Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

ปิด BOOK เปิด BOARD (เกม) ลงชุมชนผ่านสนามจำลองกับเกม ‘เครื่องมือเจ็ดชิ้น’

สืบเสาะเบาะแสในชุมชน เก็บข้อมูลด้วยการจดๆๆๆ และจดเพื่อคว้าคะแนน!

นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก บอร์ดเกม เครื่องมือการเรียนรู้ของคนยุคใหม่ ต่อยอดการเรียนรู้ที่ไม่จำกัดอยู่เพียงในห้องเรียนเท่านั้น อันที่จริงบอร์ดเกมไม่ใช่สิ่งใหม่แต่อย่างใดเพราะอย่าง บันไดงู เกมเศรษฐี ที่ทุกคนต้องเคยร่วมวงก็นับว่าเป็นบอร์ดเกมเช่นกัน

ผู้พัฒนาบอร์ดเกม SAC หรือศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เล่าถึง “เสน่ห์” ของบอร์ดเกมที่เป็นตัวกลางในการดึงดูดผู้คนมารวมตัวกัน และต่อยอดไปถึงการเพิ่มพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ของกลุ่มผู้เล่น 

ในหลายครั้งที่งานในรูปแบบวิชาการอาจเข้าไม่ถึงกลุ่มคนที่หลากหลาย แต่บอร์ดเกมสามารถทำได้ ด้วยรูปแบบการนำเสนอที่ง่ายต่อการเข้าใจและเข้าถึง จึงช่วยเพิ่มการรับรู้ของกลุ่มผู้เล่นที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

บอร์ดเกม เครื่องมือเจ็ดชิ้น อัดแน่นไปด้วยประวัติความเป็นมาของชุมชนกุดตะโกมากกว่า 100 ปี ที่ถูกจำลองมาอยู่ในรูปแบบเกม เพื่อเพิ่มการทำความเข้าใจในการทำงานภาคสนามมากขึ้น ทั้งการวางแผนและวิธีรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด เสมือนผู้เล่นได้ลงพื้นที่ไปสัมผัสทำความรู้จักกับชุมชนนั้นจริง ๆ 

ภาพบรรยากาศการเล่น

หลาย ๆ เกมส่วนใหญ่มักวัดผลไม่แพ้ก็ชนะ ธรรมดากฎเกณฑ์  แต่สำหรับเครื่องมือเจ็ดชิ้น พิเศษยิ่งกว่าเพราะเราจะสะสมแต้มที่เรียกว่าความรู้ และอาศัยความสามัคคีคือพลังของสมาชิกผู้เล่น เพื่อให้ลุล่วงภารกิจที่ตั้งไว้ตามประเด็นที่ได้ตกลงกันในกลุ่มว่าเราสนใจประเด็นไหนบ้าง ซึ่งการที่เราตั้งประเด็นจะเชื่อมโยงกับเส้นทางในบอร์ดเกมที่เราต้องเลือกเดินด้วย เช่น หากเราสนใจประเด็นสาธารณสุข เราก็จะต้องเลือกเดินไปยังโรงพยาบาลของชุมชน เป็นต้น  แต่ทาง SAC ได้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของกลุ่มจึงได้เพิ่มบทบาท “ภารกิจเดี่ยว” เข้ามาเพื่อผลักดันให้ผู้เล่นทุกคนมีบทบาทในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันมากขึ้น

แต่การที่คุณจะคอมพลีทภารกิจเดี่ยวได้ คุณต้องสวมบทนาตาชาเพื่อไปสืบข้อมูลจากในกลุ่ม หรือตีเนียนแบ่งปันข้อมูลกับสมาชิกคนอื่น จากการที่เราได้มีโอกาสลองเล่นจึงรู้สึกว่า ภารกิจเดี่ยว นั้นเป็นได้ทั้ง ตัวช่วย และ ตัวชวด ในเวลาเดียวกัน เพราะขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการในกลุ่ม หากผู้เล่นสนใจแต่ภารกิจตัวเองก็อาจจะทำให้ภารกิจกลุ่มไม่สามารถลุล่วงไปได้ แต่หากบางกลุ่มแชร์ภารกิจกันเพื่อดันหลังภารกิจกลุ่มก็อาจช่วยให้ลุล่วงได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ภาพรายละเอียดบอร์ดเกม

ด้วยภารกิจต่าง ๆ จะช่วยสะท้อนความเป็นมา เป็นอยู่ และความสัมพันธ์ ของชุมชนผ่านการเล่าเรื่องของตัวละครในเกม ตัวเกมนำเสนอได้อย่างสมจริง ทั้งในเรื่องความสัมพันธ์ของคนในชุมชน เหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้ายังไม่เห็นภาพ เราจะลองยกตัวอย่างเหตุการณ์ เช่น ‘คุณเลือกใช้การ์ดสอบถามข้อมูลจากผู้ใหญ่บ้าน แต่บังเอิญสุ่มโดนช่วงที่ผู้ใหญ่บ้านไม่อยู่จึงไม่ได้รับข้อมูลนั้น’ คุณก็ต้องนั่งคอตกเพื่อรอตาต่อไปที่คุณจะได้เล่นและหาข้อมูลอีกครั้ง

แล้วเครื่องมือ 5 6 7 ชิ้นที่ว่า มีอะไรบ้างล่ะเนี่ย ? สำหรับใครที่ยังไม่เคยทำความรู้จักกับเครื่องมือเจ็ดชิ้น วันนี้เราก็สรุปมาแล้วว่า เครื่องมือเหล่านี้พัฒนามาจากเครื่องมือของนักมานุษยวิทยาที่ใช้ศึกษาวิถีชุมชน แต่ปรับประยุกต์ให้ใช้งานง่าย ได้ผล และสนุก เพื่อให้เหมาะกับการทำงานร่วมกันระหว่างคนในชุมชนและนอกชุมชน ซึ่งเครื่องมือศึกษาชุมชน 7 ชิ้น ได้แก่  ผังเครือญาติ โครงสร้างองค์กรชุมชน ระบบสุขภาพชุมชน  ปฏิทินชุมชน ทุนและความท้าทาย ประวัติศาสตร์ชุมชน และ ประวัติชีวิตบุคคล 

เรามาทำความเข้าใจถึงบทบาทแต่ละอย่างกันคร่าว ๆ กันดีกว่า

1) ผังเครือญาติ : แสดงความสัมพันธ์ระบบเครือญาติที่ซับซ้อน ให้เข้าใจง่ายขึ้น

2) โครงสร้างองค์กรชุมชน : แสดงบทบาทของกลุ่มคนต่อชุมชน เป็นมิตรหรือขัดแย้งกับกลุ่มไหนบ้าง

3) ระบบสุขภาพชุมชน : แสดงถึงความหลากหลายของท้องถิ่น ทั้งวัฒนธรรม ความเชื่อ พฤติกรรม

4) ปฏิทินชุมชน : แผนกิจกรรมของชุมชนที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบปี ช่วยทำให้วางแผนต่าง ๆ ได้ถูกจังหวะ

5) ทุนและความท้าทาย : วิเคราะห์ เชื่อมโยง จุดแข็งและจุดอ่อนของชุมชน

6) ประวัติศาสตร์ชุมชน : เล่าถึงเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ในชุมชน 

7) ประวัติชีวิตบุคคล : เรื่องราวประสบการณ์ของคนในชุมชน ช่วยให้เห็นถึงค่านิยมและวัฒนธรรมท้องถิ่น

ภาพรายละเอียดบอร์ดเกม

แล้วเครื่องมือที่ได้มาจะนำใช้ตอนไหน ?

ตามชื่อเลยทุกคน เรียกได้ว่าเกมนี้ขับเคลื่อนด้วยเครื่องมือทั้ง7เลยก็ว่าได้ เริ่มเกมมาทุกคนจะได้อุปกรณ์สำคัญคนละหนึ่งชิ้น นั่นก็คืออออ กระดาษเปล่า 1 แผ่น.. ใช่แล้วทุกคน กระดาษโล่ง ๆ นี่แหละตัวช่วยของเรา เพราะเราจะทำการ จด จด แล้วก็จด ผ่านรูปแบบของเครื่องมือแต่ละอย่าง ที่จะทำให้เราเข้าใจชุมชนมากขึ้น

ดังนั้นหากใครที่กำลังจะต้องลงพื้นที่ภาคสนาม เกมเครื่องมือ 7 ชิ้น ถือว่าเป็นเครื่องมือซักซ้อมที่ดีเลยทีเดียว เพราะรวบรวมทั้ง บทสนทนาคำถามตัวอย่าง บทบาทความสัมพันธ์ที่ไม่ควรแตะ เหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อยู่เหนือความควบคุม ถูกรวมมาไว้ในนี้แล้ว ‘บอร์ดเกม เครื่องมือ 7 ชิ้น โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)’ 

เราเชื่อว่าบอร์ดเกมนับเป็นเครื่องมือที่กระตุ้นให้เกิดการต่อยอดการเรียนรู้ที่ดีชิ้นหนึ่ง และควรถูกมองในบทบาทใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่แค่เกมที่มอบแค่ความสนุกสนานเท่านั้น แต่ยังอุดมไปด้วยความรู้ แถมยังได้พื้นที่ไว้แลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิด ที่หลากหลาย 

หากใครที่ต้องการลองลงสนาม สัมผัสประสบการณ์จริง สามารถติดตามได้ที่ https://www.sac.or.th/portal/ 

Credit

Araya A.