ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า…
เมื่อครั้งตอนเป็นเด็กเราเคยท่องประโยคนี้โดยที่ไม่ได้ใส่ใจถึงความหมายของมันเสียเท่าไหร่ แต่มาในบริบทของสังคมโลกที่มุ่งหน้าไปสู่ความยั่งยืน กลับทำให้เราเองนึกถึงประโยคนี้เมื่อจะต้องเล่าเกี่ยวกับธุรกิจอาหารและการเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจ ให้เดินในทางที่กรีนมากยิ่งขึ้น เพราะ ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง ที่ถูกผลิต ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา มีเบื้องหลังมากกว่ามื้ออาหารที่อยู่ตรงหน้าเรา
ข้อมูลที่น่าสนใจจากงานสัมมนา Decarbonize Now ของ KBank สะท้อนให้เห็นว่าทุกจานอาหารมีผลกระทบไกลเกินกว่าที่ตาเห็น ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อมูลของ IPCC ที่แสดงให้เห็นว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทาน (Scope 3) เช่น การซื้อวัตถุดิบ การขนส่ง และการแปรรูปสินค้า นอกจากนี้ยังมี Hot Spot ของการปล่อยมลพิษอีกหลายจุด ไม่ว่าจะเป็นมีเทนจากการทำปศุสัตว์ หรือการใช้พลังงานในโรงงานต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังสะท้อนกลับมาสร้างความเสี่ยงให้ตัวอุตสาหกรรมเองอีกด้วย
นี่เป็นเพียงหนึ่งในข้อมูลอีกมากมายที่อยู่ในคลังความรู้ของ KBank ซึ่งต้องการส่งมอบ ต้องการส่งสัญญาณเตือนให้กับผู้ประกอบการในวันที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกรวน (Climate Change) กำลังย้อนกลับมาสร้างผลกระทบให้กับวงการธุรกิจทั่วโลก ให้เริ่มตั้งหลักตั้งตัว พร้อมที่จะเปลี่ยนแนวทาง ปรับวิธีการเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนที่จะถาโถมเข้ามา
การตระหนักถึงปัญหาคือส่วนที่ง่ายที่สุด แต่การจะเปลี่ยนธุรกิจและวิถีการบริหารที่ปฏิบัติมาให้ทันโลก ต้องอาศัยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ หลาย ๆ ธุรกิจ หลาย ๆ ร้าน ก็ยังไม่สามารถปรับตัวได้เท่าที่ควร นี่เป็นจุดที่ KBank เล็งเห็นและต้องการเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจไทย ให้สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง โดยการยื่นมือเข้ามาเป็น พาร์ตเนอร์ ในการสนับสนุนความรู้ เครื่องมือ และการเงินที่เหมาะสม เพราะเขาเชื่อว่าหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ก้าวหน้า เราทุกคนต้องเดินไปพร้อม ๆ กัน
ตอนนี้ยิ่งกว่าถึงเวลาแล้ว ที่ภาคธุรกิจอาหารจะต้องทำความเข้าใจกับสถานการณ์ ปรับกลยุทธ์แนวทาง เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ทางที่กรีนและยั่งยืนขึ้น แต่ไม่ใช่แค่เพียงเพราะต้องรับมือกับภาวะโลกรวน เพราะเรื่องนี้ทั่วโลกกำลังมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน บริบทต่าง ๆ กำลังเปลี่ยนแปลงไป ขึ้นอยู่กับว่าใครจะไหวพริบตัวได้เร็วและปรับได้ทันกว่ากัน
ทำไมธุรกิจอาหารต้องปรับตัว ?
ในปีนี้เราได้เห็นถึงผลกระทบอันรุนแรงของภัยแล้ง น้ำท่วม และฤดูกาลที่ผันผวน หาที่จับต้องไม่ได้เหมือนแต่ก่อน แน่นอนว่าภัยธรรมชาติเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อผลผลิตทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ ปัญหานี้เราเผชิญมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้วเสียด้วยซ้ำ
แต่นอกเหนือจากปัจจัยทางธรรมชาติแล้ว หนึ่งในสาเหตุที่ธุรกิจอาหารไทยต้องปรับตัว เป็นเพราะทั่วโลกเขาเริ่มปรับตัวกันแล้ว เมื่อทั่วโลกปรับตัว สิ่งที่จะตามมาก็คือกฏหมายและนโยบายที่จะเข้ามาเป็นตัวแปรในการกำหนดทิศทางในแต่ละประเทศ รวมถึงปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เริ่มใส่ใจสิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกหนึ่งตัวชี้ที่ทำให้ธุรกิจอาหารทำแบบเดิมต่อไปอีกไม่ได้ ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นความเสี่ยงจาก Climate Change ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ส่งผลกระทบทางการเงินในท้ายที่สุด
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่อาจมองข้าม
ธุรกิจอาหารที่ยั่งยืนไม่ใช่แค่การจัดการ ขยะอาหาร หรือ Food Waste เท่านั้น อันที่จริงแล้วขยะอาหารดูเหมือนจะไม่ใช่ส่วนหลักเสียด้วยซ้ำ ข้อมูลจากงานสัมมนาของ KBank ระบุว่า Hot Spot หรือจุดตัวการของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่มาจากห่วงโซ่อุปทานทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ เช่น การซื้อวัตถุดิบ อย่างเนื้อสัตว์จากฟาร์มปศุสัตว์ ซี่งมีการปล่อยก๊าซมีเทนถึง 16% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด การใช้พลังงาน การแปรรูป การใช้และกำจัดซากผลิตภัณฑ์ ซึ่งขยะอาหารก็นับเป็นส่วนหนึ่งที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกหากไม่ถูกจัดการให้ละเอียดและถูกวิธี
แรงกดดันจากกฏหมาย
สายธุรกิจน่าจะเคยได้ยินผ่านหูบ้างกับอักษรย่อ CBAM ซึ่งชื่อนามสกุลเต็มก็คือ Carbon Border Adjustment Mechanism ใครที่ทำตลาดส่งออกน่าคุ้นเคยกับสิ่งนี้เป็นอย่างดี (หรือพูดให้ถูกคือควรจะคุ้นเคย) เจ้า CBAM นี้กำหนดให้ธุรกิจส่งออกต้องลดการปล่อยคาร์บอนในผลิตภัณฑ์ ไม่เช่นนั้นจะต้องเสียภาษีคาร์บอน ถึงแม้วันนี้ CBAM จะยังไม่ได้กระทบหรือเกี่ยวข้องเป็นนัยสำคัญกับธุรกิจอาหาร แต่แนวโน้มไม่เร็วก็ช้า จะต้องมีส่วนบังคับให้ธุรกิจอาหารต้องปรับตัวแน่นอน แล้วเราเป็นประเทศที่ส่งออกผลผลิตในด้านอาหารเป็นจำนวนมากด้วย
แต่กฏหมายบนโลกไม่ได้มีแค่ CBAM เท่านั้น ต่อไปเราจะต้องเจอกับมาตรการ นโยบาย กรอบการค้า กฏหมายอีกมากมาย อย่างระหว่างที่เขียนเนื้อหานี้ ประเทศไทยก็กำลังอยู่ในช่วงจัดทำ พรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือที่เรียกกันว่า พรบ.โลกร้อน ที่อาจจะส่งผลให้ธุรกิจอาหารต้องปรับตัว
พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
มีธุรกิจก็ต้องมีผู้บริโภค งานวิจัยของ Nielsen Global Sustainability Report เผยถึงแนวโน้มสำคัญของผู้บริโภคว่าเขาคำนึงสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการซื้อสินค้า โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ Gen Z และ Millennials โดยเขาอยากเห็นการจัดการขยะและบรรจุภัณฑ์ที่ดี ดังนั้นแบรนด์หรือธุรกิจที่ไม่ยั่งยืนจึงมีความเสี่ยงสูงจะไม่ได้รับการตอบรับจากที่กลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจอาหารต้องคิดเพื่อเปลี่ยนตัวเอง
ข้อมูลด้านข้างต้นทั้งหมด ต้องการจะสื่อให้ตระหนักว่า ภาคธุรกิจอาหารจะต้องเจออะไรต่อจากนี้ ทีนี้ เมื่อส่วนที่ง่ายที่สุดคือมีความตระหนักแล้ว การจะเดินหน้าต่อไปมักจะเป็นจุดที่ทำให้ผู้ประกอบการส่วนมากติดชะงัก เพราะไม่รู้ว่าต้องปรับตรงไหน ต้องแก้อย่างไร และต้องเริ่มทำอะไรก่อน ซึ่งเรื่องนี้ KBank มีคำตอบ
KBank ช่วยให้ธุรกิจในยุคนี้เปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน
การให้ความรู้คือรากฐานที่สำคัญ
KBank เข้าใจดีว่าการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นจาก ความรู้ สิ่งนี้เป็นเรื่องที่ KBank เน้นย้ำตลอดทุกเวทีทุกงาน ว่าผู้ประกอบการต้องเปิดรับและเข้าใจกับปัญหาก่อน การปรับและเปลี่ยน การปรุงและแต่ง จึงจะตามมาอย่างยั่งยืน KBank ได้มีการจัดสัมมนา Decarbonize Now ซึ่งเปรียบเสมือน KBank เป็น ซูเชฟ ในครัวธุรกิจที่ทำหน้าที่ช่วย เชฟ หรือผู้ประกอบการให้ปรุงเมนูแห่งความสำเร็จในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซูเชฟไม่เพียงแค่ช่วยจัดการวัตถุดิบ แต่ยังให้คำแนะนำ ช่วยเตรียมการ และสนับสนุนในทุกขั้นตอนเพื่อให้เมนูออกมาสมบูรณ์แบบ
ในสัมมนานี้ ผู้ประกอบการจะได้รับคำแนะนำทานผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมหัวข้อสำคัญ เช่น การจัดการทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก (GHG Accounting) และการวิเคราะห์ประเมินวางแผนกลยุทธ์ Decarbonization Blueprint ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถระบุ Hot Spot ในห่วงโซ่ของตัวเองและนำแผนงานนี้ เป็นต้นแบบในการประยุกต์ใช้งานจริง
เมื่อความรู้ไม่ใช่อุปสรรค ปัจจัยต่อไปที่มักจะทำให้ธุรกิจล้มเลิกที่จะเปลี่ยนเป็นกรีน คือ ความท้าทายทางด้านการเงิน ผู้ประกอบการมักจะมองว่าการทำเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือการทำด้านความยั่งยืนต้องมีต้นทุน ต้องใช้เงิน ซึ่งเป็นที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่สิ่งที่ต้องมอง คือในการลงทุนครั้งนี้แม้ว่าต้นทุนจะสูงขึ้น แคต่มันคือการลงทุนในระยะกลางถึงยาว และเป็นการลดความเสี่ยงเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนในอนาคต
แต่เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจ Go Green Together KBank มีการออกผลิตภัณฑ์มากมายเพื่อมาซัพพอร์ต อย่างตอนนี้มีสิ่งที่เรียกว่า สินเชื่อธุรกิจเพื่อลดคาร์บอน ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนผ่าน คือรูปแบบสินเชื่อที่ถูกออกแบบมาเพื่อสนับสนุนธุรกิจ ในอุตสาหกรรมที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ ธุรกิจโรงแรมและเฮลแคร์ (Hotels and Health Cares) ธุรกิจยานยนต์ฮาร์ดแวร์ (Automotive and Parts) ธุรกิจแพ็คเกจจิงและพลาสติก (Packaging and Plastics) และธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage)
การเปลี่ยนผ่านสามารถทำได้ทันที และการสนับสนุนทางด้านการเงินจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยแบ่งเบาภาระต้นทุน และเพื่อบริหารเงินลงทุนในเทคโนโลยีสะอาด เช่น การติดตั้งโซลาร์รูฟ การใช้พลังงานหมุนเวียน การติดตั้งเครื่องย่อยเศษอาหาร หรือพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
อย่างที่บอกว่า ผู้ประกอบการต้องมองในระยะกลางถึงระยะยาว Transition Finance จะช่วยให้ธุรกิจบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หากติดโซลาร์ก็จะเป็นการลดค่าไฟในระยะยาว หรือการปรับปรุงระบบจัดการขยะอาหาร ก็ทำให้ร้านอาหารไม่จำเป็นต้องเสียค่ากำจัดขยะให้กับภาครัฐในปริมาณมากหากบริหารจัดการได้เอง
ในปีที่ผ่านมา KBank ได้อนุมัติสินเชื่อสีเขียวรวมกว่า 100,000 ล้านบาท ช่วยธุรกิจไทย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม
KBank เชื่อว่า ความยั่งยืน ไม่ใช่เพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่ต้องเริ่มต้นจากรากฐาน นั่นคือความรู้และการเงินที่เข้มแข็ง การจัดสัมมนา Decarbonize Now จึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้น ขณะที่สินเชื่อเพื่อธุรกิจลดคาร์บอน และ Green Loan จะช่วยให้ธุรกิจเดินหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นใจ
อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรเผชิญความเปลี่ยนแปลงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ด้วยความรู้ การเป็นที่ปรึกษา และการสนับสนุนทางการเงินจาก KBank ธุรกิจไทยสามารถก้าวข้ามอุปสรรคและสร้างอนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน
เพราะในท้ายที่สุด ความสำเร็จของธุรกิจไม่ได้วัดจากผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่คือการสร้างคุณค่าที่แท้จริงให้กับโลกหากผู้อ่านอยากเปลี่ยนธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คลิกดูรายละเอียดสินเชื่อธุรกิจเพื่อลดคาร์บอน ได้ที่ https://www.kasikornbank.com/k_3VPJoxN