Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

ห้องปลอดฝุ่น-มุ้งสู้ฝุ่น: ที่พึ่งกลุ่มเปราะบางท่ามกลาง PM 2.5

เมื่อฝุ่นอยู่ทำลายเราทุกวันแต่ไม่ใช่ทุกคนที่เข้าถึงเครื่องฟอกอากาศได้

ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา เรายังคงเห็นข่าวสถานการณ์ไฟป่า ฝุ่นพิษและควัน PM2.5 ที่โหมรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายจังหวัด ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะ ‘เด็กเล็ก’ ที่มีข้อมูลชี้ชัดว่า จะได้รับผลกระทบมากกว่าเนื่องจากปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่ รวมถึงฝุ่นอาจส่งผลต่อพัฒนาการ และการเกิดโรควิตกซึมเศร้าในอนาคตได้

ดังนั้น การเข้าถึง ‘พื้นที่ปลอดภัยท่ามกลางมลพิษอากาศ’ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทั้ง ‘ห้องปลอดฝุ่น’ และ ‘มุ้งสู้ฝุ่น’ ก็เป็นอีกโมเดลที่ช่วยรับมือสถานการณ์ความรุนแรงฝุ่นตรงหน้าได้ ในปีนี้ สิงห์อาสา โดย มูลนิธิพระยาภิรมย์ภักดี และบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ได้เข้ามาร่วมมือกับคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอก ควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นับตั้งแต่การสนับสนุนสิ่งที่จำเป็น การจัดอบรมแนะแนว และการมอบมุ้งสู้ฝุ่นให้กับกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่เสี่ยง PM 2.5 และอุปกรณ์ให้ชาวบ้านสามารถกลับไปต่อยอดใช้ที่บ้านได้ 

ทำความเข้าใจสถานการณ์ฝุ่นภาคเหนือ การปรับตัวของผู้คน และภารกิจการร่วมมือกันกระจาย ‘ห้องเรียนปลอดฝุ่น’ และ ‘มุ้งสู้ฝุ่น’ ให้เข้าถึงกลุ่มเปราะบางได้มากที่สุด ในบทความนี้

แม้จะหลบฝุ่นในห้องก็ยังไม่ปลอดภัย

ฝุ่น PM2.5 เป็นภัยร้ายเงียบที่สามารถอยู่ได้ทุกที่ โดยสามารถเล็ดลอดเข้ามาในพื้นที่บ้าน/อาคาร/พื้นที่ปิดได้เสมอ ด้วยความที่ฝุ่น PM2.5 มีขนาดเล็กมากจนสามารถเข้ามาได้ตามรอยรั่วรอบห้อง เช่น หน้าต่าง รูต่าง ๆ รวมถึงช่องว่างขอบหน้าต่างและกำแพงของห้องด้วยเช่นกัน ดังนั้น แม้หลายแห่งจะเป็นห้องระบบปิด ติดเครื่องปรับอากาศ แต่ก็ยังไม่ได้หมายความว่าที่นั่นอากาศสะอาดกว่าด้านนอก 

ซึ่งเมื่อมองไปถึงสถานศึกษาหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เป็นพื้นที่รวมเด็กจำนวนมาก และพวกเขาต้องใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นกว่า ⅓ ของเวลาในแต่ละวัน สิ่งนี้ก็เป็นเรื่องน่ากังวลว่า สถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือสถานที่ที่มีกลุ่มเปราะบางอาศัยอยู่เยอะควรมีพื้นที่ที่เป็นเซฟโซนหรือพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษฝุ่นให้กับพวกเขาด้วยหรือไม่ เหมือนอย่างที่ในต่างประเทศหลายแห่งก็มีโมเดล ‘ห้องปลอดฝุ่น’ รับรองเช่นกัน

ห้องปลอดฝุ่น ทางเลือกป้องกันที่ยังคงจำเป็นสำหรับเด็ก

ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยที่ระบุว่า การที่เด็กได้รับฝุ่น PM 2.5 ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และโอโซน เป็นเวลาต่อเนื่อง สามารถทำให้โมเลกุลของ DNA เปลี่ยนไป ซึ่งอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับพัฒนาการที่ผิดปกติได้ เช่น อาจก่อให้เกิดโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงในการมีโรคภัยในระยะยาว 

รวมถึงในแง่ระบบทางเดินหายใจ ยิ่งร่างกายได้รับมลพิษมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลกระทบต่อสมรรถนะของปอดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ด้วยความที่เด็กมีอัตราการหายใจที่เร็วกว่าผู้ใหญ่ และปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่ (อ้างอิง พญ.พรรณพิมล วิปุลากร, 2562) 

เมื่อการแก้ที่ต้นตอยังไม่อาจสำเร็จได้ในเร็ววัน การป้องกันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน ในหลายพื้นที่ยังคงต้องการพื้นที่ปลอดภัยเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กนักเรียนและบุคลากร โดยเฉพาะในหลายจังหวัดภาคเหนือที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง 

‘ห้องเรียนปลอดฝุ่น’ จึงเป็นอีกหนึ่งทางที่ช่วยป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก ๆ เมื่ออยู่ในสถานศึกษา โดยในปีนี้ เป็นความร่วมมือของคณะอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และคณะทำงานทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ม.เชียงใหม่ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และได้สร้างมอบให้กับโรงเรียนบ้านทุ่งพร้าว อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 

โดยในปีนี้มีการพัฒนาการถ่ายเทอากาศ มีการการวัดความเข้มข้นของฝุ่น และทำระบบเตือนภัยเพิ่มเข้ามาด้วย ซึ่งก็เป็นอุปกรณ์ที่ทางสิงห์อาสาได้ร่วมสนับสนุนให้ในโครงการนี้ด้วย

มุ้งสู้ฝุ่น ทางเลือกบรรเทาปัญหาให้ผู้ป่วยติดเตียง

นอกเหนือจาก ‘ห้องปลอดฝุ่น’ แล้ว ในปีนี้มี ‘มุ้งสู้ฝุ่น’ ที่พัฒนาต่อยอดมาจากห้องปลอดฝุ่น โดยดัดแปลงสำหรับพื้นที่ห่างไกลที่แม้ไม่มีห้องแอร์หรือห้องที่ปิดสนิท แต่ก็สูดอากาศบริสุทธิ์ตอนนอนได้

ผศ.ดร.ว่าน วิริยา หนึ่งในคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอก ควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เล่าให้ฟังว่า กลุ่มผู้คนที่ได้นำมุ้งสู้ฝุ่นไปต่อยอด,ใช้งานด้วยมากที่สุด คือ ผู้ป่วยติดเตียงที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ซึ่งเขาได้นำไปใช้งานได้จริงที่บ้าน รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยทางเดินหายใจ หอบหืดที่จำเป็นจะต้องใช้มากที่สุด

โดยคณะฯ ได้ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลสวนดอก (โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่) ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงมีหน่วยงานอื่น ๆ ไปต่อยอด เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.) และกรมสาธารณสุข ก็นำไปต่อยอด ทั้งอบรม และทำเพื่อไปแจกจ่ายชาวบ้านที่จำเป็นด้วย

นอกจากนี้ อาจารย์ว่าน วิริยา ได้เล่าถึงเคสหนึ่งที่นำมุ้งสู้ฝุ่นไปปรับใช้ได้อย่างเห็นผลว่า 

“เคสที่เราประทับใจคือ มีเด็กน้อยจากพื้นที่สูงที่มารักษาที่โรงพยาบาลสวนดอกเป็นประจำด้วยโรคระบบทางเดินหายใจหอบหืดแบบเรื้อรัง หลายครั้งรักษาก็หาย แต่พอกลับบ้านก็เป็นต่อ ซ้ำ ๆ แบบนี้ หมอก็ไม่รู้จะรักษายังไง เพราะอาจเป็นเพราะสภาพแวดล้อมบ้านเขาไม่เอื้อด้วย 

หมอจากคณะแพทยศาสตร์ ก็ประสานมาขอมุ้งนี้เราไป เพื่อให้เขาลองไปกางที่บ้าน เพราะก็ไม่รู้จะแก้ไขยังไงแล้ว จนสุดท้าย หมอก็มาอัพเดทว่า น้องดีขึ้นและไม่ได้มารักษาที่โรงพยาบาลแล้ว” 

ความสำเร็จใหญ่คือการส่งต่อให้คนนำไปทำด้วยตัวเองได้

ด้วยความที่ตัวมุ้งสู้ฝุ่นนี้ตั้งใจให้เป็นฉบับ DIY (DO IT YOURSELF) หรือที่แปลตรงตัวว่าทำด้วยตัวเองได้นั้น เป้าหมายจึงไม่ใช่เพียงการแจกจ่ายให้ครบ แต่หมายถึงการที่คนอื่น ๆ เข้าใจและไปปรับใช้กับบ้านของตัวเองได้ อาจไม่ใช่เพียงแค่สำหรับผู้ป่วยติดเตียง แต่ยังมีทั้งเด็กเล็ก หรือสัตว์เลี้ยงที่ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง และเซนซิทีฟต่อมลพิษฝุ่นเช่นกัน

“ความสำเร็จอย่างหนึ่งคือชาวบ้านเขาเข้าใจ เอาไปทำต่อได้”

มุ้งสู้ฝุ่น นี้มีกระบวนการทำงานคล้ายกับห้องปลอดฝุ่น คือ กักอากาศดีไว้ด้านใน-ป้องกันฝุ่นข้างนอกไม่ให้เข้ามา’ 

โดยตั้งเครื่องฟอกด้านนอกแล้วปิดรอบ ๆ มุ้งให้มิดชิด เครื่องฟอกนี้จะทำการกรองอากาศใส่เข้าไปในมุ้งผ้าฝ้าย ทำให้อากาศในนั้นบริสุทธิ์ลดฝุ่นไปได้ 70-80% 

หลักการสำคัญ: 

1. ใช้มุ้งผ้าฝ้ายเท่านั้น เพราะมีตาถี่กว่ามุ้งไนลอน  

2. ใช้เครื่องกรองอากาศเพื่อส่งอากาศที่กรองแล้วเข้ามุ้ง

3.ส่งอากาศเข้ามุ้งอย่างเหมาะสม โดยพยายามใช้ผ้าคลุมบริเวณทางออกของลมบริสุทธิ์

สำหรับค่าใช้จ่ายสำหรับการทำมุ้งนี้อยู่ที่ไม่เกินหนึ่งพันบาท ที่สำคัญคือสามารถประกอบใช้งานเองได้และคนในชุมชนยังเข้าถึงง่ายด้วย

ท่ามกลางสถานการณ์ที่ฝุ่นควันยังคงรุนแรงเรื่อย ๆ ทุกปี การป้องกันปัญหาด้านสุขภาพของผู้คนยังคงเป็นเรื่องจำเป็นและเร่งด่วนเพื่อลดผลกระทบให้ได้มากที่สุด ความร่วมมือของภาคส่วนอื่น ๆ ก็เป็นอีกแรงสำคัญที่จะมาช่วยกันสนับสนุน ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว นอกจากการสนับสนุนอุปกรณ์ การส่งต่อความรู้ความเข้าใจเพื่อให้คนในชุมชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตนเองและคนรอบตัวได้ก็จะทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนได้มากขึ้น

สำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาวก็ยังคงเป็นเรื่องที่อาศัยการผลักดันจากทุกคนและทุกภาคส่วน อาจารย์ว่านเอง ยังเชื่อว่าอากาศสะอาดจะสามารถเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย อาจารย์กล่าวว่า ในปีนี้มีสถิติฝุ่นควันจะยังมีอยู่เรื่อย ๆ แต่เมื่อเทียบกับในปีก่อนถือว่ามีจุดความร้อนน้อยลง และการรับ ‘ร่างพรบ.อากาศสะอาด’ เข้าสภาของรัฐบาลก็เป็นสัญญาณในการเริ่มต้นปีที่ดี แต่ก็เป็นสิ่งที่เราทุกคนจะต้องจับตาดูและติดตามกันต่อไป เพื่อให้เกิดการแก้ไขจริงจังขึ้นในเร็ววัน 

Credit

Chayanit S.

เป็นคนกรุงเทพฯ ชอบเดินเที่ยวเมือง ฟังเพลงซ้ำ ๆ นั่งโง่ ๆ ดูคนคนใช้ชีวิต :-)