ที่มนุษย์อยู่ตามลำพังกับหมาป่าที่คุ้นชินกับคนอยู่แล้ว ส่วนข่าวคนโดนหมาป่ากัดที่เราอาจเคยเห็นหรือได้ยินมักจะมีสาเหตุมาจากการที่มนุษย์ละเมิดกฎเข้าไปโดยพลกาลในพื้นที่อุทยานที่สงวนไว้สำหรับสัตว์ป่าเท่านั้น แต่โดยทั่วไปแล้ว คนเหล่านั้นก็ไม่ได้โดนทำร้ายจนถึงขั้นเสียชีวิต และจากสถิติที่เคยบันทึกมา จำนวนคนที่ถูกหมาป่ากัดมีน้อยยิ่งกว่าโดนสุนัขกัดซะอีก

ตัวอย่างข่าว: Wolves attack and seriously injure woman who went jogging in French zoo

photo: Caleb Falkenhagen/Pexels

ระหว่างการค้นคว้าข้อมูลเพื่อไขข้อกระจ่างหลาย ๆ ความเชื่อที่เรามีต่อ ‘หมาป่า’ เหล่านี้ก็พลันทำให้ผู้เขียนเองตระหนักได้ว่า

 ยังมีอีกหลายเรื่องที่มนุษย์ไม่เคยรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่ชื่อว่า ‘หมาป่า’

ความเชื่อที่เราได้ยินตามกันมาทำให้เรามีความเข้าใจเกี่ยวกับหมาป่าคลาดเคลื่อนไปมาก จนบางทีทำให้พวกมันกลายเป็นตัวร้ายไปโดยไม่รู้ตัว เนื่องในวันหมาป่านี้ ก็อยากให้เรามองหมาป่าเปลี่ยนไปและมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ไปพร้อม ๆ กับการอนุรักษ์ให้หมาป่าอยู่คู่กับโลกเราไปนาน ๆ

ที่มา

https://davemech.org/wolf-news-and-information/

https://wolf.org/wolf-info/basic-wolf-info/wolf-faqs/#toggle-id-18

https://www.voyageurs.org/news/lone-wolf

https://www.livingwithwolves.org/about-wolves/tackling-the-myths/

https://herofortheplanet.org/wolf-coexistence/uncover/facts-and-myths/

https://nationalzoo.si.edu/animals/news/why-do-wolves-howl-and-other-top-wolf-questions-answered

Credit

Natticha Intanan