Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

Nostalgia คืออะไร? แล้วจะช่วยฮีลใจยังไงในวันที่วัยผู้ใหญ่ไม่ได้สนุกเหมือนเคย

ความสดใส ใจดี รอยยิ้มของเด็กคนนั้นยังอยู่ดีไหมนะ? ทบทวนปัจจุบันผ่านความทรงจำในวัยเด็กที่เราคิดถึง

‘คิดถึงเด็กคนนั้นในวันวานจัง’ ชวนรู้จักภาวะ Nostalgia อาการคิดถึงวันวานแบบสุขเศร้าเคล้าน้ำตาที่ช่วยฮีลใจในวันที่การเป็นผู้ใหญ่ยิ่งไม่สนุก

“การเป็นผู้ใหญ่ มันไม่ง่ายเลย มันไม่คุ้นไม่เคย ยิ่งคิดยิ่งเหนื่อยใจ ไม่มีเวลาเหลือ ไว้ฝันไว้คิดถึงใคร โตแล้ว ต้องทำอย่างไร..” ใครทันเพลงนี้ก็แปลว่าเราก็ไม่เด็กแล้วน้าา แหะ 

ผู้ใหญ่ในวันนี้ ใช่คนเดียวกับเด็กในความทรงจำวันนั้นไหมนะ? วันเด็กวนมาทีไรก็เป็นเหมือนโอกาสให้เราได้กลับไปทักทาย ‘เด็กคนนั้น’ ที่อยู่ในใจเราอีกครั้งทุกที ความสดใส ใจดี สนุก ร่าเริง รอยยิ้มที่อยู่ในรูปถ่ายที่คุ้นตา หรือเสียงร้องคลอไปกับเพลงที่คุ้นเคย ความสุขแบบนั้นยังอยู่ดีหรือเปล่า? หรือความทุกข์ที่เราเคยพบเจอ วันนี้มันจางหายไปหรือยังนะ?

ภาวะ Nostalgia คืออะไร?

ภาวะ Nostalgia ถูกคิดค้นขึ้นเป็นคำศัพท์และใช้เป็นการวินิจฉัยทางการแพทย์ในปี ค.ศ. 1688 โดย Johannes Hofer แพทย์ชาวสวิส โดยมีรากศัพท์มาจากคำภาษากรีก Nostos (การกลับบ้าน) + Algos (ความเจ็บปวด) ซึ่งใช้นิยามอาการคิดถึงบ้านแบบผิดปกติที่เป็นการนิยามไปในเชิงลบ 

จนกระทั่งในช่วงทศวรรษที่ 20 Nostalgia ได้ถูกใช้นิยามภาวะอารมณ์ที่รวมทั้งแง่บวกและลบ โดยเชื่อว่าการคิดถึงอดีตเหล่านั้นยังมีผลดีต่อสุขภาพจิตที่จะช่วยลดความเครียดในชีวิตปัจจุบัน เพิ่มความสุขและความยืดหยุ่นที่ส่งผลดีต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตได้

ในปัจจุบันภาวะ Nostalgia จึงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในการใช้เรียกอาการที่เกิดขึ้นจากการถูกกระตุ้นให้คิดถึงความทรงจำในวันวาน ซึ่งเจ้าก้อนความถวิลหาอดีตนี้มักเต็มไปด้วยความสุขเศร้าเคล้ากันไปจากการได้คิดถึงช่วงเวลาดี ๆ ที่อบอุ่น แต่ในขณะเดียวกันก็เศร้าใจเพราะไม่มีทางที่จะหวนคืนช่วงเวลาเหล่านั้นมาได้อีกแล้ว 

เช่น การคิดถึงอดีตจากการได้ฟังเพลงที่คุ้นเคย เจอกลิ่นในวัยเด็ก ดูหนัง อ่านหนังสือที่ชอบ ไปจนถึงการย้อนดูรูปถ่ายในวันวานที่ทำให้เห็นช่วงเวลาแห่งความสุข จนเราก็อดเปรียบเทียบไม่ได้ว่า ช่วงเวลาตอนนั้นมันช่างดีกว่าตอนนี้ที่เต็มไปด้วยภาระ ความเครียด และชีวิตที่ต้องจริงจังขึ้นซะเหลือเกิน

Nostalgia กับการสำรวจตัวเองจากความทรงจำในวันวาน

ในอีกทางหนึ่ง นักจิตวิทยาระบุว่าภาวะ nostalgia ยังส่งผลในเชิงบวก โดยช่วยให้เราได้ ‘ทบทวน’ ตัวเองผ่านการเชื่อมโยงกับความรู้สึกนึกคิด ความฝันในวันวาน (Nostalgic Self-Exploration) เช่น การมีเวลาได้ตกตะกอนกับตัวเองว่าสิ่งที่เราทำอยู่ในตอนนี้นั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากไหน เพื่อใคร หรือสิ่งที่เรากำลังทำนั้นมันกำลังมา ‘ถูกทาง’ เหมือนกับที่ตัวเองเคยคิดไว้ในวันวานหรือเปล่า ซึ่งหากเป็นมุมมองในเชิงบวกก็จะทำให้เรายิ่งมีแรงขับเคลื่อนต่อไปเพราะเห็นถึงเป้าหมายและความตั้งใจที่เคยวางไว้ในอดีต แต่ในกรณีที่ไม่ใช่ก็อาจทำให้เห็นว่าเส้นทางที่เรากำลังเดิน อาจไม่ได้เชื่อมโยงกับความฝัน ความตั้งใจในวันวาน หรือยิ่งไปกว่านั้นก็อาจจะพรากความสุขในตัวเองไป การทบกวนเหล่านี้ก็จะทำให้มนุษย์เราเลือกทางเดินที่จะไปต่อได้อย่างมีเหตุมีผลมากขึ้น

ความสุขในวันวานเป็นเหมือนยาช่วยบำรุงหัวใจ

การคิดถึงความทรงจำที่ดีในวันวานยังส่งผลดีต่อสุขภาพจิตของเราให้ข้ามผ่านช่วงเวลาทุกข์ใจในชีวิตไปได้อย่างง่ายดายขึ้น โดยทำให้เกิดความภูมิใจในตัวเองหรือที่เรียกว่า Self-Esteem จากการนึกถึงความสุขความสำเร็จในวันวาน หรืออาจเป็นการสัมผัสถึงความรัก ความอบอุ่นที่เราเคยได้รับจากคนรอบตัว จนทำให้เรามีทัศนคติที่ดีกับตัวเองมากขึ้น และได้รับรู้ว่าเราได้รับการสนับสนุนจากคนรอบข้าง ไม่ได้โดดเดี่ยว ตัวคนเดียวในสังคม หรืออย่างน้อย ๆ ก็ได้ทบทวนว่าชีวิตในอดีตเราก็เคยประสบความสำเร็จอะไรมาบ้าง

ด้วยการเปลี่ยนผ่านของชีวิตตามช่วงวัยที่เติบโตขึ้น ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็มักตามมาด้วยภาระหน้าที่และความเครียดเพิ่มขึ้น จนอาจทำให้เราหลงลืมความฝัน ความหวังที่มี หรือกระทั่งการมีความสุขง่าย ๆ แบบที่เราเคยมีในวัยเด็ก แต่แท้จริงแล้ว เด็กคนนั้นยังคงอยู่ในใจเราเสมอ แม้จะไม่มีวันได้ช่วงเวลาที่อบอุ่นเหล่านั้นกลับมา แต่การได้ย้อนคิดถึงก็ทำให้เราเชื่อมโยงกับความรู้สึกในวันวานและไม่เคยลืมว่าสิ่งที่หล่อหลอมให้เราเป็นเราในวันนี้

ว่าแล้วก็ลองหันกลับไปถามเด็กคนนั้นยังในใจเรากันดู 

“ความฝัน ความหวังที่เราเคยมี มันยังอยู่ดีไหมนะ?”

ที่มา

https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1364661316000267

https://www.discovermagazine.com/mind/nostalgia-and-thinking-about-the-future-can-be-good-for-you

https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0191886915300507

Credit

Chayanit S.

เป็นคนกรุงเทพฯ ชอบเดินเที่ยวเมือง ฟังเพลงซ้ำ ๆ นั่งโง่ ๆ ดูคนคนใช้ชีวิต :-)