Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

เบื้องหลังการจัดพื้นที่คทช. ให้ชาวบ้านทำเกษตรและฟื้นฟูป่าที่เคยทรุดโทรม

พื้นที่ คทช. จัดสรรเพื่อให้ชาวบ้านทำการเกษตรได้ แต่ต้องฟื้นฟูป่าคืน เพื่อให้ ‘คนก็ไม่ตาย ต้นไม้ก็โต’ เลยต้องมีหน่วยงานเข้ามาช่วย

การ ‘อนุรักษ์ป่า’ ในความคิดคุณเป็นอย่างไร ?

ใช่การแบ่งส่วนคนก็อยู่ส่วนคน ป่าก็อยู่ส่วนป่าหรือเปล่า

ถ้าอ้างอิงตามสิ่งที่พวกเราเคยได้เรียนกันมาตั้งแต่ประถมจนถึงมัธยม 12 ปีกับการปลูกฝังที่บอกว่า การเข้าไปยุ่งกับป่าคือการทำลายป่า การใช้ประโยชน์จากผืนป่าไม่ว่าทางใด 

มันคือการทำลายป่า ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายระบบนิเวศ และทำลายธรรมชาติ

ทว่า สิ่งที่หลักสูตรการเรียนการสอนไม่เคยบอกเราคือ ‘มนุษย์ยังเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ’ ถึงแม้ว่าพวกเราส่วนมากรวมถึงผู้เขียนเองจะใช้ชีวิตแบบคนเมือง และเข้าป่าเป็นบางครั้งคราวเพื่อพักผ่อน แต่ก็ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังคงใช้ชีวิตร่วมกับป่า มีป่าเป็นบ้านและที่ทำกิน เป็นคนกลุ่มเดียวกันกับที่ในตำราเรียนแปะป้ายไว้ว่าพวกเขาเป็น ‘คนทำลายป่า’ 

ปัญหาความไม่เข้าใจนี้ ลามไปยังเรื่องของการออกกฎหมาย จึงส่งผลให้เกิดเป็นประเด็นความขัดแย้งระหว่างรัฐและชาวบ้านในหลายพื้นที่ บางแห่งก็ยังเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกอย่างที่เราเห็นข่าวกันอยู่เป็นพักๆ แต่บางแห่งก็ได้แก้ปัญหานี้ไปแล้ว ด้วย ‘โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล’ (คทช.) ที่เป็นภารกิจของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ในการจัดสรรให้กับประชาชนเพื่อทำการเกษตร และปลูกไม้ป่าตามนโยบายรัฐด้วย

อย่างเช่นในอำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน ที่นี่เคยถูกขนานนามว่าเป็นภูเขาหัวโล้น เป็นพื้นที่ป่าสงวนและป่าต้นน้ำ แต่ด้วยโครงการคทช. พื้นที่เหล่านี้ถูกจัดสรรให้เป็นที่ทำกิน ให้ชาวบ้านเข้ามาทำการเกษตรได้ พร้อมกับการปลูกป่าคืนเขาและดูแลไม้ยืนต้น โดยมีเป้าหมายในการฟื้นฟูป่าในบริเวณนั้นด้วย ตามเงื่อนไขให้เกษตรกรดูแลพื้นที่ที่ตัวเองครอบครองด้วยการปลูกไม้ป่าให้ได้ร้อยละ 50 ของพื้นที่ ซึ่งชาวบ้านสามารถเลือกชนิดพันธุ์ไม้พื้นถิ่นที่เหมาะแก่การใช้งานของตัวเองได้  เช่น พะยูง สมอไทย กันเกรา ประดู่ แล้วแต่ผลผลิตที่เจ้าของที่ต้องการ กล่าวคือโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งกับคนที่ต้องการที่ดินทำกิน และการรักษาทรัพยากรป่าที่เคยทรุดโทรมไป ให้กลับมาสวยงามอย่างเดิม

แต่ถึงแม้ว่าปัญหาความเข้าใจระหว่างคนและป่าในจังหวัดน่าน จะได้รับการแก้ไขแล้ว ทว่าเงื่อนไขที่รัฐกำหนดไว้อย่างการปลูกไม้ป่า-ไม้ยืนต้น กลับกลายเป็นปัญหาใหม่ของผู้ที่เข้ามาใช้พื้นที่ทำกินนี้ จากต้นทุนในการซื้อกล้าไม้หลักร้อยต้น รวมไปถึงค่าดูแลต้นไม้เหล่านั้นด้วย แม้ว่าชาวบ้านจะเลือกปลูกต้นไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้ว แต่ยังไม่ได้ผลผลิตในทันที เพราะว่าต้องรอเวลาให้ต้นไม้เติบโตอีกเป็นปี

รีคอฟ (RECOFTC) องค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านวนศาสตร์ชุมชน จึงเข้ามาเติมเต็มในส่วนที่ขาดไป เป็นเหมือนกับจิกซอว์อีกตัวที่เชื่อมระหว่างรัฐและประชาชน ด้วยโครงการ Trees4All โดยการเปิดรับบริจาคเงินจากคนทั่วไปและรับสมัครชาวบ้านในพื้นที่คทช.มาเข้าร่วมโครงการนี้ และนำเงินบริจาคจากที่ได้มาสนับสนุนเกษตรกรในโครงการให้สามารถปลูกต้นไม้ได้ตามเงื่อนไขจากภาครัฐ ทั้งในแง่ของการจัดหากล้าไม้และสนับสนุนค่าดูแลต้นไม้ โดยที่ผู้ให้บริจาคจะสามารถติดตามดูการเจริญเติบโตของต้นไม้จากเงินบริจาคได้เป็นเวลา 3 ปี 

ถึงแม้ว่าเงินที่เกษตรกรได้รับจากโครงการ Trees4All ไปนั้น จะไม่เพียงพอต่อการดูแลต้นไม้ตลอด 3 ปี แต่ก็สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งได้ และอำนวยให้การปลูกป่าคืนเขาตามเงื่อนไขจากภาครัฐที่ชาวบ้านต้องปฏิบัติตาม ไม่ยากจนทำตามได้ลำบาก ทั้งยังมีการส่งเสริมให้ทำปศุสัตว์ในพื้นที่ เป็นการเพิ่มช่องทางรายได้ในระหว่างปีให้กับชาวบ้านด้วย

ในปัจจุบัน มีต้นไม้ที่ถูกปลูกภายใต้โครงการนี้มากถึง 12,532 ต้น โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการแล้ว 97 คนที่ช่วยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่เคยเสื่อมโทรมในจังหวัดน่านให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ด้วยการเปลี่ยนวิธีทำเกษตร จากที่เคยเป็นการเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดภาพ ‘ภูเขาหัวโล้น’ 

ในตอนนี้ได้มีการปรับให้เป็นการเกษตรผสมผสานมากขึ้น ทั้งไม้เศรษฐกิจหลายชนิด และพืชพื้นถิ่นตามนโยบาย ผลพลอยได้จากการปลูกพืชหลากหลายมากขึ้น ก็คือการที่ป่ากลับมาชอุ่มสมบูรณ์นั่นเอง

สรุปสุดท้ายหลักง่ายๆ ในการทำให้คนและป่าอยู่ร่วมกันได้ก็คือการที่ต่างฝ่ายต่างต้องได้ประโยชน์ แบบที่ ‘คนก็ไม่ตาย ต้นไม้ก็โต’ 

โดยมีภาครัฐเป็นแกนหลักในการวางกรอบนโยบายและสร้างแนวทางที่เป็นตรงกลางสำหรับทุกคน แม้ว่าในตอนนี้ น่าน จะเป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดการร่วมกันของรัฐและประชาชน แต่ยังคงมีจังหวัดอื่นๆ อย่าง ตาก หรือ ลำปาง ที่ชาวบ้านอาศัยอยู่ในป่า ก่อนรัฐจะเข้ามามีบทบาทในการจัดการพื้นที่ โดยการจัดการของรัฐยังไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เป็นมาของชาวบ้าน สร้างความรู้สึกไม่มั่นคงในการพักอาศัยในพื้นที่ของตัวเองเพราะขาดกรรมสิทธิ์ในการครอบครอง 

ปัญหาเหล่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งบานปลายได้ ส่วนนี้จึงเป็นเรื่องที่เรายังคงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป

แต่นอกจากนั้น ยังต้องอาศัยความเข้าใจขององค์กรต่างๆ และคนทั่วไปที่จะเข้ามาสนับสนุนให้กรอบภาพที่รัฐวาดไว้เป็นไปได้จริง ไปจนถึงการสร้างความเข้าใจในวิธีการที่จะสามารถทำให้คนและป่าสามารถเติบโตไปพร้อมกันได้ด้วย

ลิงก์โครงการ  https://trees4allthailand.org/

อ้างอิง

https://www.thaipbs.or.th/news/content/284779

Credit

22°C

Part-time Writer, Full-Time Lover สาวสระบุรี มีลูกเป็นต้นไม้ ไม่ชอบเมืองใหญ่ อยากไปสำรวจโลก