Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

คุณกำลังรักความเป็นระเบียบหรืออยู่ในวังวน Perfectionism เกิดเหตุรึเปล่า? 

พฤติกรรมที่คอยกวนใจ ผลาญพลังงานเราไปเท่าไหร่กับคำว่า ต้องเป๊ะ ต้องปัง

Perfectionism ที่นิยามอาจจะไม่ได้ Perfect เหมือนชื่อเสมอไป เมื่อความเป๊ะ ความเนี๊ยบ ที่ใคร ๆ ต่างพากันถูกใจ พฤติกรรมที่นิยมชมชอบความสมบูรณ์แบบ อาจสร้างผลกระทบลูกใหญ่ที่ไม่เพียงสูญเสียพลังงานทางจิตใจแต่ยังรวมไปถึงสร้างความสูญเสียของโลกเราอีกด้วย 

เป็น Perfectionist แล้วยังไง ทำไมถึงกระทบโลกของเราด้วยล่ะ?

อาการ Perfectionism หรือพฤติกรรมนิยมความสมบูรณ์แบบนั้น ความไม่ผิดพลาดคือเส้นชัยของบุคคลกลุ่มนี้ งานเป๊ะ งานเนี๊ยบ ต้องขอยกให้พวกเขา แม้ความคลั่งไคล้ความสมบูรณ์แบบอาจไม่ได้ร้ายแรงเข้าขั้นเป็นโรค แต่ก็บ่มเพาะจากอุปนิสัยที่เริ่มหยั่งลึกลงรากในจิตใจจนส่งผลต่อการเปลี่ยนไปของพฤติกรรม

อ๊ะ อ๊ะ อย่าเพิ่งชะล่าใจไป พฤติกรรมที่เป๊ะจนน่าชื่นชมอาจมีจุดอ่อนเล็ก ๆ ที่คนมักมองข้ามไป

ดั่งผู้คนที่มักพูดกันไว้ว่า ‘อะไรที่มันมากไปก็ใช่ว่าจะดี’ ซึ่งสอดคล้องกับนิยามของพฤติกรรมเหล่านี้ เนื่องจากพวกเขาไม่อยากพบกับความผิดพลาด จึงมักทำอะไรที่ถี่ถ้วนอยู่เสมอ จนอาจเริ่มก้าวข้ามเส้นบาง ๆ ของการย้ำคิดย้ำทำ

แต่ในปัจจุบันทำให้เรารู้สึกว่า Perfectionist ไม่ใช่เรื่องแปลกแยกอะไร เพราะสังคมมักจะสาดไฟเข้าหาข้อผิดพลาดที่ถึงแม้จะเล็กน้อยก็ไม่พ้นสายตาที่จับจ้องมาอยู่ดี การกระทำแบบนี้จึงมักส่งเสริมให้คนกลัวความผิดพลาดเข้าไปกันใหญ่ จนอดสงสัยไม่ได้ว่าที่เราเป็นอยู่ทุกวันนี้เข้าขั้น Perfectionist กันแล้วหรือยัง ?

ลองเช็คดูสิ คุณมีความ Perfectionism ในตัวแค่ไหน?

เป็นมั้ย มักตั้งมาตรฐานในการทำสิ่งต่าง ๆ ไว้สูงมากจนเกินความเป็นจริง

เป็นมั้ย มักใช้เวลานานกว่าคนทั่วไปในการทำแต่ละสิ่ง เพื่อให้สิ่งนั้นออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด 

เป็นมั้ย มักตั้งคำถามในแง่ลบเกี่ยวกับความสามารถของตัวเอง เพราะคิดว่าตัวเองยังมีข้อผิดพลาดและทำสิ่งต่างๆ ได้ไม่สมบูรณ์แบบ

เป็นมั้ย มักไม่เชื่อมั่นในการทำงานของผู้อื่น และหาจุดบกพร่องในสิ่งที่ผู้อื่นทำ

ชอบควบคุมหรือบงการความสัมพันธ์กับผู้อื่นให้เป็นไปตามที่ตนเองคาดหวัง

ถ้าเช็คลิสต์เหล่านี้อาจยังไม่ชัดพอ เราขอชวนทุกคนมาสำรวจงานบ้านกันหน่อยดีกว่า ว่าคุณกำลังรักความเนี๊ยบแบบพอดีหรืออาจกำลังตกอยู่ในวังวนย้ำคิดย้ำทำกันแน่นะ

1. ใส่ไม่ใส่ไว้ทีหลัง แต่เรื่องเรียบต้องมาก่อน

รีดหมดไม่สนชุดไหน ไม่ว่าชุดอะไรต้องขอเรียบไว้ก่อน ชุดออกงานยังพอเข้าใจ แต่ไหนขอเสียงคนรีดชุดอยู่บ้านหน่อย คงไม่ใช่เรื่องที่ถูกใจสำหรับชาว perfectionist หากกวาดตามองไปต้องเจอแต่เสื้อผ้าที่ยับยู่ยี่อยู่บนราวผ้า หรือเป็นสายตาที่มีคนจับจ้องรอยยับบนเสื้อผ้าของเราจนสร้างความเป็นกังวล เพราะงั้นคงอดใจไม่ได้ต้องขอรีดซักหน่อย รู้ตัวอีกทีก็หมดราวซะแล้ว  

“ส่วนใหญ่คนจะใส่เสื้อผ้า 2 ชิ้นต่อวัน โดยเสื้อ 1 ตัวจะใช้เวลารีด 5-7 นาที ซึ่งจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราว 200 กรัม หรือหากคนอินเดียทั้งประเทศลุกขึ้นมารีดผ้า ก๊าซเรือนกระจกจะถูกปล่อยออกมา 250 ล้านกรัมต่อวันเลยทีเดียว”

แล้วมีวิธีไหนบ้างที่เราสามารถลดละช่วยโลกได้บ้าง มาลองดูกัน

◦ ตามเทรนด์วัยรุ่นสมัยใหม่ที่มักเริ่มปล่อยจอยกับเสื้อผ้าที่ไม่ได้ผ่านการรีด อาจจะเริ่มจากการที่รีดเฉพาะเสื้อผ้าที่ออกงานสำคัญเท่านั้น เช่น ชุดยูนิฟอร์ม ชุดทำงาน ส่วนเสื้อผ้าชิล ๆ ก็พับเก็บวนไป

◦ เลือกใช้ไอเทมที่ไม่ต้องผ่านการรีด เช่น เสื้อยับยากไม่ต้องพึ่งการรีด อย่าง ‘เส้นใยสังเคราะห์ และ โพลีเอสเตอร์’ หรือ สเปร์ยลดรอยยับ เทคนิคสะบัดผ้าก่อนตาก

2. ล้างแล้ว ล้างอยู่ ล้างต่อ

ทุกอย่างต้องดีที่สุด รวมถึงการล้างภาชนะเราก็ไม่เว้น หากไม่สะอาดเราไม่หยุด 

จนเกิดเป็นลูปล้างแล้ว ล้างอยู่ ล้างต่อ 

“หากคุณล้างจานโดยเปิดน้ำลงอ่างและเปลี่ยนการใช้น้ำสองครั้ง จะใช้ประมาณ 15 ลิตร ถ้าล้าง

ด้วยวิธีเปิดน้ำให้ไหลผ่านจานทีละใบ จะใช้น้ำประมาณ 135 ลิตร ในเวลาประมาณ 15 นาที หรือ เทียบเท่าน้ำ 7 ถังใหญ่”

สถิตินี้วัดจากพฤติกรรมโดยทั่วไปของประชากรเท่านั้น ที่ไม่นับจากพฤติกรรมชาว Perfectionist ที่ต้องกริบยันหยดสุดท้าย สถิติการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นเริ่มขัดแย้งกับสถานการณ์ที่แย่ลงอย่างภัยแล้งที่รุนแรง  ปริมาณน้ำสำรองในเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เริ่มไม่เพียงพอ และมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยสาเหตุอาจเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งการบริหารจัดการน้ำ ปริมาณความต้องการ พฤติกรรมการใช้น้ำ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน

แต่ให้หยุดใช้น้ำก็ไม่ใช่เรื่องที่เราจะทำได้ เพราะงั้นแค่เราหันมาใช้ให้ถูกวิธี เซฟให้ได้มากที่สุด อย่าง เช็ดคราบอาหารก่อนล้าง ใช้ถังรองน้ำสำหรับล้างจาน ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้ขณะล้าง หรือ ทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การใช้เกลือขจัดคราบความมันก่อนล้าง รวมถึงให้ชาว Perfectionist พร้อมปล่อยวางว่าจานที่เราล้างนั้นสะอาดแล้วจนไม่เกิดการลูปล้างวนไป

3. กินไปเช็ดโต๊ะไป อย่าให้คราบเปื้อนมากวนใจโต๊ะแสนสะอาดของเรา

กินคำ เช็ดคำ หันไปเจอเข้ากับภูเขาทิชชู่ ขยะตัวร้ายที่ทำลายพื้นที่สีเขียว พร้อมสร้างมลพิษอย่างก๊าซเรือนกระจก

ข้อมูลเชิงสถิติระบุว่า ‘คนไทยใช้กระดาษทิชชู่ประมาณ 4 กิโลกรัมต่อคน/ปี ประชากรไทยในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 70 ล้านคน ซึ่งหมายความว่าทั้งประเทศจะใช้กระดาษทิชชู่รวมกันราวๆ 280 ล้านกิโลกรัม/ปี 

การใช้กระดาษทิชชู่ 1 แผ่น เท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิต 0.48 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือ การสูญเสียต้นไม้ในแต่ละปีราวๆ 5.6 ล้านต้น/ปี (ต้นไม้ 1 ต้นผลิตทิชชู่ได้ 50 กิโลกรัม)

การสูญเสียที่แลกมากับความสะดวกสบายของชาวเรา ทำให้ผลกระทบเริ่มคืบคลานมาใกล้ตัวมากขึ้น อย่างภาวะโลกร้อน พื้นที่สีเขียวที่เริ่มจางหาย

ซึ่งเราอาจจะทดแทนได้ง่าย ๆ ไม่เกินตัว โดยการเลือกใช้ green product ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้อย่างพอดี เลือกใช้ผ้าแทนกระดาษทิชชู่ นี่ก็เป็นหนึ่งวิธีที่สามารถตอบแทนธรรมชาติได้ง่ายและทำในชีวิตประจำวันได้มากที่สุด

ฉันเป็น Perfectionist มันผิดหรือไง ฉันชอบในความเป๊ะที่มี?

เชื่อว่าคงมีคนเช็คลิสต์ตรงกับหัวข้อด้านบนเป็นจำนวนไม่น้อย ซึ่งเราคิดว่าอาจสอดคล้องกับความเคยชินและค่านิยมที่ทำตามกันมาด้วยส่วนนึง จึงได้หล่อหลอมให้เกิดพฤติกรรมเหล่านี้ตามมา หรือถึงแม้จะเป็นพฤติกรรมความชอบส่วนตัว เราก็พร้อมเสนอทางเลือกทางเลี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวให้ดีขึ้น รักษาสุขภาพจิตกับสุขภาพโลกไปพร้อม ๆ กัน ลดผลกระทบทั้งเราและโลก เช่น

◦ เริ่มจากทำ To do list สิ่งที่ต้องทำเอาไว้เช็คเสมอว่าคอมพลีทหรือยัง

◦ ทำ Deep clean สัปดาห์ละครั้ง เป็นประจำอยู่เสมอ

◦ หากิจกรรมหรือประเด็นที่สนใจใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดให้เราสนใจจนลืมความกังวล Perfectionist

◦ เพื่อป้องกันการทำย้ำ ทำซ้ำ ทำซ้อน ลดการกระทำที่เกินความจำเป็น

อาจไม่ใช่เรื่องง่ายแต่เราเชื่อว่าถ้าใจเราได้มักไม่ใช่เรื่องยาก

Nobody Is Perfect

ปัญหาย่อมมีทางออกขอแค่เพียงเราถอดแว่น เปลี่ยนมุมมองที่ยึดสังคมเป็นกรรมการ ยึดจินตนาการว่ามีคนตัดสินอยู่เสมอ สลัดความกลัวทิ้งไป ให้ความผิดพลาดเป็นแค่อีกหนึ่งสัญญาณของการเป็นมนุษย์ ล้มก็แค่ลุก เปื้อนก็แค่เช็ด ตระหนักไว้เสมอว่านั่นโอกาสที่เราจะได้เรียนรู้มากกว่าร่องรอยของความล้มเหลว

ไม่เพียงแต่สุขภาพของเราที่รอการรักษา โลกของเราเข้าคิวรอเวลาเช่นกัน 

ที่มา

https://www.indiatimes.com/news/india/how-much-energy-can-be-saved-if-13-billion-indians-decide-to-not-iron-their-clothes-for-one-day-589006.html

https://www.wwf.or.th/what_we_do/wetlands_and_production_landscape/freshwater

https://bangnang.go.th/public/news_upload/backend/files_230_1.pdf

https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/perfectionism

https://teachme-biz.com/blog/perfectionist-in-workplace/

Credit

Araya A.