Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

ปลูกต้นไม้ช่วยโลก? เพราะแค่ความตั้งใจดีอาจไม่เพียงพอ - EnvironmanEnvironman

ปลูกต้นไม้ช่วยโลก? เพราะแค่ความตั้งใจดีอาจไม่เพียงพอ

ปลูกต้นไม้ไม่ได้ช่วยโลกเสมอไป แม้จะมีตั้งใจดี แต่อาจสร้างผลเสียกับป่า

เมื่อโครงการ ‘ปลูกป่า’ ไม่ได้ช่วยโลกเสมอไป และไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาสภาพอากาศ ความตั้งใจปลูกป่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องทำอย่างระมัดระวังและที่สำคัญต้องมีการดูแลพร้อมกับติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่การปลูกทิ้งปลูกขว้าง นั่นคือเหตุผลที่ทำให้เราต้องพูดถึงประเด็นนี้อย่างยาวเหยียด

ต้นไม้เป็นสัญลักษณ์ของความหวัง ชีวิต และความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ป่ากลายเป็นเหมือนแนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างตรงไปตรงมา ราคาไม่แพง ทำง่าย และช่วยดูดซับคาร์บอนส่วนเกินที่มนุษย์ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ สร้างภาวะโลกร้อนที่เป็นวิกฤตในขณะนี้

ต้นไม้จะช่วยดึงคาร์บอนไดออกไซด์จากอากศเข้าไปใช้ในการสังเคราะห์แสง แล้วสร้างเป็นอาหารออกมา ป่าที่แข็งแรงจะสามารถดูดซับคาร์บอนได้อย่างมหาศาลและดินที่อยู่ใต้ต้นไม้ก็ช่วยกักเก็บคาร์บอนได้จำนวนมาก จึงไม่แปลกที่จะติดอย่างตรงไปตรงมาได้ว่า ปลูกป่า = ช่วยลดคาร์บอน 

กระแสดังกล่าวแพร่หลายไปทั่วทั้งในภาครัฐ หน่วยงาน องค์กรเอกชน บริษัทห้างร้านต่าง ๆ และบุคคลทั่วไป ทำให้เกิดโครงการปลูกป่าจำนวนมากที่ใช้เงินหลายล้านบาททุ่มเทลงไปบนพื้นดินที่อ้างว้าง โดยเชื่อกันว่าการปลูกต้นกล้าไม้ขนาดใหญ่ลงจะช่วยทั้งลดก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพได้

“(ต้นไม้)มีประโยชน์มากมายต่อผู้คน พวกเขาไม่เพียงแต่ช่วยกักเก็บคาร์บอนเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างอากาศที่สะอาด ป้องกันการพังทลายของดิน ให้ร่มเงากับเป็นที่พักอาศัย และทำให้ผู้คนมีความเป็นอยู่ที่ดี” Joe Fargione นักนิเวศวิทยาจาก The Nature Conservancy กล่าว 

ใคร ๆ ต่างก็อยากจะปลูกต้นไม้ จนกลายเป็นกระแสขึ้นมาทั่วโลกไม่ใช่แค่เพียงในประเทศไทยเท่านั้น แต่ต่างประเทศก็อยากจะปลูกต้นไม้นับล้าน ๆ ต้นเพื่อชดเชยสิ่งที่เสียไป ทว่าเรื่องมันซับซ้อนกว่าที่คิด และที่น่าเศร้า หลายโครงการสร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศมากกว่าสร้างประโยชน์

ต้นตอของปัญหา

อย่างที่เราทราบกันดี ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนั้นมีสาเหตุหลักมาจาก ‘ก๊าซเรือนกระจก’ ดังนั้นวิธีแก้ก็คือ ลดมันและดูดมันออกจากชั้นบรรยากาศโลก ที่สำคัญไปกว่านั้น เราทุกคนก็รู้ดีว่า มหาสมุทรและป่าไม้เป็นสิ่งที่ดูดซับก๊าซเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี 

แต่นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญหลายคนเรียกร้องให้ระมัดระวังสิ่งที่จะลงมือทำให้ดี ไม่ควรเห็นแก่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองเป็นที่ตั้งในการปลูกต้นไม้ แต่ควรคำนึงถึงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เป็นปัจจัยแรก 

หลายโครงการที่ออกแบบมาไม่ดี ไม่แก้ปัญหาพื้นที่ป่าเลย แต่กลับสร้างผลเสีย อีกทั้งยังสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เรื่อง ตัวอย่างเช่น การปลูกป่าโดยไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเข้าถึงของแหล่งน้ำ ที่ดินหลายที่นั้นตั้งอยู่บริเวณที่มีสภาพอากาศและระบบนิเวศที่เปราะบาง ซึ่งหมายถึงปริมาณน้ำที่มีจำกัด

และเรารู้ว่าต้นไม้นั้นต้องการน้ำ หากมีการปลูกป่าที่เป็นต้นไม้ใหญ่ลงไปจะทำให้เกิดการแข่งขันเพื่อแย่งชิงน้ำกันสูงขึ้น (โดยเฉพาะในอากาศร้อนจัดอย่างในทุกวันนี้ ความต้องการน้ำก็ยิ่งรุนแรง) ท้ายที่สุดแล้ว ระบบนิเวศไม่สามารถรองรับชีวิตไว้ได้ต่อไป พืชพรรณและสัตว์ในพื้นที่ดังกล่าวก็มีแนวโน้มที่จะลดลง

“สำหรับผม ปีศาจนั้นอยู่ในรายละเอียด” Joseph Veldman นักนิเวศวิทยาจาก Texas A&M University พูดถึงโครงการปลูกป่า และรายละเอียดนั้นคือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่ได้รับความสนใจ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาได้ทุกประเภท

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโครงการที่เรียกได้ว่า ‘เป็นการทำเอาหน้า’ ที่ไม่ได้คำนึงถึงข้อเท็จจริง

“ผมได้รับรู้ว่าระบบราชการทำงานกันอย่างไร” Forrest Fleischman ผู้ค้นคว้านโยบายป่าไม้และสิ่งแวดล้อมที่มหาวิทยาลัยมินนิโซตา กล่าว เวลาที่ผู้กำหนดนโยบายพูดว่าจะปลูกป่า “ซึ่งหมายถึงการปลูกต้นไม้เป็นแถว นั่นคือสิ่งที่พวกเขารู้”

โครงการปลูกป่าของ Lynnsport ในประเทศอังกฤษ ที่มีต้นไม้ตายไปกว่า 90% ในเวลาไม่ถึง 1 ปี

ต้นไม้ที่กระหายน้ำ

หากจะยกตัวอย่างโครงการที่เรียกได้ว่า น่าเศร้า คงหนีไม่พ้นโครงการหนึ่งของประเทศจีนซึ่งรัฐบาลได้ส่งเสริมการปลูกต้นไม้มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1970 จนถึงปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายว่าจะพื้นที่ป่าให้ครอบคลุม 23% ภายในปี 2020, เพิ่มเป็น 26% ในปี 2035 และเพิ่มเป็น 42% ภายในปี 2050 

ขณะเดียวกันบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่อย่าง อาลีบาบา เองก็ตั้งเป้าลงทุนกว่า 980 ล้านบาทในโครงการปลูกตันไม้ของตัวเอง สิ่งเหล่านี้ทำให้พื้นที่ป่าทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้นมากกว่า 17 ล้านเฮกตาร์ (106 ล้านไร่) ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา 

แต่ขณะที่ป่ากำลังโตขึ้น ความน่าประทับของสีเขียวก็ถูกกัดกร่อนโดยระบบนิเวศที่เสื่อมถอยลง ในงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร Global Change Biology เมื่อปี 2019 ซึ่งได้ทำการศึกษาโครงการปลูกป่าเหล่านั้น ได้ชี้ให้เห็นว่า พื้นที่ดังกล่าวถูกบุกรุกโดยพืชที่ชื่อว่า ‘Black locust’ อย่างรวดเร็ว

Black locust นั้นเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์สายพันธุ์รุกรานแต่กลับเข้าไปอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของการปลูกป่า แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้น พวกมันมีความกระหายน้ำมากกว่าพืชชนิดอื่นตามธรรมชาติอย่างมาก ในพื้นที่ทีมีปริมาณน้ำฝน 700 มม.ต่อปี Black locust จะเป็นผู้ดูดน้ำไปแล้ว 92% ขณะที่เหลือเพียง 8% ถูกผันไปเข้าระบบให้มนุษย์ใช้

ดังนั้นระบบนิเวศโดยรอบจะไม่มีน้ำเพียงพอให้ลงไปใต้ดิน ลงสู่แม่น้ำ หรือทะเลสาบ ต้นไม้ขาดแคลนน้ำ แม่น้ำที่หล่อเลี้ยงผู้คนตามริมแม่น้ำที่อยู่ใต้ลงไปก็ไม่มีน้ำใช้ ท้ายที่สุดแล้วมีแค่ Black locust ที่ได้ประโยชน์ 

“การค้นพบของเราสนับสนุนหลักฐานที่เพิ่มขึ้นซึ่งบ่งชี้ว่า การปลูกป่านั้นส่งผลให้มีการปล่อยน้ำจากแม่น้ำ และความพร้อมของน้ำจืดในภาคเหนือของจีนลดลงอย่างมาก” Lulu Zhang นักวิจัยอาวุโส ผู้เขียนร่วมของงานวิจัย กล่าว “การปลูกป่าทำให้น้ำในดินลดลง ลดการไหลบ่าของพื้นผิว(ลดการไหลของแม่น้ำที่พื้นผิว) ส่งผลให้เกิดการขาดน้ำอย่างรุนแรง” 

ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำถึง 108 ล้านคน และอีกกว่า 400 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณท้ายแม่น้ำเหลือง

หรือจะเป็นโครงการของตุรเคีย (ชื่อใหม่ของประเทศตุรกี) ที่ได้สร้างโครงการปลูกป่าเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนปี 2019 โดยอาสาสมัครทั่วประเทศได้ปลูกต้นไม้ไปกว่า 11 ล้านต้นในพื้นที่มากกว่า 2,000 แห่ง อย่างไรก็ตาม แค่ภายในเวลา 3 เดือนต่อมา ต้นอ่อนใหม่เหล่านั้นเกิน 90% ถูกระบุว่าตายแล้ว เนื่องจากมีน้ำไม่เพียงพอ และปลูกผิดเวลาของปี 

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ความพยายามครั้งใหญ่จะต้องล้มเหลวเหมือนกัน “เป็นเรื่องง่ายที่จะชี้ให้เห็นถึงตัวอย่างของความพยายามในการปลูกป่าขนาดใหญ่ที่ไม่ได้ใช้พันธุ์ไม้ที่เหมาะสม หรือคนที่ได้รับการฝึกอบรบมาอย่างดีพอ หรือมีการลงทุนในการดูแลหลังปลูก” Fargione กล่าว 

“เราจำเป็นต้องเรียนรู้จากความพยายามเหล่านั้น” 

 เคนยากำหนดให้วันที่ 13 พฤศจิกายน เป็นวันปลูกต้นไม้แห่งชาติ

พูดเพื่อต้นไม้

การปลูกป่าและความตั้งใจที่จะเพิ่มจำนวนต้นไม้เป็นสิ่งที่ดี สิ่งมีชีวิตสีเขียวเหล่านี้ช่วยหยุดยั้งการพังทลายของหน้าดิน เพิ่มคุณค่าอินทรียวัตถุและสารอาหารในดิน รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน 

แต่ตัวอย่างโครงการที่ล้มเหลวซึ่งได้ยกตัวอย่างมานั้น ควรเป็นป้ายเตือนสำหรับโครงการอื่น ๆ ที่ต้องการจะปลูกป่าเช่นเดียวกัน ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ที่ต้องการฟื้นฟูที่ดิน ปัญหาภัยแล้ง และสภาพอากาศ เพื่อให้ป่าที่เราทุกคนตั้งใจปลูกมีความหวังที่จะประสบความสำเร็จมากที่สุด

ย้ำอีกครั้ง ความตั้งใจในการปลูกป่าเป็นเรื่องที่ดี แต่มีข้อที่เราต้องระลึกไว้เสมอ โครงการฟื้นฟูที่ตามมาจำเป็นจะต้องรู้ว่าช่วงเวลาไหนดีที่สุดในการปลูกเมล็ดพันธุ์ ปลูกตงไหนและเท่าไหร่ ใครจะเป็นผู้ดูแลต้นอ่อนขณะที่พวกมันกำลังเติบโต รวมถึงรู้วิธีการเฝ้าติดตามและบันทึกข้อมูลระบบนิเวศ เพื่อสร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้หากต้องการโครงการที่ประสบความสำเร็จ

“นั่นคือจุดที่เราทุกคนต้องการ… ตั้งแต่แรก” Forester Lalisa Duguma จาก World Agroforestry ในเมืองไนโรบี ประเทศเคนยา กล่าว

และสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การปลูกป่าใหม่คือ ปกป้องป่าที่มีอยู่แล้วให้คงอยู่อย่างแข็งแรงต่อไป 

ป่าไม่ใช่แค่สถานที่มีต้นไม้ พืชพรรณ และสัตว์อาศัยอยู่ แต่เป็นสถานที่ที่มีความซับซ้อนและอ่อนไหวอย่างยิ่ง ซึ่งต้องการความเข้าใจ การเอาใจใส่ และการดูแลด้วยความรักตามมา ความตั้งใจปลูกป่าเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ แต่จะดียิ่งขึ้นหากเราทำด้วยความเข้าใจ

ที่มา

https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1111/gcb.14875

https://www.wri.org/research/carbonshot-federal-policy-options-carbon-removal-united-states

https://www.worldagroforestry.org/publication/tree-planting-tree-growing-rethinking-ecosystem-restoration-through-trees

https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/ffgc.2021.629198/full

https://www.researchsquare.com/article/rs-289460/v1

https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1877343521000178?via%3Dihub

https://www.sciencenews.org/article/planting-trees-climate-change-carbon-capture-deforestation

https://theconversation.com/planting-trees-must-be-done-with-care-it-can-create-more-problems-than-it-addresses-128259

https://www.nature.com/articles/s41467-024-46577-1

https://phys.org/news/2024-03-trees-wrong-planet.html

https://e360.yale.edu/features/phantom-forests-tree-planting-climate-change

Credit