Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

นักวิทยาศาสตร์รู้ได้ยังไงว่าดวงอาทิตย์อายุเท่าไหร่?

พวกเขาเอาตัวเลขเหล่านี้มากจากไหน คิดกันเอาเอง หรือมีวิธียังไงกันแน่ แต่ที่แน่ ๆ มันเป็นเรื่องทางเทคนิคที่ยากจริง ๆ

เคยสงสัยไหมว่า เวลาที่นักวิทยาศาสตร์บอกว่าดาวดวงนี้มีอายุเท่าไหร่ 1 พันล้านปีบ้าง 2 พันล้านปีบ้าง หรือหลายพันล้านปี พวกเขาเอาตัวเลขเหล่านี้มากจากไหน คิดกันเอาเอง หรือมีวิธียังไงกันแน่ แต่ที่แน่ ๆ มันเป็นเรื่องทางเทคนิคที่ยากจริง ๆ

คำตอบสั้น ๆ พวกเขาเปรียบเทียบดาวฤกษ์ดวงที่สนใจกับดวงอาทิตย์ของเรา เพราะมันเป็นดาวดวงเดียวที่นักวิทยาศาสตร์รู้ตัวเลขอายุที่ค่อนข้างแน่นอน โดยดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 4.6 พันล้านปี ถึง 5 พันล้านปี แต่เราแน่ใจว่าคนที่กดอ่านคงไม่อยากได้แค่คำตอบสั้น ๆ อยู่แล้ว ดังนั้นเราจะไปด้วยกันต่อ

แล้วนักวิทยาศาสตร์รู้อายุดวงอาทิตย์ได้ยังไง? เรื่องนี้แปลกแต่จริง นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้เหงนมองขึ้นไปบนฟ้า แต่กลับก้มหน้ามองลงไปยังดิน ในสาขาวิชาที่ชื่อว่า ‘ธรณีฟิสิกส์’ ซึ่งก็คือ หาอะไรก็ที่คิดว่าเก่าแก่ที่สุดมา โชคดีที่เรามีตัวอย่างนั้น นั่นคือ อุกกาบาตในระบบสุริยะที่ตกลงมายังโลก

ถ้าเรารู้อายุมัน เราก็รู้ว่ามันมีอายุอย่างน้อยเท่าไหร่ เพราะสิ่งเหล่านี้คือสสารที่รวมตัวกันตั้งแต่ยุคก่อกำเนิดระบบสุริยะ เป็นดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์ เป็นดาวเคราะห์น้อย เป็นก้อนหินอวกาศ และเป็นวัตถุบนท้องฟ้าอีกมากมาย เมื่อได้ตัวอย่างมาก นักวิทยาศาสตร์จะนำมันไปวิเคราะห์หาครึ่งชีวิตของธาตุที่อยู่ในนั้น

ครึ่งชีวิตคืออะไร? ธาตุแต่ละธาตุจะมีอัตราการสลายของตัวเองอยู่ ง่าย ๆ เช่นมีครึ่งชีวิต 1 ปี โดยเริ่มจาก 100 ตัวจะเหลือ 50 ตัวในเวลา 1 ปี ถ้าเรารู้ปริมาณที่เหลืออยู่และรู้ครึ่งชีวิตของมัน ก็จะคำนวณย้อนหลังกลับไปได้ว่ามันมีอายุเท่าไหร่ และธาตุ 2 ชนิดที่ใช้กันคือ ยูเรเนียม-238 (U-238) มีครึ่งชีวิตที่ 4,468 ล้านปี

เมื่ออุกกาบาตตกลงมา นักวิทยาศาสตร์จะมองหาตะกั่วเป็นอย่างแรก เนื่องจากเมื่อ U-238 สลายครึ่งชีวิต มันจะกลายเป็นตะกั่ว-206 (Pb-206) ถ้าพวกเขาเจอ แสดงว่านั่นหมายความว่าอย่างน้อยเกิดการสลายตัวครึ่งชีวิตมาแล้ว 1 ครั้ง ด้วยการคำนวณ ผู้เชี่ยวชาญให้ตัวเลขอายุระบบสุริยะอยู่ที่ 4.6 พันล้านบวกลบ 1%

ทั้งหมดคือที่มาของอายุดวงอาทิตย์ แล้วดวงดาวอื่น ๆ ล่ะ? นักวิทยาศาสตร์ได้หันไปหาอีกวิธีหนึ่งที่เรียกว่า แผนภาพ เฮิร์ตซ์สปริง-รัสเซล (Hertzsprung-Russell diagrams) แผนภาพนี้มีแนวตั้งเป็นความสว่างของวัตถุ ส่วนแนวนอนคือดัชนีสี โดยมีดวงอาทิตย์อยู่ในแผนภาพด้วย

เนื่องจากเราสามารถศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ของดวงอาทิตย์ได้ค่อนข้างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นมวล แสง สี รังสี ธาตุที่มันเผาไหม้ หรือแม้แต่อายุของมัน ทำให้มันกลายเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบได้ค่อนข้างดีเกี่ยวกับวงจรชีวิตของดาวฤกษ์ต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย

และเมื่อนักดาราศาสตร์ส่องกล้องไปยังดาวฤกษ์ต่าง ๆ พวกเขาก็รวบรวมข้อมูลคุณลักษะทุกด้านของมันให้มากที่สุด จากนั้นก็นำมาเปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์ของเรา หากดาวฤกษ์ที่ศึกษาอยู่มีลักษะไปทางขวาบนมันจะเป็นดาวยักษ์แดง หากดาวดวงนั้นอยู่ด้านล่างซ้าย มันก็จะเป็นดาวแคระขาว

ลองนึกภาพมนุษย์หลายช่วงอายุตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ เราไม่อาจติดตามชีวิตใครสักคนไปตลอดอายุขัย แต่การรวบรวมภาพทั่วไปว่าแต่ละคนแตกต่างกันอย่างไร ก็ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ประเมินได้อย่างคร่าว ๆ ว่าคนนี้อายุเท่าไหร่ ดาวฤกษ์ในจักรวาลก็เช่นกัน

ข้อมูลด้านฟิสิกส์ที่รวบรวมมาไม่ว่าจะเป็นความสว่างและมวลของมัน โดยเฉพาะฟิสิกส์ของปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันในแกนดาวฤกษ์ได้ช่วยให้นักดาราศาสตร์ประเมินอายุของมันได้คร่าว ๆ ว่าพวกมันมีอายุเท่าไหร่ ยังไงก็ตามวิธีนี้ยังเป็นวิธีที่ไม่ค่อยแม่นยำนัก

แต่ก็อย่างที่ Travis Metcalfe นักดาราศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์อวกาศในโบลเดอร์ โคโล กล่าวว่า “มันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เรามีอยู่”

ถ้าในอนาคตสักวันหนึ่ง อาจมีเอเลี่ยนถามเราว่า “ดาวที่คุณอยู่มีอายุเท่าไหร่?” เราก็มีคำตอบที่ค่อนข้างมั่นใจแล้วว่า “ประมาณ 4.6 พันล้านปีน่ะ”

ภาพและข้อมูลจาก

Credit

Environman

Environman คือหนึ่งในสื่อออนไลน์ที่นำเสนอปัญหาสิ่งแวดล้อม เป้าหมายคืออยากทำให้โลกใบนี้ดีขึ้น ไม่เฉพาะการเป็นสังคมออนไลน์ที่แข็งแกร่ง แต่หวังให้ความรู้นำไปสู่การลงมือทำเพื่อเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นได้จริง