Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

ทำไมค่าไฟฟ้าถึงแพงขึ้นในช่วงหน้าร้อน ?

หน้าร้อนเมื่อใด ค่าไฟขึ้นทุกที สิ่งนี้มันมีมูลมีเหตุมาจากอันใดกันเล่า

หน้าร้อนปีนี้เรียกได้ว่าค่าไฟขึ้นสูงจนมองไม่เห็นเพดานกันเลยทีเดียว เราเชื่อว่าหลาย ๆ บ้านก็คงหวั่นใจกับการได้รับใบแจ้งค่าไฟในแต่ละเดือนไม่ต่างกัน วันนี้เราเลยจะชวนมาดูวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้าตัวเองในฉบับแบบง่าย ๆ เพื่อจะช่วยในการวางแผนค่าไฟ และหวังว่ามันจะช่วยให้เพื่อน ๆ ลดค่าไฟได้บ้าง มากไปกว่านั้นคือทำให้เพื่อน ๆ วางแผนในการใช้ไฟฟ้าต่อไปในอนาคตได้อย่างชำนาญมากยิ่งขึ้น

ทำไมค่าไฟถึงแพงในช่วงฤดูร้อน

เราเข้าใจว่าประเทศไทยมีแค่ฤดูร้อน ร้อนมาก และร้อนเรือหาย แต่โดยปกติเราจะสัมผัสถึงความร้อนแบบสุดขั้วหัวใจในช่วงเดือนมีนา-เมษา เฉกเช่นเดียวกันในปีนี้ที่ร้อนตับแตกเสียเหลือเกิน ทั้งนี้ก่อนที่เราจะเข้าไปสู่การคำนวนค่าไฟ อยากจะชวนให้เข้าใจสาเหตุที่ค่าทำไมค่าไฟถึงแพงขึ้นในช่วงอากาศร้อนแบบนี้ โดยเมื่อวิเคราะห์แล้วจะพบว่าแต่ละหน้าร้อน มีปัจจัยที่ทำให้ค่าไฟขึ้นแตกต่างกัน โดยในบางครั้งอาจเกิดจากการต้นทุนไฟฟ้าสูงขึ้น แต่ในปีนี้เกิดมาจากผลพวงของอากาศที่ร้อนจากภาวะโลกรวน ส่งผลให้อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่ออากาศร้อนแบบนี้ เราจึงมักจะหนีร้อนไปพึ่งเย็นด้วยการเปิดแอร์ เมื่อเปิดแอร์บ่อย ๆ ก็ส่งผลให้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มากขึ้นไปด้วย

สมมติว่าปกติอุณหภูมิอยู่ที่ 36 องศา แต่เราต้องการอากาศ 25 องศา เราจึงให้ลดอุณหภูมิไป 11 องศา แล้วโดยเฉพาะในปีนี้ที่อุณหภูมิกลายเป็น 40 องศา แต่เราต้องการ 25 องศาเหมือนเดิม แอร์จึงต้องทำงานหนักขึ้นด้วยการลดอุณหภูมิถึง 15 องศา ต้องใช้หน่วยไฟเพิ่มขึ้นในการทำงาน ส่งให้ค่าไฟสูงขึ้นนั่นเอง

สำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนคิดค่าไฟ

เริ่มจากสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านก่อนว่ามีอะไรบ้าง พัดลม โทรทัศน์ ไมโครเวฟ บลา บลา บลา … หลังจากนั้นให้สังเกตเครื่องใช้ไฟฟ้า ว่ามีการใช้กำลังไฟที่มีหน่วยเป็นวัตต์มากน้อยเพียงใด โดยเปรียบเทียบได้ว่ายิ่งเครื่องใช้ไฟฟ้ามีกำลังไฟ (วัตต์) มาก อัตราค่าไฟที่ออกมาก็จะมากตามไปด้วย ถ้ามีกำลังไฟ (วัตต์) น้อย อัตราค่าไฟที่ออกมาก็จะน้อยตามไปด้วย และปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าไฟอีกสิ่งคือจำนวนเวลาในการเปิดใช้งานเครื่องไฟฟ้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งนาทีและชั่วโมง

ถึงเวลาคิดค่าไฟ

เมื่อรวบรวมข้อมูลของทั้งสองส่วนนี้แล้วจะสามารถนำมาใส่ในสูตรสำเร็จนี้ได้

กำลังไฟฟ้า (วัตต์ ) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (หน่วย)

ตัวอย่างเช่น บ้านนายหมีน้อย มีเครื่องไฟฟ้าอยู่ทั้งหมด 2 ชนิดได้แก่ แอร์และทีวี

แอร์ มีกำลังไฟฟ้าคือ 1800 วัตต์ x มีทั้งหมด 2 เครื่อง ÷ 1000 x ใช้ทั้งหมด 8 ชั่วโมงต่อวัน

= 28.8 หน่วย/วัน (864 หน่วย/เดือน)

ทีวี มีกำลังไฟฟ้าคือ 300 วัตต์ x มีทั้งหมด 1 เครื่อง ÷ 1000 x ใช้ทั้งหมด 4 ชั่วโมงต่อวัน

= 1.2หน่วย/วัน (36 หน่วย/เดือน)

ดังนั้น บ้านนายหมีน้อยจะมีการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 864 + 36 = 900 หน่วยต่อเดือน แล้วนำตัวเลขหน่วยการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดต่อเดือนไปคำนวนต่อที่เว็บไซต์ของการไฟฟ้ามหานคร (MEA)

ซึ่งจะนำหน่วยไฟฟ้าไปแปลงค่ากับการคูณราคาต่อหน่วย รวมไปถึงค่าธรรมเนียมบริการอื่น ๆ เช่นค่าบริการ ค่าไฟฟ้าผันแปร และค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบ โดยหลังจากการคำนวนผ่านทางเว็บไซต์ของการไฟฟ้ามหานคร (MEA) สามารถสรุปได้ว่าบ้านนายหมีน้อย จะจ่ายค่าไฟฟ้ารายเดือนอยู่ที่ 4,441.45 บาท

แล้วเราจะลดค่าไฟอย่างไรได้บ้าง ?

ขอนำเสนอวิธีการลดค่าไฟด้วยการปรับวัตต์

วัตต์ (Watt) เป็นหน่วยในการวัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้วจะมีความคิดที่ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้วัตต์สูงจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าวัตต์ต่ำ โดยประโยคนี้จะถูกต้องต่อเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ว่านั้นอยู่ในพวกเครื่องทำน้ำอุ่น แอร์ ตู้เย็น เครื่องทำความร้อน ซึ่งต้องใช้ไฟฟ้ามากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้วัตต์สูง เช่นหลอดไฟ ถ้ามีค่าวัตต์ที่สูงกว่าความจำเป็นก็เป็นเพียงแค่การเพิ่มการใช้หน่วยไฟอย่างไม่จำเป็นนั่นเอง

ดังนั้นวิธีลดค่าไฟที่สามารถนำไปใช้ได้คือการเก็บข้อมูลวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชิ้นในบ้าน และนำไปเทียบกับค่ามาตรฐานเพื่อตรวจสอบอีกครั้งว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นกำลังใช้ไฟมากเกินความจำเป็นหรือไม่ และเปลี่ยนไปใช้เครื่องอื่น ๆ หรือลดการใช้แทน เพื่อปรับลดค่าไฟของบ้านตัวเองลง

ค่าไฟไม่เท่าเดิมเสมอไป

โดยแม้หน่วยไฟฟ้าจะถูกใช้ในปริมาณเท่าเดิม ค่าไฟฟ้าก็ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละเดือน เนื่องจากค่าไฟฟ้าผันแปร ที่จะเปลี่ยนขึ้นลงไปตามต้นทุนการผลิตไฟฟ้า และยิ่งสูงขึ้นในช่วงนี้เนื่องจามีการขึ้นของน้ำมันอันเป็นผลกระทบจากสงคราม การผลิตแก๊สธรรมชาติในไทยได้น้อยลง การนำเข้าที่มากขึ้น อีกทั้งยังมีปัจจัยเรื่องการคิดค่าไฟแบบขั้นบันได ที่จะเพิ่มราคาต่อหน่วยไฟฟ้าขึ้นเมื่อใช้เกินขั้นที่กำหนด

Credit

Environman

Environman คือหนึ่งในสื่อออนไลน์ที่นำเสนอปัญหาสิ่งแวดล้อม เป้าหมายคืออยากทำให้โลกใบนี้ดีขึ้น ไม่เฉพาะการเป็นสังคมออนไลน์ที่แข็งแกร่ง แต่หวังให้ความรู้นำไปสู่การลงมือทำเพื่อเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นได้จริง