Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

“'ป้าลูซี่' ฟอสซิลอายุ 3.2 ล้านปี คือใคร และบอกอะไรถึงต้นกำเนิดของเผ่าพันธุ์มนุษย์” - EnvironmanEnvironman

“’ป้าลูซี่’ ฟอสซิลอายุ 3.2 ล้านปี คือใคร และบอกอะไรถึงต้นกำเนิดของเผ่าพันธุ์มนุษย์”

มนุษย์เดิน 2 ขาได้เมื่อไหร่กัน? หน้าตาของพวกเราเป็นอย่างไรในโลกล้านปีที่แล้ว?

ลูซี่ หนึ่งในฟอสซิลที่สำคัญที่สุดของโลกวิทยาศาสตร์ 50 ปีแล้วที่ ‘ป้าลูซี่’ ได้ให้ความรู้แก่มนุษยชาติเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเผ่าพันธุ์เรา และนี่คือเรื่องราวของเธอ

เมื่อประมาณ 3.2 ล้านปีที่แล้ว ในป่ายุคก่อนประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งที่ที่ปัจจุบันคือประเทศเอธิโอเปีย สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งตายลงและถูกฝังกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าอะไรทำให้สิ่งมีชีวิตตัวนั้นตาย บางทีอาจเป็นเพราะตกจากต้นไม้ก็ได้ 

แต่รอยฟันของสัตว์กินเนื้อที่สะโพกบ่งบอกว่าอย่างน้อยร่างนั้นก็ยังถูกกัดแทะหลังจากที่ตายไปแล้ว แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ตะกอนก็ได้ปกคลุมร่างกายและรักษาส่วนต่าง ๆ เอาไว้อย่างยอดเยี่ยม ต้องใช้โชคขนาดไหนที่ร่างนั้นจะอยู่รอดผ่านมาได้ถึง 3 ล้านปี และยิ่งกว่าต้องโชคดีจนนักวิทยาศาสตร์ของเผ่าพันธุ์มนุษย์ปัจจุบันขุดพบ 

ท้ายที่สุดมันกลายเป็นการค้นพบฟอสซิลครั้งสำคัญของโลกที่รู้จักกันในชื่อ ‘ลูซี่’ ซึ่งชื่อทางวิทยาศาสตร์จริง ๆ ก็คือ AL 288-1 แม้โครงกระดูกนี้จะไม่ได้เป็น ‘คนแรก’ ของกลุ่มสายพันธุ์ Australopithecus afarensis ที่เป็นญาติของโฮโม เซเปียนส์ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 3.9-2.9 ล้านปีก่อน แต่ ‘เธอ’ ก็ได้ให้ความรู้มากมายเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์

“ลูซี่เป็นหนึ่งในฟอสซิลกลุ่มแรก ๆ ที่โด่งดัง ทุกคนรู้จักและรักลูซี่” Lydia Pyne นักประวัติศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ กล่าว “เธอออกจากเอธิโอเปียพร้อมกับชื่อเล่นนั้น” ซึ่งถูกตั้งตามชื่อเพลง Lucy in the Sky with Diamonds ของเดอะบีเทิลส์

การค้นพบลูซี่

เรื่องมันเริ่มจากการที่กลุ่มอาณานิคมได้เข้าสำรวจพื้นที่แอฟริกาตะวันออก และค้นพบฟอสซิลของ A. afarensis ตั้งแต่ปี 1939 แต่ปัญหาก็คือนักธรรมชาติวิทยาไม่รู้ว่าพวกเขากำลังดูอะไรอยู่ มันเป็นกระดูกมนุษย์ยุคแรกหรือเป็นโฮมินินกันแน่ ซึ่งความงุนงงเหล่านี้ไม่เคยถูกอธิบายอย่างเป็นทางการเลย

ยิ่งกว่านั้นสิ่งที่น่าเศร้าก็คือมันเป็นช่วงเวลาที่สาขามานุษยวิทยายังคงได้รับอิทธิพลอย่างรุนแรงจากแนวคิดเหยียดเชื้อชาติ ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญในขณะนั้นจึงมองข้ามฟอสซิลจากทวีปแอฟริกาชิ้นนี้ และเลือกที่จะสนใจฟอสซิลมนุษย์จากยุโรปและเอเชียมากกว่า 

“ความสำคัญของการค้นพบในช่วงแรก ๆ นั้นไม่ได้ให้ความสำคัญที่เพียงพอ” Ashley Hammond นักมานุษยวิทยาโบราณซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทีม Human Origins Program กล่าว ดังนั้นแม้โลกจะค้นพบญาติ ๆ ของลูซี่ แต่ทุกคนก็ไม่ได้อยากจะทำความรู้จักครอบครัวนี้มากเท่าไหร่

อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป นักมานุษยวิทยาโบราณก็เริ่มตระหนักได้ว่าพวกเขาต้องฟอสซิลเพิ่มเติม เพราะสิ่งที่ค้นพบนั้นไม่สามารถเติมเต็มช่องว่างของข้อมูลได้ โดยเฉพาะกับกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ชื่อว่า Australopithecus afarensis ที่ดูเหมือนจะมีหลายสายพันธุ์

พวกเขาเหล่านั้นยืนสองขาและเดินตรงได้ ทว่าก็ยังมีลักษณะบางอย่างที่ยังดูเหมือนลิงอยู่เช่นกะโหลกศีรษะและแขนขา ซึ่งตำแหน่งที่จะเติมเต็มข้อมูลได้น่าจะอยู่ที่แอฟริกาตะวันออก ที่ที่พวกเขาละเลยฟอสซิลจากผืนดินแห่งนั้นมาอย่างยาวนาน

การค้นพบเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 1973 ทีมที่นำโดย Maurice Taieb, Donald Johanson และ Yves Coppens พบกระดูกข้อเข่าที่บ่งชี้ว่าเจ้าของชิ้นส่วนนั้นเดินตรง มันชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ (หรือบรรพบุรุษของมนุษย์) นั้นเดิน 2 ขาเร็วกว่าที่เคยคิดกันมา ปีถัดมาพวกเขาก็ค้นพบ AL 288-1 ในที่สุดลูซี่ก็เผยโฉมต่อโลกพร้อมกับกระดูกอีกหลายร้อยชิ้น

“นี่คือกลุ่มผู้ใหญ่จำนวนมากและเด็กไม่กี่คนที่เสียชีวิตในช่วงเวลาเดียวกัน” Hammond กล่าว 

โครงกระดูกของลูซี ฟอสซิล Australopithecus afarensis ถูกจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเอธิโอเปีย
Photo: Radosław Botev/wikipedia

เรียนรู้จากลูซี่

เมื่อฟอสซิล AL 288-1 และ AL 333 (กระดูกของ A. afarensis ที่ค้นพบพร้อมกับลูซี่) ได้รับการอธิบายอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในปี 1978 นักวิทยาศาสตร์ก็ตาสว่างขึ้นมาทันที มันได้จุดประกายความคิดใหม่เกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ 

A. afarensis นั้นเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง ซึ่งเชื่อมโยงกับบรรพบุรุษของเรามากกว่าที่เคยคิดกันมา ซึ่งเผยให้เห็นว่ามนุษย์นั้นเริ่มเดิน 2 ขาบนพื้นดินมาแล้วอย่างน้อย 3 ล้านปี พร้อมกันนั้น แขนยาวและนิ้วที่โค้งซึ่งเหมาะกับการเคลื่อนที่ผ่านต้นไม้ก็ค่อย ๆ เปลี่ยนผ่านมาเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

แม้นักวิทยาศาสตร์ยังคงถกเถียงกันว่าสปีชีส์นี้เป็นบรรพบุรุษของเราโดยตรงหรือไม่ แต่มันเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน ซึ่งให้ความเข้าใจว่าบรรพบุรุษของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นเป็นอย่างไรและเคลื่อนที่อย่างไร

หากเราได้พบกับ ‘พวกเขา’ ในตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ A. afarensis ก็คงจะดูตัวเตี้ยมากเมื่อเทียบกับเรา โดยทั่วไปแล้วพวกเขาน่าจะมีความสูงประมาณ 104 เซนติเมตร แต่แขนของพวกเขาจะดูยาวกว่าของเรา พร้อมกับมีนิ้วโค้งงอที่เหมาะกับการหยิบกิ่งไม้  

นอกจากนี้พวกเขายังมีเขี้ยวที่เล็กกว่าเรา แต่ก็ยังมีฟันกรามที่เหมาะกับการบดอาหารอยู่ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า A. afarensis น่าจะกินเน้นไปที่กินพืชมากกว่าโฮมินินในยุคหลัง ๆ แต่ก็เช่นเดียวกันกับชิมแปนซีและลิงไม่มีหางอื่น ๆ ในปัจจุบัน พวกเขาจะกินเนื้อบ้างหากมีโอกาส

“ผมอยากเรียนรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ของลูซี่” Hammond กล่าว แม้เราจะคุ้นเคยกับลูซี่และสายพันธุ์ของเธอ แต่ก็ยังมีอีกหลายคำถามที่ยังรอคำตอบอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการแพร่กระจายของสายพันธุ์ไปจนถึงแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งทั้งหมดมีความสำคัญต่อวิธีที่นักมานุษยวิทยาจะสร้างประวัติศาสตร์มนุษย์ขึ้นมาใหม่

แต่ในตอนนี้เราได้ตั้งชื่อสายพันธุ์และยกย่องให้ลูซี่เป็นสัญลักษณ์ของวิวัฒนาการ แต่เราก็เพิ่งจะเริ่มเข้าใจสมาชิกในตระกูลโบราณของเรานี่เอง 

ที่มา

https://www.science.org/content/article/was-lucy-mother-us-all-fifty-years-discovery-famed-skeleton-rivals

https://education.nationalgeographic.org/resource/lucy-discovered-africa

https://www.smithsonianmag.com/smithsonian-institution/what-lucy-one-of-the-worlds-most-important-fossils-has-taught-scientists-in-the-50-years-since-her-discovery-180985541

Credit