Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

ชนพื้นเมืองเมารีประท้วงอะไรในกฎหมายใหม่นิวซีแลนด์? 

จากสนธิสัญญาไวทังกิของคนผิวขาว-เมารี สู่ส.ส.ลุกขึ้นเต้นฮากาประท้วงกลางสภา

ชนพื้นเมือง ‘เมารี’ คือใคร กำลังได้รับผลกระทบอะไรจากกฎหมายใหม่ในนิวซีแลนด์?

ก่อนหน้านี้มีคลิปวิดิโออันเดือดดาลในรัฐสภานิวซีแลนด์ที่กลายเป็นไวรัลและถูกพูดถึงบนอินเตอร์เน็ต เมื่อฮานา ฮาวฮิตี ไมปี คลาร์ก (Hana-Rawhiti Maipi-Clarke) สมาชิกผู้แทนราษฎรชาวเมารี จากพรรคเตปาติเมารี (Te Pāti Māori) ได้ลุกขึ้นประท้วงกลางสภา เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการลงมติแก้ไขกฎหมายที่จะกระทบต่อสิทธิของชาวเมารี โดยเธอได้ฉีกร่างกฎหมายในมือทิ้งพร้อมลุกออกมาแสดง “ฮากา” ท่าเต้นตามประเพณีเมารี ก่อนที่จะมี ส.ส. อีกหลายคนที่เห็นด้วยลุกออกมาระบำตาม

ฮานา ฮาวฮิตี ไมปี คลาร์ก (Hana-Rawhiti Maipi-Clarke) ขณะลุกขึ้นฉีกกฎหมายก่อนเต้นฮากาประท้วงกลางสภา
ภาพ: BBC

แล้วชนพื้นเมืองเมารีคือใคร? กฎหมายอะไรในนิวซีแลนด์ที่กำลังส่งผลกระทบต่อพวกเขา?

ชาวเมารีคือใคร?

ชาวเมารี (Maori) ถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองในนิวซีแลนด์ โดยพวกเขาเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่กระจายอยู่ในหมู่เกาะแถบโพลีนีเซีย กล่าวคือทางตอนกลางและตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิปิกไปจนถึงออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ 

พวกเขามีวัฒนธรรมหลายอย่างที่เป็นที่รู้จักเช่น การเต้นฮาก้า (Haka) ,​ การแกะสลักวาไกโร (Whakairo) บนหิน ไม้ เพื่อบันทึกเรื่องราว บุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ และทาโมโกะ (Tāmoko) รอยสักบนใบหน้าที่แสดงถึงสถานะ บทบาททางสังคม และอัตลักษณ์ของพวกเขา

โดยชาวเมารีส่วนหนึ่งได้ตั้งรกรากอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์มาช้านาน ก่อนที่จะมีชาวยุโรปเข้ามาติดต่อครั้งแรกช่วงศตวรรษที่ 16-17 และเกิดการผสมผสานในสังคมมากขึ้น  

การสักทาโมโกะ (Tāmoko) ในหมู่ชนเผ่าเมารีที่แสดงที่บทบาท สถานะทางสังคม และอัตลักษณ์ของพวกเขา
ภาพ: @waally/unsplash

จุดเริ่มต้นจากยุคจักรวรรดินิยมสู่การอยู่ร่วมกันของชาวเมารี-คนขาว

หลังการค้นพบเกาะนี้โดยชาติตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม การติดต่อค้าขายก็นำไปสู่การตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรปในนิวซีแลนด์ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 แม้จะมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความรู้ตะวันตกกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็มีสิ่งที่ชาวเมารีไม่คุ้นเคยและรับมือไม่ทันอย่าง “เชื้อโรค” ตามมา เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้ทรพิษ โรคหัด ที่ทำให้ชาวเมารีเสียชีวิตกว่า 10-50% จนทำให้ประชากรชาวเมารีลดลงอย่างมาก 

ในปี 1840 มีการลงนามเพื่อการแบ่งอำนาจระหว่างผู้นำชนเผ่าเมารี 450-500 คน กับราชวงศ์อังกฤษใน สนธิสัญญาไวทังกิ (Waitangi) ที่เนื้อหาระบุถึงการแบ่งอำนาจ รับรองสิทธิในทรัพย์สินและการปกครองตนเองของชนเผ่าเมารี เพื่อแลกกับการยอมรับอำนาจอธิปไตยของอังกฤษ และการผนวกนิวซีแลนด์เป็นอาณานิคมในจักรวรรดิอังกฤษ 

ซึ่งหลังจากการลงนามก็ยังมีก็ยังมีการปะทะและเหตุการณ์ความรุนแรงอยู่เรื่อยมา เช่น Wairau Affray จากความขัดแย้งในที่ดินที่นำไปสู่สงครามนิวซีแลนด์ระหว่างอังกฤษและชาวเมารีที่สู้กันหลายสิบปี 

ภาพวาดการลงนามสนธิสัญญาไวทังกิ (Waitangi) ปี 1840
ภาพ: Wikipedia

รวมถึงช่วงหลายปีหลังการลงนามสนธิสัญญา ได้มีข้อพิพาทว่าภายในสนธิสัญญาไวทังกิอาจมีการแปลเนื้อหาภาษาที่ต่างกันจนทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เช่น ฉบับภาษาเมารีไม่ได้มีข้อความเรื่องการสละอำนาจอธิปไตยให้กับราชวงศ์อังกฤษ จนเกิดเป็นคดีความ และในปี 1975 รัฐสภาได้ตราพระราชบัญญัติสนธิสัญญาไวทังกิขึ้น เพื่อจัดตั้งศาลที่รับพิจารณาข้อเรียกร้องและการชดเชยจากความผิดพลาด โดยศาลระบุว่า “หลักการของร่างกฎหมายตีความสนธิสัญญาไวทังกิผิด และก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อชาวเมารี”

รัฐบาลจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐจากความเสียหายที่ผ่านมาที่ทำให้ชาวเมารีขาดสิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ เช่น สิทธิเหนือที่ดิน การใช้ป่าไม้ ทำประมง เป็นต้น รวมถึงในปี 2008 รัฐบาลก็เสนอข้อตกลงมูลค่ากว่า 900 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ เพื่อดำเนินการชดเชยเกี่ยวกับข้อตกลงด้านที่ดิน

นับตั้งแต่ปี 1840 จนถึงปัจจุบัน แม้สนธิสัญญาไวทังกิจะไม่ได้ถูกบรรจุในกฎหมายโดยตรง แต่ก็จำเป็นต้องคำนึงถึง “หลักการ” เหล่านี้ในกฎหมาย อันได้แก่ 

– รัฐบาลมีสิทธิในการปกครอง และรัฐสภามีสิทธิเต็มที่ในการตรากฎหมาย 

– สิทธิของชาวเมารีได้รับการเคารพจากราชวงศ์อังกฤษ

– ทุกคนเท่าเทียมกันต่อหน้ากฎหมายและมีสิทธิได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย

ร่างกฎหมายใหม่นี้กำลังละเมิดสิทธิของชาวเมารีอย่างไร?

หลักการข้างต้นดูเหมือนจะกลายเป็นความคลุมเครือ เมื่อรัฐบาลใหม่นิวซีแลนด์ปัจจุบันที่นำโดย National Party มีแผนทบทวนแก้ไขหลักการสนธิสัญญาไวทังกิอีกครั้ง ประกอบกับการปรับเปลี่ยนกฎหมายบางตัว ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับชาวเมารีและกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย เช่น การปิด Te Aka Whai Ora หน่วยงานดูแลด้านสาธารณสุขของชาวเมารีที่ตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ และการประกาศนโยบายเปลี่ยนชื่อหน่วยงานจากภาษาเมารีมาเป็นภาษาอังกฤษ ไปจนถึงการปรับ “โควตาทางชาติพันธุ์ในสถาบันภาครัฐ” 

David Seymour ผู้นำพรรค ACT 
ภาพ: @dbseymour/X

ซึ่งพรรค Act พรรคร่วมรัฐบาลที่เสนอกฎหมายนี้มองว่านโยบายที่มีนั้นออกแบบมาเพื่อยกระดับชีวิตชาวเมารี แต่กำลังทำให้ประชากรคนอื่น ๆ เสียเปรียบ และกำลังกลายเป็นการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ

ซีเมอร์ จากพรรค Act ยังระบุว่า หลักการเหล่านี้ไม่เคยถูกตีความทางกฎหมายอย่างจริงจัง จึงเป็นเรื่องที่ควรหยิบเอามาตีความใหม่ใต้กฎหมายไม่ใช่ศาลเพื่อให้เกิดหลักสิทธิเท่าเทียมที่มากขึ้นได้ 

ในขณะที่ความเห็นของชาวเมารีและผู้สนับสนุนมองว่า ร่างนี้กำลังทำลายสิทธิของชนพื้นเมือง และกำลัง “ละเมิด” หลักการของสนธิสัญญาไวตังกิอย่างจงใจที่จะไม่ปรึกษาหารือกับชาวเมารี ทำลายหลักการ ซึ่งการตีความที่ผิดเช่นนี้อาจนำไปสู่ความไม่ยุติธรรมที่จะเกิดขึ้นต่อชาวเมารีได้

แต่ทั้งนี้ พรรครัฐบาล National Party และ พรรคร่วม New Zealand First ระบุว่าพวกเขาจะโหวตสนับสนุนร่างนี้เพียงครั้งแรกจาก 3 ครั้งเท่านั้น และจะไม่สนับสนุนร่างนี้ในการโหวตครั้งที่ 2 และ 3 แน่นอน และมองว่านี่คือร่างกฎหมายที่กำลัง “สร้างความแตกแยก” ให้กับนิวซีแลนด์ 

นอกจากเรื่องของกฎหมาย ในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา วัฒนธรรมเมารียังถูกทำให้กลืนไปกับวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามากับประชากรยุโรปผ่านข้อบังคับทางกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติโรงเรียนพื้นเมือง ปี 1867 ที่ห้ามพูดภาษาเมารีในโรงเรียน, พระราชบัญญัติปราบปราม Tohunga ปี 1907 ที่แทนที่หมอพื้นบ้านด้านจิตวิญญาณด้วยแพทย์ตะวันตก ก่อนที่วัฒนธรรมเมารีจะถูกกลับมาฟื้นฟูอีกครั้งในช่วงทศวรรษ 1970 

ในภาวะที่หลายมหาอำนาจทั่วโลกกำลัง “หันขวา” สถิติการลงคะแนนเลือกตั้งทั้งสหรัฐฯ​ และหลายประเทศในยุโรปช่วงที่ผ่านมาทำให้เราเห็นว่า ผู้คนอาจหันมาคำนึงถึงปากท้องและปัญหาเศรษฐกิจมากขึ้น เบื่อหน่ายผู้ลี้ภัยและสงครามมากขึ้น แต่ให้ความสำคัญกับประชากรรองน้อยลง จนกลายเป็นปรากฏการณ์ที่พรรคฝ่ายขวาชนะเลือกตั้งและเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในหลายประเทศ 

นี่จึงเป็นที่น่าจับตามองว่า นิวซีแลนด์ที่พรรคแรงงานขั้วซ้ายกลาง แชมป์เก่าพ่ายการเลือกตั้งเมื่อ 2023 ไป และพรรค National Party ชนะการเลือกตั้ง ขึ้นมาจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรค New Zealand First และพรรค Act จนกลายเป็นขั้วกลางเอนขวานี้ จะหันหลังให้กับชนพื้นเมืองในประเทศด้วยหรือไม่ และจะมีที่ท่าในการจัดการกับสังคมแบบพหุวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันอย่างไร

อ้างอิง

https://www.theguardian.com/world/2022/sep/12/as-maori-language-use-grows-in-new-zealand-the-challenge-is-to-match-deeds-to-words

https://deadlystory.com/page/culture/articles/World_s_Indigenous_Peoples_Day/Maori_people

https://www.bbc.com/news/articles/cvgwve4j176o

https://www.nzherald.co.nz/nz/act-party-leader-david-seymour-takes-aim-at-high-ranking-critics-of-treaty-principles-bill/4TXY6TNEMRBUHH73SJ6UFUW324

https://blogs.loc.gov/law/2016/11/indigenous-rights-in-new-zealand-legislation-litigation-and-protest

https://www.aljazeera.com/news/2024/2/27/new-zealand-moves-to-abolish-maori-health-authority-despite-protests

Credit

Chayanit S.

เป็นคนกรุงเทพฯ ชอบเดินเที่ยวเมือง ฟังเพลงซ้ำ ๆ นั่งโง่ ๆ ดูคนคนใช้ชีวิต :-)