Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

Make-up Overdose ‘ของมันต้องมี’ แต่มีแล้ว ‘ต้องใช้’ ด้วย

เมื่อเครื่องสำอางไลน์ใหม่ออกมา การซื้อมาเติมเรื่อย ๆ ตามกระแส อาจไม่ต่างกับอะไร Fast Fashion

ทุกคนมีลิปสติกกันกี่แท่ง ? คุชชั่นกี่ตลับ ? พาเลทกี่อัน ? 

ขอทายเลยว่าหลายคนอาจมีมากกว่า 1 ชิ้น ทุกครั้งที่มีเครื่องสำอางออกใหม่ พวกเราต่างพุ่งตรงเข้าไปซื้อ แม้เครื่องสำอางคอลเลกชั่นใหม่เหล่านั้น จะไม่ต่างอะไรจากของเดิมที่มีอยู่แล้วมากนักก็ตาม

แต่ #ของมันต้องมี แล้วตัวแม่อย่างพวกเราจะพลาดได้อย่างไร 

Euromonitor เผยข้อมูลการบริโภคผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมความงามของคนไทยปี พ.ศ. 2564 มีมูลค่ารวม 1.447 แสนล้านบาท ทำให้คนไทยกลายมาเป็นลูกค้าอันดับต้น ๆ ของอุตสาหกรรมความงามทั่วโลก 

หากลองสังเกต หลายคนมักจะมีเครื่องสำอางประเภทเดียวกันมากกว่า 1 ชิ้น แค่ลิปสติกของคนหนึ่งคนก็มีมากกว่า 1 แท่งแล้ว มันไม่ใช่เรื่องผิดอะไรที่เราจะซื้อเครื่องสำอาง ทุกคนล้วนมีสิทธิซื้อสิ่งที่ต้องการ แต่เหนือกว่าความต้องการ คือ ต้องไม่ทำให้สิ่งที่ซื้อมานั้นสูญเปล่า เพราะเครื่องสำอางที่ถูกซื้อตามกระแส อาจไม่ต่างอะไรกับ ‘Fast Fashion’ (ซื้อเสื้อผ้าตามกระแส สุดท้ายใส่แค่ครั้งเดียว)

ตอนซื้อ เราซื้อด้วย “ความอยาก” และความรู้ที่ว่า “ของมันต้องมี” แต่พอใช้ไปเพียงหนึ่งครั้ง หากถูกใจอาจมีใช้ต่อ แต่หากไม่ถูกใจ เครื่องสำอางชิ้นนั้นจะถูกโยนไปรวมกับกองเครื่องสำอางชิ้นอื่น ๆ เป็นกองเมคอัพที่ถูกลืม เมื่อมาพบอีกทีกลับหมดอายุไปแล้ว และเป็นกองภูเขาขยะเครื่องสำอางในท้ายที่สุด แถมยังมีเครื่องสำอางอีกไม่น้อยที่ยังใช้งานได้แต่กลับไม่ถูกใช้งาน เพราะความรู้สึกที่อยากใช้ลดน้อยลงหลังซื้อมาแล้ว 

อุปสงค์เพิ่มขึ้นอุปทานเพิ่มตาม 

เมื่อคนตกเป็นทาสการตลาดและความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมจึงต้องเร่งผลิตเครื่องสำอางเพื่อตอบรับความต้องการของผู้บริโภค รวมไปถึงบางกรรมาวิธีผลิตที่อาจจะไม่ใจดีต่อโลกเท่าไหร่ ทำให้พลาสติกและปิโตรเคมีถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะพลาสติกที่มักนำมาเป็นบรรจุภัณฑ์ของเครื่องสำอาง 

อุตสาหกรรมเครื่องสำอางมีบรรจุภัณฑ์ไม่น้อยกว่า 120,000 ล้านชิ้นต่อปี โดยร้อยละ 95 ของบรรจุภัณฑ์ ถูกทิ้งหลังจากใช้งานเพียงครั้งเดียว และมีเพียงร้อยละ 14 ถูกนำไปรีไซเคิล 

นอกจากนี้ ยังมีพลาสติกในรูปแบบของ ‘ไมโครบีดส์’ ที่เป็นส่วนผสมตามผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่าง ๆ เช่น โฟมล้างหน้า คลีนซิ่ง เมื่อโดนน้ำชะล้างมีโอกาสที่จะหลุดไปตามแหล่งน้ำ รวมไปถึงไมโครพลาสติกที่ถูกผสมอยู่ในเครื่องสำอาง เช่น ลิปสติก กลิตเตอร์ พาเลทตา ที่มีโอกาสจะเข้าสู่ร่างกาย และเมื่อโดนล้างออกก็มีโอกาสจะหลุดไปตามแหล่งธรรมชาติอื่น ๆ 

ขณะที่ อุตสาหกรรมเครื่องสำอางบางแห่ง มีการใช้น้ำมันและไขมัน จากทั้งพืช สัตว์ และน้ำมันแร่ต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต ซึ่งหากลงไปสู่แหล่งน้ำ คราบน้ำมันเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคสำหรับแสงที่จะทะลุผ่าน กีดขวางการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำ และถ้าเคลือบเหงือกของปลา จะทำให้ปลาไม่สามารถรับออกซิเจนจากน้ำได้และตายในที่สุด

ในฐานะผู้บริโภค #ซื้อมาแล้วต้องใช้ให้คุ้ม เครื่องสำอาง 1 ชิ้น มีอายุใช้งานเฉลี่ย 6 – 12 เดือน หากเราใช้อย่างคุ้มค่าตามอายุของผลิตภัณฑ์ จะช่วยลดโอกาสเกิดขยะที่ถูกลืมได้มากขึ้น ความคุ้มค่าในที่นี้ ไม่ใช่แค่เรื่องใช้ให้หมด แต่รวมไปถึงเห็นคุณค่าของผลิตภัณฑ์มากขึ้นด้วย

แน่นอนว่าเราต่างเคยผิดพลาดในการซื้อเครื่องสำอาง เช่น ซื้อผิดเบอร์ ซื้อมาแล้วพอลองดันไม่เหมาะกับผิว หรือบางทีอาจจะวางไว้บนโต๊ะนานจนมันหมดอายุ ก็อย่าเพิ่งนำไปทิ้ง เพราะมันยังคงมีคุณค่าอยู่ ปัจจุบันมีหลายมูลนิธิที่เปิดรับบริจาคเครื่องสำอางสำหรับแต่งหน้าศพ ซึ่งจะช่วยให้ของที่ซื้อมาไม่สูญเปล่า และเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดการเกิดขยะได้เช่นกัน

อ้างอิง :

https://ej.eric.chula.ac.th/article/view/349

https://www.seub.or.th/bloging/knowledge/green-beauty/

Credit

uniPoP

เราสามารถเขียนบทความรักษ์สิ่งแวดล้อม ไปพร้อม ๆ กับรักแฟนได้