Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

เมื่อหมาป่าหายไปจาก Yellow Stone (เยลโลว์สโตน)

จำนวนหมาป่าผู้อยู่บนจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารได้ลดลง ซึ่งเหตุการณ์หมาป่าถูกล่าอย่างหนักเคยเกิดขึ้นแล้ว

“หมาป่า 216 ถูกล่าหลังทรัมป์ถอดการคุ้มครอง ซึ่งเกินโควต้าไปมากกว่า 82%” นั่นทำให้จำนวนหมาป่าผู้อยู่บนจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารได้ลดลง ซึ่งเหตุการณ์หมาป่าถูกล่าอย่างหนักเคยเกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่แค่จำนวนลดลงแต่หมาป่าได้หายไปจากพื้นที่นั้นเลยไม่เหลือสักตัวเดียว

เราจะพาทุกท่านกลับไปสู่เหตุการณ์เมื่อปี 1924 เหตุการณ์ที่หมาป่าได้หายไปจากอุทยานแห่งชาติเยลโล่วสโตน (Yellowstone National Park) ประเทศสหรัฐอเมริกา

เมื่อหมาป่าหายไปจากเยลโลว์สโตนและผลกระทบที่ตามมาใหญ่หลวงยิ่งนัก

หมาป่าที่สูญหาย

ปี 1924 หมาป่าสองตัวสุดท้ายของอุทยานแห่งชาติเยลโล่วสโตนถูกฆ่าลง ทำให้พวกมันได้สูญสิ้นไปจากพื้นที่แห่งนี้ที่มีขนาดใหญ่เท่ากับภาคอีสานของประเทศไทย เนื่องจากชาวอเมริกันในขณะนั้นมองว่าหมาป่าคือสัตว์ดุร้ายที่คอยโจมตีทั้งมนุษย์ และสัตวเลี้ยงอื่น ๆ ผู้คนได้ออกมาล่าหมาป่าและทางภาครัฐก็สนับสนุน จนหมาป่าตัวสุดท้ายได้หายไปจากเยลโล่วสโตน ผู้คนมากมายมองว่าเป็นเรื่องน่ายินดี เพราะสัตว์นักล่าที่กินสัตว์ตัวอื่นได้หายไปแล้ว

ผลกระทบอันใหญ่หลวง

หลายปีผ่านไป นักธรรมชาติวิทยา และนักวิทยาศาสตร์ต่างสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ ก่อนหน้านี้พวกเขาได้ยินถึงเสียงนกร้องของหลากหลายสายพันธุ์ เสียงสัตว์นานาชนิดในป่า แต่ในตอนนั้นมันกลับเหลือแต่เพียงความเงียบงัน และเสียงนกไม่กี่ชนิด จากป่าที่มีต้นไม้ใหญ่อย่างหนาแน่นกลับเบาบางลง และที่เห็นได้ชัดเจนคือ แม่น้ำที่เคยไหลตรงก็กลับไหลคดเคี้ยวมากขึ้น

นักวิทยาศาสตร์ได้ลงสำรวจ พวกเขาพบความสัมพันธุ์คร่าว ๆ เมื่อหมาป่าหมดไป อาหารของหมาป่าก็คือกวางเอลก์ก็เพิ่มอย่างรวดเร็ว พวกมันกินต้นพืชต้นอ่อนต่างๆ ที่จะเติบโตมาเป็นต้นไม้ใหญ่ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนกที่ทำรังบนต้นไม้ เมื่อไม่มีที่สร้างรัง นกจึงลดจำนวนลง

นอกจากต้นไม้ต้นอ่อนแล้ว กวางเอลก์ยังกินต้นหลิว (Willow) ที่อยู่ริมแม่น้ำด้วย ซึ่งรากของต้นหลิวนี้จะคอยช่วยพยุงดินริมแม่น้ำไม่ให้ถูกกัดเซาะง่าย เมื่อไม่มีต้นหลิว แม่น้ำจึงคดเคี้ยวมากขึ้น อีกทั้งจำนวนต้นหลิวที่ลดลงทำให้บีเวอร์ผู้สร้างเขื่อนอันดับ 1 ที่เรารู้จัก ไม่สามารถสร้างเขื่อนได้เพราะไม่มีไม้

เมื่อไม่มีเขื่อนของบีเวอร์ จึงไม่มีพื้นที่ชุ่มน้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ไปด้วย งู กบ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำต่างๆ และนกขนาดใหญ่ที่ล่าสัตว์เหล่านี้ก็ยังลดจำนวนลงไปเพราะไม่มีอาหารให้กิน

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น กระต่าย หนู พังพอนก็ยังลดจำนวนลงด้วยเพราะหมาป่าโคโยตี้( หมาป่าขนาดเล็กคล้ายๆ จิ้งจอก) นั้นเพิ่มขึ้นเพราะไม่มีหมาป่าไปล่ามัน ระบบนิเวศซับซ้อนเหล่านี้ต่างเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันทั้งทางตรงและทางอ้อม

ด้วยการหายไปของหมาป่าผู้อยู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารนี้เพียงชนิดเดียวกลับทำให้ทุกส่วนในระบบนิเวศพังทลาย

หมาป่าคืนสู่รัง

ปี 1991 เหล่านักธรรมชาติวิทยา นักวิทยศาสตร์ และนักวิจัย ได้ร่วมกันยื่นหนังสือต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของอุทยานแห่งชาติเยลโล่วสโตน โดยเสนอว่าหมาป่าคือ Keystone Species ที่จะนำความหลากหลายกลับมา

นปี 1995 หลังจากที่รัฐบาลได้อนุมัติแผนการนี้ เหล่านักวิจัยจากอเมริการ่วมมือกับภาครัฐของแคนาดา ได้จับหมาป่าจำนวน 31 ตัวจากตอนเหนือประเทศแคนาดากลับเข้าสู่เยลโล่วสโตน เพียงไม่กี่ปี ความอุดมสมบูรณ์เริ่มกลับมา เกิดผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่กระทบกันเป็นลูกโซ่ต่อกันไป 

เมื่อหมาป่าทั้ง 31 ตัวจากแคนาดาเข้าสู่เยลโล่วสโตน การกลับมาของมันทำให้กวางเอลก์ต่างหลีกเลี่ยงพื้นที่หลาย ๆ จุดที่เป็นอันตราย และถูกจำกัดจำนวน ทำให้จำนวนต้นไม้ได้กลับมามีโอากาสเติบโต ในพื้นที่ต่าง ๆ ที่กวางเอลก์ได้หลีกเลี่ยง แม่น้ำที่เคยคดเคี้ยวก็กลับมาไหลตรงเป็นช่วง ๆ นกกลับมาร้องเพลงอย่างหลากหลาย มีเขื่อนของบีเวอร์ ความหลากหลายก็เพิ่มขึ้น สิ่งเหล่าเกิดขึ้นเพียงจากทั้งการหายไปและกลับมาของหมาป่าผู้เป็น Keystone Species

Keystone Species

ถ้าหากการค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์คือสุดยอดการค้นพบที่พลิกวงการฟิสิกส์แล้วล่ะก็ การค้นพบว่าหมาป่า 31 ตัวได้คืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับอุทยานเยลโล่วสโตน ก็เป็นเหมือนทฤษฎีสัมพันธภาพของวงการชีววิทยา เพราะมันพลิกความเชื่อทั้งหมดที่เคยเชื่อกันเกี่ยวกับระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหาร ซึ่งผู้ให้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศคือ โรเบิร์ต เพน ผู้ให้กำเนิดทฤษฎี Keystone Species

โรเบิร์ต เพน (Robert Paine) ในปี 1963 ได้เริ่มต้นการทดลองสุดคลาสสิกที่จะกลายเป็นมาตราฐานของการศึกษาระบบนิเวศวิทยา นั่นคือการทดลอง “Kick it and see ecology” เขาเริ่มต้นการทดลองโดยเลือกสถานที่ค่อนข้างเป็นระบบปิด มีขอบเขตชัดเจน แล้วศึกษาถึงลำดับห่วงโซ่อาหารว่าตัวไหนกินตัวไหน

พื้นที่ที่เขาเลือกมีดาวทะเลอยู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร ดาวทะเลนั้นกินสัตว์อื่น ๆ ทากทะเล เพรียงทะเล หรือหอยทะเล แต่ไม่มีตัวไหนมากินมัน

เขาก็เริ่มการทดลองง่ายๆ โดยการจับดาวทะเลออกจากพื้นที่อย่างสม่ำเสมอเดือนละ 1 ครั้ง เวลาเพียงแค่ 1 ปี เพนก็เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง จากตอนแรกที่มีสัตว์จำนวน 15 ชนิด ก็เหลือเพียงแค่ 8 ความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์หายได้ไป แต่เพนก็ยังทดลองต่อไปอีกประมาณ 5 ปี เพื่อความแน่ใจจนพื้นที่นั้นเหลือเพียงสิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียว

การทดลองของเขากลายเป็นทฤษฎีที่รู้จักกันในนาม Keystone Species ที่หมายความว่าสิ่งมีชีวิตสปีชีส์หนึ่งเป็นกุญแจคอยค้ำจุนความอดุมสมบูรณ์ทั้งระบบเหมือนกับหินก้อนเล็กที่คอยค้ำจุนทั้งโครงสร้างของสิ่งก่อนสร้างในวงการสถาปัตยกรรม

ระบบนิเวศที่เปราะบาง

ถึงแม้นักวิจัยหลาย ๆ ท่านอาจแย้งว่าหมาป่าไม่ใช่เหตุผล แต่เราก็ไม่สามารถปฎิเสธได้ว่า ระบบนิเวศนั้นช่างซับซ้อน และเปราะบาง การรบกวนแม้เพียงน้อยก็สามารถส่งผลกระทบกลายเป็นคลื่นลูกใหญ่ที่สามารถพังตึกให้ทลายได้

โลกใบนี้ก็เช่นกัน ทั้งหมดเกี่ยวพันกันอย่างที่แม้จะใช้เวลาทั้งชีวิตก็ไม่อาจจะเข้าใจได้ทุกปัจจัย เราเห็นผลกระทบเล็ก ๆ มากมายง่าย ๆ เช่นเมื่อแม่นกตาย ลูกนกที่อยู่บนรังก็ตายตาม โลกใบนี้คือแม่นกและเราคือลูกนก “ธรรมชาติอยู่ได้อย่างสบายถึงแม้จะไม่มีมนุษย์ แต่มนุษย์ต่างหากที่จะอยู่ไม่ได้หากขาดธรรมชาติ”

Credit