Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

‘กาแฟเดอม้ง’ แบรนด์กาแฟรักษาป่า จากคนต้นน้ำในหมู่บ้านมณีพฤกษ์ จ.น่าน

“เมล็ดกาแฟไทยที่คุณภาพดีที่สุด” ที่ส่งต่อความอร่อยและความรักและใส่ใจในธรรมชาติที่พวกเขาพึ่งพา

ท่ามกลางบทสนทนาตามร้านกาแฟ หากใครมีโอกาสได้พูดคุยกับฅ.ฅนรักกาแฟ เราเชื่อว่าชื่อของ ‘หมู่บ้านมณีพฤกษ์’ ก็อาจเป็นที่คุ้นหูคุ้นตาของใครหลายคน  

‘กาแฟเดอม้ง’ (Coffee De Hmong) หนึ่งในเมล็ดกาแฟจากหมู่บ้านมณีพฤกษ์ จังหวัดน่าน ที่ได้รับรางวัลอันดับ 1 จากเวที THAI SPECIALTY COFFEE AWARDS 2023 เมื่อปีก่อน ทั้ง 3 สาขา ได้แก่ Washed, Natural และ Honey Process จากงาน Thailand Coffee Fest 2023 ที่ผ่านมา เมื่อได้ยินเช่นนี้จึงทำให้เราสงสัยจนเข้าไปชวนคุยกันว่าอะไรคือเคล็ดลับที่ทำให้พวกเขาปลูกกาแฟจนได้ชื่อว่าเป็น “เมล็ดกาแฟไทยที่คุณภาพดีที่สุด” ทั้ง 3 ด้าน 

เราขอตั้งต้นแนะนำพวกเขาให้ทุกคนได้รู้จักสั้น ๆ ผ่าน ‘คำนิยามตัวเอง’ ของพวกเขาบนแฟนเพจเฟสบุค กาแฟเดอม้ง ที่ว่า

กาแฟปลูกใต้ร่มเงา แบบเกษตรอินทรีย์ กาแฟรักษาป่า เพื่อคนอยู่คู่กับป่าอย่างยั่งยืน

จากการซุ่มติดตามแฟนเพจของพวกเขามาเรื่อย ๆ คำหนึ่งที่เราจะเห็นคุ้นตาคือ  ‘กาแฟจากคนดูแลป่า’ ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เราเห็นถึงคุณค่าอย่างหนึ่งที่กาแฟเดอม้งไม่ได้มองตัวเองเป็นเพียงแบรนด์ที่ส่งต่อเมล็ดกาแฟถึงมือผู้ดื่มด่ำและคิดถึงแต่กำไร หากแต่ยังมองถึงคุณค่าต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาชุมชนบ้านเกิด

นอกเหนือจากรสชาติที่นุ่มลึกของเมล็ดกาแฟเดอม้ง เราเชื่อว่าสตอรี่ของเมล็ดกาแฟเหล่านี้ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน หากได้รู้จักกันเพิ่มอีกนิด ทำความเข้าใจกันอีกหน่อย อาจทำให้คุณยิ่งรู้สึกดีกับแก้วกาแฟตรงหน้าไม่น้อย

Photo: Coffee De Hmong กาแฟเดอม้ง/FB

Made in ดอยมณีพฤกษ์ by ชาวม้ง

กาแฟเดอม้งนี้ เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟเดอม้งมณีพฤกษ์ที่ตั้งขึ้นในพื้นที่ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน โดยมีพี่วิชัย กำเนิดมงคล ชาติพันธุ์ม้งที่อาศัยอยู่ที่นี่เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจนี้ในชุมชน โดยนำความสนใจและความถนัดที่ร่ำเรียนมาต่อยอดผนวกกับศักยภาพของพืชผักในชุมชนอย่างกาแฟที่มีอยู่แล้วหลากหลายสายพันธุ์ รวมถึงสภาพพื้นที่ที่เอื้อต่อการปลูกกาแฟเป็นอย่างยิ่ง

กุญแจสำคัญคือระบบนิเวศที่สมบูรณ์และความพิถีพิถันที่ช่วยบ่มเพาะเสน่ห์แห่งเมล็ดกาแฟ

พี่วิชัย เล่าถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเป็นกาแฟบ้านมณีพฤกษ์ว่า อย่างแรกคือระบบนิเวศและพื้นที่ป่าที่ดี ยิ่งปริมาณต้นไม้สมบูรณ์ก็จะยิ่งส่งผลให้ความชื้นในดินเหมาะสม รวมถึงปริมาณแสงแดดที่มากพอ องค์ประกอบรวมพวกนี้จะเป็นระบบนิเวศที่ส่งผลโดยตรงกับรสชาติของกาแฟ

อย่างที่สองคือกระบวนการการเก็บกาแฟ เพราะการเก็บรักษาที่ดีทำให้เกิดกลิ่นและรสในระหว่างการคั่ว ด้วยการตากเมล็ดกาแฟด้วยอุณหภูมิที่ไม่สูงเกินไปและต้องตากด้วยลม เพื่อคงสภาพโปรตีน และคาร์โบไฮเดรตในเมล็ด ไม่ให้สูญเสียไปกับความร้อน กาแฟที่เก็บและ Process จะต้องบ่มไว้อีกประมาณ 4 เดือน เพื่อให้ความชื้นในเมล็ดเท่ากัน เพราะการตากกาแฟไว้มันจะมีทั้งโดนแดดบ้างไม่โดนแดดบ้าง ทำให้ความชื้นไม่เท่ากัน เมื่อนำมาคั่ว บริเวณที่ความชื้นต่ำจะไหม้ก่อน ส่วนตรงไหนที่ความชื้นสูงก็จะไม่สุก เพราะฉะนั้น กระบวนการของบ้านมณีพฤกษ์ จะมีการบ่มเมล็ดไว้ประมาณ 4 เดือนให้ความชื้นมันกระจายตัวให้มันให้มันเท่ากัน

ซึ่งอีกความได้เปรียบของกาแฟที่นี่ คือที่ที่ปลูกอยู่บนดอย อากาศค่อนข้างหนาวเหมาะกับการทำกาแฟ รวมไปถึงกรรมวิธีในการหมักกาแฟต้องหมักที่อุณหภูมิต่ำ เพราะเชื้อจุลินทรีย์และยีสต์ที่ทำงานในอุณหภูมิต่ำจะให้กลิ่นรสที่ดี จึงเป็นเหตุผลที่ว่าการทำกาแฟ ‘ในเมือง’ จะต้องสร้างห้องมักขึ้นมาเพราะว่าอุณหภูมิมันสูง จึงต้องสร้างห้องเย็นขึ้นมาหมัก

Photo: Coffee De Hmong กาแฟเดอม้ง/FB

เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย 

แต่ความแน่นอนก็คือความไม่แน่นอนอีกเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องของสภาพอากาศที่เรารู้กันว่าแปรปรวนมากขึ้นในทุก ๆ วัน ทุก ๆ นาที ทั้งอากาศที่แห้ง แล้ง หรือหนาวจัดต่างจากเดิม สิ่งนี้ส่งผลต่อเมล็ดกาแฟ ซึ่งจะส่งผลทั้งในแง่ราคาที่พุ่งสูงขึ้นและรสชาติที่เปลี่ยนไป 

เมื่ออากาศร้อนขึ้น จากกาแฟที่เคยสุกช้าก็จะสุกไวขึ้น ในสภาวะปกติที่อากาศเย็นพอ เมล็ดกาแฟจะบ่มสุกนานกว่า ดูดซับสารอาหารได้ดีกว่า รวมถึงเรื่องของโรคและแมลงที่ไม่เคยมี ก็จะกลับมามี หรือความชุ่มชื้นในดินที่มีก็จะหายไป ส่งผลต่อรสชาติของกาแฟให้ต่ำกว่ามาตรฐาน ทั้งกลิ่นและสัมผัสเวลาดื่มที่ดีก็อาจหายไป อย่างเรื่องของเวลาการสุกงอมของเมล็ดกาแฟ แทนที่จะสุกตามวัย แต่เมื่อสุกไวขึ้น ความหนาแน่นในเมล็ดกาแฟก็หาย 

เรื่องนี้จึงไม่ใช่แค่เรื่องของธุรกิจใครธุรกิจหนึ่ง แต่เป็นวาระสำคัญที่ต้องใส่ใจให้มาก ทั้งสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ และชาวไร่ชาวนาที่ปลูกพืชผลชนิดอื่น เพราะอย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ก็จะเกิดเป็นผลกระทบไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

Photo: Coffee De Hmong กาแฟเดอม้ง/FB

ด้วยความที่เห็นปัญหาเหล่านี้กองอยู่ตรงหน้าแล้ว การก่อตัวขึ้นของ ‘กาแฟเดอม้ง’ จึงไม่ใช่แค่การตักตวงผลผลิตจากธรรมชาติแล้วจบ หากแต่เน้นแนวทางการทำการเกษตรแบบปราณีต ใส่ใจสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ใส่ใจคนในชุมชน มุ่งเน้นที่คุณภาพไม่ใช่ปริมาณ 

คุณค่าของความเป็นกาแฟเดอม้งพี่วิชัยเล่าว่า พวกเขามีความตั้งใจที่จะใช้ผลิตภัณฑ์กาแฟนี้แหละเป็นตัวกระตุ้นชุมชนให้หันมาดูแลพื้นที่ป่า หันมามองเรื่องความยั่งยืน และหันมาใส่ความปราณีตลงไปในการทำเกษตรมากขึ้น  

Photo: Coffee De Hmong กาแฟเดอม้ง/FB
Photo: Coffee De Hmong กาแฟเดอม้ง/FB

จากเดิมในหมู่บ้านแห่งนี้มีการปลูกกาแฟอยู่ที่ประมาณ 10% ในความตั้งใจของพี่วิชัยนั้นอยากจะผลักดันเรื่องกาแฟในชุมชนไปให้ถึง 20% เพราะชาวบ้านที่นี่ยังมีที่ปลูกขิงและกะหล่ำปลีเป็นอาชีพหลักอยู่ด้วย ซึ่งการที่กาแฟเดอม้งมีชื่อเสียงมากขึ้น เป็นที่รู้จักมากขึ้น เขาก็หวังว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจให้ผู้คนในชุมชนเห็นถึงลู่ทางความสำเร็จและการเติบโตของเศรษฐกิจในชุมชนที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการทำเกษตรที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้

แต่ก็ต้องยอมรับการวาดฝันมันง่าย จากก้าวแรกที่เขาเรียนรู้ที่จะปลูกกาแฟและจำหน่ายตั้งแต่ปี 2558 จบจนปัจจุบันก็นับเป็นเวลาเกือบสิบปี สิ่งหนึ่งที่เราได้เห็นจากการเดินทางของกาแฟเดอม้งคือ การเติบโตที่ดึงคนรอบข้างไปด้วยกัน ด้วยความตระหนักและรู้คุณค่าของคุณธรรมชาติที่พวกเขาพึ่งพาอาศัย การดูแลป่าต้นน้ำในพื้นที่บ้านเกิด รวมถึงการลงทุนกับทรัพยากรบุคคลในชุมชนที่ผลักดันให้คนที่มีใจรักการทำกาแฟได้เรียนรู้และเติบโตได้ด้วยตัวเอง จนนำไปสู่ระบบนิเวศทางธุรกิจในชุมชนที่แข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ 

หากถามว่าความสำคัญของรางวัลที่พวกเขาได้มานี้มันมีคุณค่าในเชิงไหน พี่วิชัยก็ฉายภาพให้เราเห็นชัดเจนมากกว่าเรื่องของชื่อเสียง ความสำเร็จ หรือการเป็นเครื่องพิสูจน์ตีฝีมือของพวกเขา 

 “เราหวังว่าระวังที่รางวัลที่เราได้รับมาจะเป็นแรงกระตุ้นไม่ใช่เฉพาะแค่หมู่บ้านมณีพฤกษ์ แต่จะเป็นแรงกระตุ้นให้ทุก ๆ หมู่บ้านหันมาทำกาแฟอินทรีย์ เพื่อส่วนหนึ่งที่จะช่วยสร้างและรักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำให้คนทั้งประเทศได้ใช้กัน” 

——————

ติดตามและสนับสนุนกาแฟเดอม้ง ได้ที่

✱ Facebook Fanpage: Coffee De Hmong กาแฟเดอม้ง

✱ 265 ม.11 ต.งอบ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน

✱ 063 562 6696

Credit

Environman

Environman คือหนึ่งในสื่อออนไลน์ที่นำเสนอปัญหาสิ่งแวดล้อม เป้าหมายคืออยากทำให้โลกใบนี้ดีขึ้น ไม่เฉพาะการเป็นสังคมออนไลน์ที่แข็งแกร่ง แต่หวังให้ความรู้นำไปสู่การลงมือทำเพื่อเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นได้จริง