Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

สีเขียวบนธงไพร์ด ไม่ใช่แค่เรื่องของสิ่งแวดล้อมแต่เป็นเรื่องของ “สิทธิ” ในการมี “ชีวิต” ของเราทุกคน

สีเขียวบน ‘ธงสีรุ้ง’ ในช่วง Pride Month ตัวแทนแห่ง ‘ธรรมชาติ’ และเสียงสะท้อนถึงเหล่าสิ่งมีชีวิต ทรัพยากร และสรรพสิ่งต่าง ๆ

สิ่งแวดล้อมกับ [ PRIDE ] ‘ธงสีรุ้ง’ สัญลักษณ์อันคุ้นเคยในช่วง Pride Month ถูกโบกสะบัดพริ้วไหวไปทั่วเมือง ตัวแทนแห่งความหลากหลายของสังคมที่ถูกหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ต่างมีเอกลักษณ์และความเท่าเทียมเสมอภาคกัน หนึ่งในเฉดสีที่ปรากฏอยู่บนพื้นผ้าใบสีรุ้ง คือ ‘สีเขียว’ ตัวแทนแห่ง ‘ธรรมชาติ’ เสียงสะท้อนถึงเหล่าสิ่งมีชีวิต ทรัพยากร และสรรพสิ่งต่าง ๆ

นับจากที่กรุงเทพมหานครได้มีงาน Pride Parade ขึ้นมา Greenpeace Thailand ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการชูความหมายของ ‘สีเขียว’ ให้หนักแน่นขึ้น โดยได้เข้าร่วมกิจกรรมนฤมิตรไพรด์เมื่อมิถุนายน ปี 2565 พร้อมทั้งถือป้ายรณรงค์ความยุติธรรมทางเพศและความยุติธรรมทางสภาพภูมิอากา

ในขณะที่ปีต่อมา มิถุนายน ปี 2566 กิจกรรม Bangkok Pride Parade 2023 ได้มีการสร้างสรรค์ขบวนภายใต้แนวคิด ‘Peace & Earth รักษ์โลก รักสันติภาพ’ ปกป้องคุ้มครองสิทธิของโลก และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อตอกย้ำว่าประชาชนทุกคนล้วนมีสิทธิ์อยู่อาศัยบนโลกที่ปลอดภัยกับสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี และเคารพความหลากหลายซึ่งกันและกัน เป็นเวลากว่า 2 ปีที่ขบวนไพรด์ในประเทศไทยได้มีการพูดถึงประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ย้ำเตือนถึง ‘สีเขียว’ บนธงรุ้งไม่ให้เลือนหาย

เมื่อ ‘ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม’ ถูกพูดถึงใน Pride Parade มากขึ้น บทความนี้ จึงอยากชวนทุกคนมาอ่านความสำคัญของ ‘สีเขียว’ บนธงรุ้งกัน

ทำไมถึงต้องพูดเรื่อง ‘ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม’ ใน Pride Parade ?

จากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ได้รายงานว่าปัจจุบันโลกกำลังอยู่ใน ‘ภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ’ เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติอย่างรุนแรง อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ผนวกกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติมีจำนวนลดลง สิ่งหนึ่งที่เราต้องตระหนักไว้ คือ “เราทุกคนล้วนเป็นธรรมชาติ”

พวกเราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องอาศัยและพึ่งพาทรัพยากรเพื่อความอยู่รอด เมื่อทรัพยากรลดลง สภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง ย่อมส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเราทุกคน แต่มากกว่านั้น คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคลต่างไม่เท่ากัน เช่น บุคคลที่มีฐานะร่ำรวยอาจได้รับผลกระทบจากวิกฤตธรรมชาติช้ากว่าบุคคลที่มีรายได้ต่ำ รวมไปถึงปัจจัยด้าน ‘เพศ’ ก็นับเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน

ตัวอย่างที่ชัดเจนมีปรากฏอยู่ในบทความวารสารของ Greenpeace Thailand ความว่า องค์การสหประชาชาติมีรายงานถึงจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานจากวิกฤตการณ์ทางภูมิอากาศเป็น ‘เพศหญิง’ มากถึงร้อยละ 80 สอดคล้องกับรายงานของ Global Center on Adaptation ที่ระบุว่า ‘ผู้หญิง’ ได้รับผลกระทบจากภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างหนักถึงร้อยละ 70

ในขณะที่งานวิจัยหัวข้อ Climate change and gender-based violence, interlinked crises in East Africa ระบุว่าผู้หญิงและเด็กผู้หญิงมีโอกาสได้รับอันตรายมากถึง 14 เท่าในช่วงภัยพิบัติที่เกิดจากสภาวะภูมิอากาศแปรปรวน รวมไปถึงการเลือกปฏิบัติในฐานะผู้ประสบภัยจากสังคม 

เมื่อเกิดภัยพิบัติและการเลือกปฏิบัติไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับเพศหญิง

บทความวารสารของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้มีการกล่าวถึงงานวิจัยถึง 2 หัวข้อด้วยกัน เริ่มกันที่หัวข้อแรก Environmental Injustice and Sexual Minority Health Disparities: A National Study of Inequitable Health Risks from Air Pollution among Same-Sex Partners ที่รายงานถึงการเลือกปฏิบัติในการรักษาสุขภาพต่อกลุ่มคนผู้มีหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) โดยปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นมีต้นตอมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

ในขณะที่งานวิจัยหัวข้อถัดมา Queering Environmental Justice: Unequal Environmental Health Burden on the LGBTQ+ Community เป็นการศึกษาถึงสุขภาวะและความเสี่ยงของกลุ่ม LGBTQIA+ ที่เกิดจากมลพิษทางสิ่งแวดล้อม

อนึ่ง งานวิจัยทั้งสองได้ใช้พื้นที่ของสหรัฐอเมริกาเป็นกรณีศึกษา โดยมีผลสำรวจของ National Air Toxics Assessment (NATA) และสำนักการสำรวจสำมะโนประชากรสหรัฐฯ ระบุว่ากลุ่มคู่รักเพศเดียวกันมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับมลพิษทางอากาศ รวมไปถึงป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจมากกว่ากลุ่มคู่รักต่างเพศ

ทั้งนี้ มีสาเหตุหลักมาจากการที่กลุ่มคนผู้มีหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ถูกกีดกันจากสังคมด้วยปัจจัยต่าง ๆ ทั้งพิษทางเศรษฐกิจ ปัญหาการว่างงาน ตลอดจนคติความเชื่อภายในครอบครัว จนบีบบังคับให้บุคคลเหล่านี้ส่วนหนึ่งเป็นคนไร้บ้าน ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง ทำให้พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับมลพิษอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งงานวิจัยรายงานว่ามีเยาวชนไร้บ้านที่นิยามตนเป็นกลุ่ม LGBTQIA+ มากถึงร้อยละ 20 – 45

นอกจากนี้ งานวิจัยยังเปิดเผยว่ากลุ่มคน LGBTQIA+ ส่วนใหญ่ เมื่อเจ็บป่วยจากสภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษ พวกเขาเลือกที่จะไม่รับการรักษาพยาบาล เนื่องจากมีข้อกังวลด้าน ‘การเลือกปฏิบัติ’ เมื่อมีข้อมูลว่ากลุ่มคนเพศหลากหลายจะได้รับสิทธิคุ้มครองไม่เท่ากับบุคคลอื่น อีกทั้งยังมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำนวนรัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีมากถึง 29 จาก 50 รัฐ ที่ยังไม่มีกฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติ รวมไปถึงปัญหาคนไร้บ้านและการว่างงาน เป็นผลให้ LGBTQIA+ จำนวนมาก ไม่มีประกันสุขภาพ ทำให้พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้

‘ความไม่เท่าเทียมทางเพศ’ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกสถานการณ์

ประเด็นหนึ่งที่เราเห็นได้อย่างชัดเจนจากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น คือ ‘ความไม่เท่าเทียมทางเพศ’ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกสถานการณ์ ทั้งโลกร้อน ภูมิอากาศแปรปรวน เกิดภัยพิบัติ หรือมลภาวะต่าง ๆ ย่อมมีการเลือกปฏิบัติและความอยุติธรรมเกิดขึ้นกับคนทุกเพศ

ดังนั้น การมีสีเขียวอยู่บนธงสีรุ้ง จึงเปรียบเสมือนการตอกย้ำถึงปัญหาเหล่านี้ ปัญหาที่ซ้อนอยู่ใต้ปัญหาหนึ่งอีกที จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องให้ความสำคัญกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นในสังคมไปพร้อมกัน

สำหรับปีนี้ มิถุนายน 2567 กับงาน Bangkok Pride Parade 2024 ภายใต้แนวคิด ‘Celebration of Love เฉลิมฉลองสมรสเท่าเทียม’ เพื่อประกาศชัยชนะและความภาคภูมิใจต่อการเคลื่อนไหวเรียกร้องสมรสเท่าเทียมของกลุ่ม LGBTQIA+ ที่ต่อสู้กันมานานกว่า 2 ทศวรรษ นับเป็นเรื่องน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง โดยร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ผ่านมติเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรไปเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 เป็นการบ่งบอกถึงความเท่าเทียมทางเพศที่กำลังก่อตัวขึ้นผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิขั้นพื้นฐานอย่าง ‘การแต่งงาน’ กับคนที่เรารัก

อย่างไรก็ดี ขบวนบางกอกไพรด์ในปีนี้ ยังคงมีขบวนเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกเช่นเคย ภายใต้ชื่อขบวน ‘Love for Peace & Earth สันติภาพ’ ที่มาพร้อมกับประเด็นสำคัญ 5 ประเด็น ได้แก่ ยุติสงคราม สันติภาพ อนุรักษ์ธรรมชาติ ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม และยุติภาวะโลกรวน

นับเป็นปีที่ 3 ของขบวนบางกอกไพรด์ที่มีการพูดถึงประเด็นธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้น ยืนยันถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าว และยังคงเป็นสัญญาณโดยนัยว่าปัญหาเหล่านี้ยังคงเกิดขึ้นอยู่ทั่วทุกมุมโลก อยากเชิญชวนทุกคนมาร่วมจับตามองขบวน ‘Love for Peace & Earth สันติภาพ’ กัน

มาร่วมส่งเสียงของทุกคน เพื่อยืนยันในสิทธิการมีชีวิตอยู่บนโลกที่สงบสุข สิ่งแวดล้อมที่ดี และความเท่าเทียมเสมอภาคในทุกภาคส่วน

Credit

uniPoP

เราสามารถเขียนบทความรักษ์สิ่งแวดล้อม ไปพร้อม ๆ กับรักแฟนได้