Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

ความตายที่เงียบงัน : ธรรมชาติกำลังสูญเสียเสียง และมันเป็นสัญญาณที่น่ากังวล - EnvironmanEnvironman

ความตายที่เงียบงัน : ธรรมชาติกำลังสูญเสียเสียง และมันเป็นสัญญาณที่น่ากังวล

ธรรมชาติเงียบเสียงลงมากขึ้นเมื่อเทียบกับหลายสิบปีก่อน มันแสดงให้เห็นว่าสิ่งต่าง ๆ กำลังสูญหายไป

‘ไม่มีเสียงนกร้อง ไม่มีเสียงน้ำตก ไม่มีเสียงเหยียบพื้นดิน และไม่มีเสียงกระพือปีก ธรรมชาติกำลังไร้เสียงมากขึ้น’ นี่เป็นคำเปรยจาก Bernie Krause นักบันทึกเสียงชาวอเมริกันที่คอยฟังเสียงกว่า 5,000 ชั่วโมงจาก 7 ทวีปในช่วง 55 ปีที่ผ่านมา และจากศาสตราจารย์ Bryan Pijanowski จากมหาวิทยาลัยเพอร์ดูวที่ใช้เวลากว่า 40 ปีเพื่อฟังเสียงของระบบนิเวศต่าง ๆ

พวกเขากล่าวว่าเสียงของธรรมชาติกำลังเงียบลงอย่างรวดเร็ว และจะกลายเป็น ‘ฟอสซิลทางเสียง’ ซึ่งหมายความเสียงต่าง ๆ จะเหลืออยู่แค่ในบันทึกเท่านั้น ไม่มีให้ฟังจริงอีกต่อไป เนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ มลพิษสิ่งแวดล้อม และปัญหาอีกจำนวนมากที่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ

เสียงเหล่านี้ต่างเป็นตัวชี้วัดสุขภาพและความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศทั้งป่า ดิน ภูเขา และมหาสมุทร สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนใครเหล่านี้ต่างสร้างเสียงที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง และนักวิทยาศาสตร์ก็วิเคราะห์เสียงนั้นเพื่อดูว่าในแต่ละสถานที่เป็นอย่างไรบ้าง

น่าเศร้าที่เสียงอันคุ้นเคยหลายอย่างลดน้อยลงเรื่อย ๆ เช่นเสียงนกร้องยามเช้าที่ใครหลายคนในเมืองไม่ได้ยินมันอีกต่อไปแล้ว และจะกลายเป็นสิ่งที่รุ่นลูกหลานของเราไม่เคยฟัง รวมถึงเสียงสัตว์ร้องและขณะที่มันเดินเหยียบหญ้า ความเงียบงันกำลังปกคลุมไปทั่วทุกที่ เหลือไว้แค่เสียงจอแจจากมนุษย์เท่านั้น

“การเปลี่ยนแปลงนั้นลึกซึ้งมาก และสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นทุกที่”

Bernie Krause บอก เขาประเมินว่ากว่า 70% ของเสียงที่เคยได้ยินเมื่อ 30 ปีที่แล้วไม่มีอยู่อีกต่อไป ราวกับว่าระบบนิเวศเผยให้เห็น ‘ความตายที่เงียบงัน’ ของมันเอง

แม้แต่ในใต้น้ำก็ไม่รอด

ในการศึกษาเมื่อปี 2021 ที่เผยแพร่ในวารสาร Nature ระบุว่าพื้นที่กว่า 200,000 แห่งทั่วยุโรปและอเมริกาเหนือเงียบลงอย่างน่าตกใจ ซึ่งทีมวิจัยเชื่อว่าเป็นเพราะ “การสูญเสียความหลากหลายทางเสียงและความเข้มข้นของภาพเสียง แพร่หลายไปทั่วทั้งสองทวีปในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากการเปลี่ยนแปลงของความอุดมสมบูรณ์ของสายพันธุ์”

พร้อมกับเสริมว่า “หนึ่งในวิถีทางพื้นฐานที่มนุษย์มีส่วนร่วมกับธรรมชาตินั้นกำลังเสื่อมถอยลงอย่างรุนแรง และอาจส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์” รวมถึงสถานที่ใต้มหาสมุทรด้วยเช่นกัน

ในช่วงสงครามเย็น กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้ใช้ระบบเฝ้าระวังใต้น้ำเพื่อติดตามเรือดำน้ำฝ่ายโซเวียต และพบว่าแนวปะการังนั้นสร้างเสียงได้น่าสนใจมากเมื่อคลื่นจากโซนาร์เข้ากระทบ นักวิทยาศาสตร์พลเรือนสามารถเข้าถืงข้อมูลลับนี้ได้เมื่อปี 1990 ซึ่งทำให้ประหลาดใจอย่างยิ่ง

“เมื่อใดก็ตามที่เราไปแนวปะการังที่สมบูรณ์แข็งแรง มันทำให้เราทึ่งมาก เสียงต่าง ๆ ที่เราได้ยิน” ศาสตราจารย์ Steve Simpson ผู้เฝ้าติดตามแนวปะการังโดยใช้ไฮโดรโฟน(ไมโครโฟนใต้น้ำ)มานานกว่า 20 ปี กล่าว “แนวปะการังที่แข็งแรงคืองานรื่นเริงแห่งเสียง”

ธรรมชาติส่งเสียงร้องออกมาอย่างสดใส จนกระทั่งในปี 2015-2016 ที่เกิดเหตุการณ์ฟอกขาวครั้งใหญ่ทำให้ประชากรปะการังเสียหายไปมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก และเมื่อศาสตราจารย์ Simpson กลับไปฟังเสียงพวกมันอีกครั้ง ก็เหลือแค่เพียงความเงียบงันราวกับว่า “แนวปะการังร้องไห้ใส่หน้ากาก(ดำน้ำ)ของเรา”

หากใต้น้ำยังเสียหายขนาดนี้ แล้วบนบกจะยิ่งแย่แค่ไหน? Hildegard Westerkamp นักนิเวศวิทยาด้านเสียงชาวแคนาดา ได้บันทึกเสียงมาเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ กล่าวว่าประชากรสัตว์ป่ามีจำนวนลดลงโดยเฉลี่ยเกือบ 70% ทั่วโลก

“เสียงและความเงียบเหล่านี้พูดกลับมาหาเราเหมือนกระจก” เธอกล่าว ในการเริ่มต้นโครงการ ‘World Soundscape’ ที่พยายามบันทึกเสียงในระบบนิเวศต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุดเมื่อปี 1973 ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องตระหนัก ว่าปัญหาเหล่านี้น่ากังวลมากแค่ไหน

ข้อมูลเสียงเหล่านั้นถูกนำมาใช้ควบคู่กับข้อมูลภาพเพื่อติดตามสัตว์ป่าต่าง ๆ และสนับสนุนแนวทางในการอนุรักษ์เพื่อรักษาความสมบูรณ์ของระบบนิเวศไว้ และเมื่อเวลาผ่านไป เทคโนโลยีด้านไมโครโฟนก็พัฒนาขึ้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถฟังเสียงที่ไม่ได้ยินด้วยหูมนุษย์ได้ ซึ่งระบุได้ว่าเป็นเสียงที่พืชพรรณสร้างขึ้นเมื่อพวกมันเกิดความเครียด แล้วความเครียดนั้นมาจากไหน?

ภัยคุกคามโหมกระหน่ำ

เมื่อปี 2017 ครอบครัวของ Bernie Krause ต้องประสบกับไฟป่าแคลิฟอร์เนียตอนเหนือครั้งใหญ่ เปลวเพลิงที่รุนแรงทำให้บ้านของเขาสูญหาย แต่ยิ่งกว่านั้นมันได้เผาพื้นที่ใกล้เคียงที่เป็นบ้านของสรรพชีวิตไปกว่า 80% ของสวนสาธารณะ

แม้ต้นเมเปิลใหญ่จะรอดมาได้ ซึ่งแลกมากับกิ่งก้านที่สูญเสียไปบางส่วน แม้สภาพภายนอกจะยังดูดีอยู่ แต่ทว่าภายในของมันนั้นราวกับทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส Breck Parkman นักโบราณคดีของสวนสาธารณะของรัฐเคยเชื่อว่าต้นไม้ต้นนี้จะอยู่ไปได้อีก 200-300 ปี แต่แล้วพวกเขาก็พบว่ามันจะไม่มีวันนั้น

“นกรู้ว่าต้นไม้นั้นยิ่งใหญ่ สำหรับพวกเขา(นก)แล้ว นี่คือต้นไม้แห่งชีวิต” เขากล่าว “มันเป็นความเศร้าประเภทหนึ่งซึ่งยากที่จะอธิบาย”

แม้หลายพื้นที่ไฟป่าจะเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล ไฟจะช่วยย่อยสลายใบ้ไม้และกิ่งไม้ที่ตายแล้วให้กลายเป็นสารอาหารหมุนเวียนกลับสิ่งแวดล้อม สิ่งสำคัญคือต้นไม้และสัตว์ต่างปรับตัวเข้ากับฤดูไฟป่าได้ พวกมันจึงรู้จักหลีกเลี่ยงเมื่อไฟมาตามฤดูกาล

แต่ในปัจจุบันที่การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศรุนแรงขึ้นพร้อมกับภาวะโลกร้อน ทำให้อากาศในหลายพื้นที่แห้งแล้งขึ้นซึ่งมีโอกาสเกิดไฟป่าง่ายขึ้น นี่ยังไม่รวมไฟที่จุดขึ้นโดยเจตนาของมนุษย์ ทำให้ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีไฟป่ารุนแรงขนาดใหญ่หลายครั้งซึ่งสร้างความเครียดให้กับสิ่งมีชีวิต และนักวิทยาศาสตร์ก็ตรวจจับความเปลี่ยนแปลงนั้นได้

“การได้ยินความเงียบของพืชและสัตว์พื้นเมืองเหล่านั้น เป็นเรื่องที่น่าเสียใจเพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นญาติของเรา” Desirae Harp นักการศึกษาที่สวนสาธารณะแคลิฟอร์เนีย กล่าว ความเงียบนั้นทำให้จิตใจแตกสลายได้ “ฉันรู้สึกเหมือนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อเราทำลายระบบนิเวศทั้งหมด แต่เรามักไม่เข้าใจถึงความหมายของสิ่งนั้นเสมอไป”

ความเปลี่ยนแปลง

หนึ่งในหนังสือด้านสิ่งแวดล้อมที่โดดเด่นที่สุดของศตวรรษที่ 20 นั่นคือ Silent Spring โดย Rachel Carson (ซีรีย์เรื่อง 3 Body Problem ก็อ้างอิงถึงหนังสือเล่มนี้เช่นกัน) ได้กล่าวเอาไว้ว่า หากผู้คนยังไม่หยุดทำลายธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยาฆ่าแมลง(ปัจจุบันถูกควบคุมเรียบร้อยแล้ว) จะทำให้จำนวนนกและสัตว์ป่าอื่น ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับความเงียบงันที่ปกคลุมโลกธรรมชาติ

เมื่อดูเนื้อหาของหนังสือคร่าว ๆ แล้ว ดูเหมือนว่าสิ่งนี้ก็กำลังเกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง “เรากำลังดู(หนังสือ)เรื่องนี้ในช่วงชีวิตของเราเอง ซึ่งมันน่าตกใจ” Bernie Krause กล่าว

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ กำลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเสียงตามธรรมชาติโลก สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับเฉพาะสัตว์หรือต้นไม้เท่านั้น แต่รวมถึงน้ำด้วย เมื่อก่อนผู้คนลงเล่นน้ำตามแม่น้ำลำธาร ไปตกปลา ไปเดินเล่น และไปพักผ่อนกันเป็นประจำ แต่ปัจจุบันหลายแห่งน้ำลด สูญหาย และสกปรก

เสียงน้ำไหลที่เคยกังวลกลับลดน้อยลง เสียงน้ำตกที่สดชื่นก็เปลี่ยนไป ความหลากหลายทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำก็หายไปเช่นกัน เส้นทางน้ำที่เคยเป็นสายใยสำคัญของชีวิตไม่มีอีกต่อไป

สำหรับนักวิจัยแล้ว เสียงที่หายไปคือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และมันก็เป็นความโศกเศร้าด้วยเช่นกัน

“ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ ผมมีปัญหาในการอธิบายว่าความหลากหลายทางชีวภาพคืออะไร” Marcus Maeder นักนิเวศวิทยาด้านเสียงจากสวิตเซอร์แลนด์ กล่าว “แต่ถ้าผมเล่นเสียงและพูดถึงสิ่งที่กำลังพูดอยู่ เสียงเหล่านี้ก็คือความหมายของสถานที่แห่งนั้น”

“เสียงเป็นตัวกระตุ้นอารมณ์ที่ทรงพลังที่สุดสำหรับมนุษย์ ความทรงจำเกี่ยวกับเสียงก็แข็งแกร่งมากเช่นกัน ผมกำลังคิดถึงเรื่องนี้ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ แต่ก็ยากที่จะไม่แสดงอารมณ์ออกมาได้”

Credit