Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

ดิน ทราย และโคลนเปื้อน ๆ ดีต่อสุขภาพของเด็ก

การให้เด็ก ๆ ได้อยู่กับธรรมชาติ เล่นดิน เล่นทราย ลุยโคลน อยู่กับต้นไม้บางครั้งบางคราวช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันและดีต่อสุขภาพภายใน 1 เดือน

ท่ามกลางสภาพแวดล้อมแบบเมืองที่เต็มไปด้วยมลพิษจากทั้งสารเคมี ยานพาหนะ บุหรี่ อากาศร้อน และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้เด็กในปัจจุบันเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (แม้แต่ผู้ใหญ่ก็ยังเป็นกันจำนวนมาก) แต่วิทยาศาสตร์บอกเราทุกคนว่า ธรรมชาติช่วยได้ และเราไม่ได้คิดไปเอง

การศึกษาจำนวนมากตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาชี้ให้เห็นว่า การสัมผัสกับสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติอย่างดินโคลนบ้าง ที่แม้จะดูสกปรกแต่ก็ช่วยลดความเสี่ยงที่เด็ก ๆ จะเป็นโรคภูมิแพ้ และโรคภูมิแพ้ตัวเองได้ (โรคที่ภูมิคุ้มกันโจมตีตัวเอง) โดยเฉพาะในช่วงปีแรก ๆ ของชีวิต 

ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เซลล์ป้องกันร่างกายกำลังเรียนรู้วิธีแยกแยะเซลล์พวกเดียวกันออกจากสารแปลกปลอมต่าง ๆ ที่ทั้งไม่เป็นอันตรายและตัวที่ก่อให้เกิดโรค ภูมิคุ้มกันของเราต้องเรียนรู้ที่จะตรวจจับเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสที่สร้างการติดเชื้อเพื่อทำลายพวกมัน 

“ในสถานรับเลี้ยงดูเด็ก ๆ และโรงเรียนหลายแห่งมีความตระหนักเพิ่มขึ้นว่าเด็ก ๆ มีพื้นที่เปิดโล่งให้เล่นน้อยลง” Marilisa Modena สถาปนิกที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบโรงเรียน และเป็นผู้ก่อตั้ง Zeroseiplanet ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยและฝึกอบรมของอิตาลีที่เน้นไปที่ประโยชน์ของการเล่นกลางแจ้ง กล่าว “และเรากำลังมองหาวิธีที่จะนำกิจกรรมเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว กิจกรรมเหล่านั้นถือเป็นประสบการณ์ที่เด็ก ๆ (สมัยก่อน) คุ้นเคยกันดี” 

ปรากฏว่าสัญญาณระดับโมเลกุลที่ผลักดันและสนับสนุน หรือพูดง่าย ๆ คือเพิ่มพลังให้กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ส่วนใหญ่มาจากจุลินทรีย์ในลำไส้ที่เรียกกันว่า ไมโครไบโอมในลำไส้ และมันมีความสำคัญกับสุขภาพโดยรวมของเรา 

การศึกษาในช่วงปี 2019-2020 ได้แสดงให้เห็นว่าการสัมผัสกับความหลากหลายของจุลินทรีย์ต่าง ๆ นั้นเชื่อมโยงกับการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้ดี ซึ่งในปีแรกของชีวิต ทารกจะได้รับแบคทีเรียจากช่องคลอดกับน้ำนมแม่ และเมื่อพวกเขาโตขึ้น ก็จะได้สัมผัสกับจุลินทรีย์จากแหล่งต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

แต่ยังไงก็ตามในงานวิจัยเมื่อปี 2020 จากสถาบันทรัพยากรธรรมชาติของประเทศฟินแลนด์ ได้จงใจทดลองเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการใช้ชีวิตของเด็กในเมือง 75 คนเปลี่ยนไปอยู่ในธรรมชาติ และพวกเขาพบว่ามันส่งผลลัพธ์ที่น่าทึ่งมาก

“เมื่อเราเห็นผลที่ได้ เราประหลาดใจมากเพราะมัน (ผลลัพธ์) แข็งแกร่งมาก” Aki Sinkkonen ผู้เขียนงานวิจัยกล่าว “การศึกษาของเราสามารถปูทางสำหรับแนวทางปฏิบัติในการป้องกันใหม่ ๆ เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทั่วโลก” 

งานวิจัยนี้เผยแพร่ในวารสาร Science Advances โดยได้ศึกษาสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ สถานรับเลี้ยงเด็กในเมืองสองเมืองของฟินแลนด์ ในศูนย์ 4 แห่งจากทั้ง 10 แห่งของการทดลอง จะมีสนามหญ้าที่เป็นพื้นป่าธรรมชาติ พร้อมด้วยพุ่มไม้เตี้ยและต้นไม้ต่าง ๆ ขณะที่เหลือจะเป็นแบบปกติซึ่งเป็นพื้นที่เล่นเปล่า ๆ ในการทดลองนี้ทีมวิจัยได้สนับสนุนให้เด็ก ๆ ออกไปวิ่งเล่นกับดินและต้นไม้เป็นเวลาเฉลี่ย 90 นาทีต่อวัน

“มันเป็นเรื่องง่ายเพราะพื้นที่สีเขียวเป็นสถานที่ที่น่าตื่นเต้นที่สุดในสนาม” Sinkkonen กล่าว หลังผ่านการทดสอบไป 28 วัน พวกเขาพบว่าจุลินทรีย์บนผิวหนังของเด็กที่ได้อยู่กับพื้นที่สีเขียวนั้น สูงกว่าเด็กที่อยู่ในลานสนามเปล่า ๆ มากถึง 1 ใน 3 อีกทั้งยังพบว่าความหลากหลายของแบคทีเรีย หรือ ไมโครไบโอมในลำไส้ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 

สิ่งที่น่าประหลาดใจยิ่งกว่าคือเมื่อนำเลือดมาวิเคราะห์ นักวิทยาศาสตร์ก็พบว่าสารประกอบในเลือดเกิดความเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อโปรตีน และเซลล์หลายหลากชนิดที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งรวมถึงไซโตไคน์ที่ต้านการอักเสบ

“ความผิดปกติหลายอย่างที่เพิ่มขึ้นในประชากรเมืองทางตะวันตกนั้นเกิดจากกลไกที่คอยควบคุมระบบภูมิคุ้มกันนั้นล้มเหลว” ศาสตราจารย์ Graham Rook นักจุลชีววิทยาทางการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยลอนดอนคอลเลจ กล่าว 

“การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การให้เด็กได้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีความหลากหลายทางชีวภาพช่วยเพิ่มตัวบ่งชี้ทางชีวภาพหลายตัวในกลไกการควบคุมที่จำเป็น” เขาเสริม “ทีมวิจัยจากฟินแลนด์เหล่านี้เป็นผู้นำในการนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ”

แต่เพราะอะไรธรรมชาติถึงช่วยเรา ?

มีทฤษฏีหนึ่งที่เรียกกันว่า สมมติฐานเพื่อนเก่า (Old-friends hypothesis) ซึ่งเสนอครั้งโดยศาสตราจารย์ Rook เมื่อปี 2003 โดยระบุว่ายิ่งเราสัมผัสกับจุลินทรีย์ในวัยเด็กได้หลากหลายมากเท่าไหร่ ไมโครไบโอมของเราก็ยิ่งหลากหลายมากขึ้นเท่านั้น และด้วยเหตุนั้นระบบภูมิคุ้มของเราก็จะรู้จักจุลินทรีย์ทั้ง ดีและไม่ดี ได้มากขึ้น 

กลับกัน การไม่สัมผัสกับเชื้อโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้ผู้คนมีแนวโน้มที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องมากขึ้น การศึกษาเมื่อปี 2008 แสดงให้เห็นว่าเด็กที่เติบโตในฟาร์มหรือบ้านที่มีสัตว์เลี้ยง มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้น้อยกว่า เมื่อเทียบกับเด็กที่อยู่ในเมืองหรือสภาพแวดล้อมที่ไม่มีสัตว์เลี้ยง 

ศาสตราจารย์ Rook เน้นย้ำว่าปัจจุบันแนวคิดด้านสุขอนามัยสำหรับเด็กนั้น สะอาดเกินไป โดยหมายความว่าไม่ให้เด็กสัมผัสอะไรเลย หรืออยู่ในสถานที่ปลอดเชื้อให้ได้มากที่สุด ซึ่งส่งผลกระทบตอนโต ไม่เพียงเท่านั้นเขายังชี้ให้เห็นว่าการใช้ยาปฏิชีวนะที่มากเกินไปในวัยเด็ก ก็สามารถกำจัดไมโครไบโอมที่ดีในลำไส้ได้มาก และการคลอดแบบผ่าตัดก็ทำให้ทารกไม่ได้สัมผัสแบคทีเรียเพื่อพัฒนาตัวเอง

ท้ายที่สุดแล้ว ปัจจัยดังกล่าวทำให้เด็กเสี่ยงที่จะภูมิแพ้มากขึ้น นอกจาไมโครไบโอมที่มีความสำคัญแล้ว ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากที่ส่งผลไม่ว่าจะเป็น คุณภาพอากาศ คุณภาพอาหาร หรือความเครียด แต่ยังไงก็ตาม ดร. Robert Wood ศาสตราจารย์ด้านกุมารเวชศาสตร์ กล่าวว่า โดยทั่วไปแล้วควรส่งเสริมให้เด็ก ๆ ออกไปข้างและเดินเล่นบนดิน 

“ระบบภูมิคุ้มกันที่กำลังพัฒนานั้นคล้ายกับสมอง” Thom McDade นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น กล่าว “ไม่มีใครเคลือบเคลงว่าทารกจำเป็นต้องได้ยินการสนทนาเพื่อผลักดันกระบวนการทางระบบประสาท ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาคำพูด ระบบภูมิคุ้มกันก็คล้ายกัน การพัฒนานั้นถูกผลักดันโดยการสัมผัสสิ่งแวดล้อม” 

เอาล่ะ สิ่งที่ต้องเน้นย้ำตรงนี้คือ เมื่อเราพูดถึงความสกปรก ไม่ได้หมายความว่าเด็ก ๆ ควรจะว่ายน้ำในแม่น้ำที่เต็มไปด้วยขยะ หรือวิ่งเล่นท่ามกลางซากเน่าเปื่อยของอาหารหรือขยะเปียกจนเชื้อราขึ้น แต่สกปรกในที่นี้คือการเปื้อนดินเปื้อนทรายที่เป็นพื้นที่สีเขียวซึ่งมีการรักษาความสะอาดอย่างเหมาะสม 

หากเด็ก ๆ อยากลงไปเล่นโคลนในสนามเด็กเล่น ก็อย่างกลัวที่จะเปื้อนเสื้อผ้าเลย เพราะผลที่ได้นั้นคุ้มค่ากับการไม่เป็นภูมิแพ้ที่ทำให้คุณไม่สบายในทุกฤดู

“การสัมผัสจุลินทรีย์ที่ช่วยให้ร่างกายของเราเรียนรู้ที่จะควบคุมการอักเสบที่มักไม่ติดเชื้อ” McDade บอก “พวกมันเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมปกติของมนุษย์มานานนับพันปี” 

พร้อมที่จะเปื้อนกันหรือยัง ?

Credit