Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

ประเพณีสงกรานต์ กับโจทย์สิ่งแวดล้อมที่ต้องร่วมแก้ - EnvironmanEnvironman

ประเพณีสงกรานต์ กับโจทย์สิ่งแวดล้อมที่ต้องร่วมแก้

ส่งต่อประเพณีสงกรานต์ ส่งต่อสิ่งแวดล้อมที่ดี สู่รุ่นลูก รุ่นหลานในอนาคต

‘วันสงกรานต์’ ถือเป็นประเพณีที่สำคัญของคนไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปี โดยมีวัฒนธรรมที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการทำบุญตักบาตร การรดน้ำดำหัว การสรงน้ำพระ ก่อเจดีย์ทราย การทำบังสุกุลอัฐิ การทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ และการเล่นสาดน้ำที่เป็นเอกลักษณ์ในวันสงกรานต์ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ล้วนมี ‘น้ำ’ เป็นองค์ประกอบสำคัญในพิธีตามความเชื่อ เพื่อแก้เคล็ดในช่วงฤดูร้อน ทำให้สังคมตั้งคำถามถึงการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าหรือไม่? และในสภาวะโลกร้อนเช่นนี้ วัฒนธรรมบางอย่างของประเพณีก็สามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน หลายหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ จึงรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมในวันสงกรานต์ ให้คนลดใช้น้ำ ลดสร้างขยะ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs)

โลกร้อนเกี่ยวอะไรกับวันสงกรานต์ ?

จากข้อมูลของกรมอุตินิยมวิทยา อุณหภูมิเฉลี่ยรายปีของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 – 2563 พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และในปี 2567 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไป และสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 74 ปี โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายนที่มีอากาศร้อนจัดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในหลายพื้นที่แห้งแล้ง และมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากสถิติที่เคยวัดได้ ซึ่งอยู่ที่ 44.2 องศาเซลเซียส

ข้อมูลดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือการเกิดสภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ยิ่งอุณหภูมิสูงมากเท่าใด การใช้น้ำเพื่อคลายความร้อนก็ยิ่งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายนที่มีเทศกาลสงกรานต์ มีการใช้น้ำในปริมาณมาก อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเรื่องการขาดแคลนน้ำมากขึ้น ซึ่งสถานการณ์น้ำในประเทศไทย พบว่า มีปริมาณน้ำใช้ภายในประเทศต่อคนในปี 2541 จำนวน 1,845 ลูกบาศก์เมตร ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของโลกและของเอเชีย และปัจจุบันมีการใช้น้ำของคนเมืองเฉลี่ยวันละ 200 ลิตร ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าจะไม่มีน้ำใช้!

สงกรานต์เราสนุก แต่คนเก็บขยะไม่สนุก

ทั้งนี้ ปริมาณขยะในช่วงวันสงกรานต์ปี 2567 มีขยะมากถึง 5,000 ตัน มีทั้งขยะกล่องโฟม, เศษพลาสติก, ขวดแก้ว, เศษอาหาร ตลอดจนปืนฉีดน้ำที่กลายเป็นขยะเกลื่อนตามท้องถนน ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่แล้วเกือบพันตัน ขยะเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแน่นอน ส่วนมากเปื้อนและรีไซเคิลไม่ได้ ส่งกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งพาหะนำโรค หากจัดการไม่ดี ขยะอาจปนเปื้อนเข้าสู่ดิน ทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหาย หรือลงสู่แหล่งน้ำ เป็นต้นเหตุของน้ำเน่าเสีย รวมถึงทำลายระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตที่อาจเผลอกินเข้าไป และมนุษย์ก็บริโภคต่อ กลายเป็นห่วงโซ่อาหารที่สะสมสารพิษ และทำให้ไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว  

จากรายงาน ผลกระทบดังกล่าวมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ในวันสงกรานต์ทั้งสิ้น ซึ่งล้วนสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แล้วเราจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร ให้ประเพณีสงกรานต์อยู่คู่คนไทย โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

เล่นสงกรานต์อย่างไร ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไป เริ่มตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในวันสงกรานต์มากขึ้น จึงมีการเสนอแนวทางและวิธีการต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เพื่อเตรียมพร้อมปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงให้ทันกระแสโลก แต่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามเอาไว้

ซึ่งอาจเริ่มต้นจากอุปกรณ์การเล่นน้ำสงกรานต์ที่ทุกคนมักใช้ ‘ปืนฉีดน้ำ’ ซึ่งทำมาจากพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เปลี่ยนมาเป็นขันหรือกระบอกฉีดน้ำ ที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้อีกหลายปี และการไม่ปล่อยให้น้ำล้น ก็ช่วยประหยัดน้ำได้อย่างมหาศาล แม้แต่การสรงน้ำพระหรือรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ อาจนำน้ำไปรดต้นไม้ต่อได้ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้น้ำ และสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการเล่นน้ำจากเดิมตามท้องถนน ไปยังแหล่งน้ำ หรือสระว่ายน้ำก็สามารถคลายร้อนได้เช่นกัน

ต่อมาการลดขยะในวันสงกรานต์ อาจใช้ถุงผ้าแทนถุงหลาสติก การพกกระบอกน้ำส่วนตัว การแยกขยะ รวมถึงวิธีการจัดการขยะอย่างถูกต้อง ไม่สร้างขยะหรือให้น้อยที่สุด และที่สำคัญคือการทิ้งขยะให้ลงถัง เพื่อลดความเสี่ยงที่ขยะอาจปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมได้

อย่างมหาสงกรานต์ในปี 2567 ที่ผ่านมา กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวมถึงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดจุดคัดแยกขยะ บริเวณถนนราชดำเนินกลางและพื้นที่สนามหลวง ผลักดันไทยให้เป็น Hub Of Festival เต็มรูปแบบ และมีหน่วยงานต่าง ๆ รับขยะไปจัดการต่ออย่างถูกวิธี เช่น กรุงเทพมหานครส่งต่อขยะทั่วไปให้แก่ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม, โครงการไม่เทรวม รับขยะเศษอาหาร เพื่อทำปุ๋ยหมัก, โครงการ YOUเทิร์น จาก GC รับขวดน้ำพลาสติกสู่กระบวนการรีไซเคิลใหม่ และมูลนิธิ เทอร์ราไซเคิล ไทย รับขยะประเภทปืนฉีดน้ำ เพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกและนำไปรีไซเคิลใหม่ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่ให้ความร่วมมือในการจัดการขยะในช่วงเทศกาลสงกรานต์

บางบ้านอาจใช้วันสงกรานต์ เป็นวันครอบครัวที่สังสรรค์กันในบ้าน พบปะญาติมิตร หรือนั่งรถคันเดียวไปด้วยกัน เพื่อลดปัญหาการจราจร และลดมลภาวะจากควันรถ รวมถึงควรตรวจสภาพรถเพื่อความปลอดภัยต่อตนเอง และสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม เทศกาลสงกรานต์จัดขึ้นทุกปี และสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งปัญหาขยะ การจราจรติดขัด ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรัง แม้จะมีการรณรงค์ต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ปัญหาเหล่านี้ก็ยังไม่หมดไป หากไม่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

สืบสานประเพณี ส่งต่อสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่ลูกหลาน

สงกรานต์ ถือเป็นประเพณีที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน มีวัฒนธรรมที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งบางครั้งอาจสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างสิ้นเปลือง และการสร้างมลพิษจากขยะในวันสงกรานต์ ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนที่รุนแรงมากขึ้น เห็นได้จากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทุกปี 

หน่วยงานต่าง ๆ และความร่วมมือจากภาคประชาชนจึงเสนอแนวทางการแก้ปัญหา แม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่ก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นได้ เช่น การใช้ขันแทนปืนฉีดน้ำ การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การไปรถคันเดียวกันเพื่อประหยัดน้ำมัน และอีกสารพัดวิธีการรักษาสิ่งแวดล้อมในวันสงกรานต์  

นอกจากนี้ วิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการแก้ปัญหา ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในวันสงกรานต์  และสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นได้ เช่น เป้าหมายที่ 6 ที่ว่าด้วยการจัดการเรื่องน้ำ การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า เป้าหมายที่ 11 การสร้างเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน ลดปัญหาการจราจร และเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อคลายร้อนในช่วงสงกรานต์ และเป้าหมายที่ 13 แก้ปัญหาโลกร้อน ลดการสร้างหรือเผาขยะ ที่อาจก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน

ประเพณีสงกรานต์จะยังคงอยู่ดังเช่นเดิม เพียงแต่การสร้างวัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม จะช่วยรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีให้ทันต่อกระแสโลก และสังคมที่เปลี่ยนไป เพื่อคนรุ่นใหม่ที่ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อมที่คู่ควรแก่การอนุรักษ์ไว้ เหมือนดั่งการรักษาประเพณีสงกรานต์ให้ยืนยาวและยั่งยืนสืบไป

ที่มา

https://www.thestorythailand.com/22/02/2024/124189

https://www.finearts.go.th/chantaburilibrary/view/33665-เรื่อง–วันสงกรานต์-13-เมษายน-#:~:text=สมัยก่อนถือวันสงกรานต์,ความร้อนในเดือนเมษายน

https://library.stou.ac.th/2025/04/ep24

https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_7609944

https://multimedia.anamai.moph.go.th/infographics/info493_songkran

https://www.springnews.co.th/keep-the-world/environment/837359

https://tmd.go.th/ClimateChart/annual-mean-temperature-in-thailand

https://tmd.go.th/climate/summaryyearly

https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/92711

https://www.bltbangkok.com/bangkok-update/4879/

https://www.pwa.co.th/support-units/service

https://www.springnews.co.th/keep-the-world/environment/849532

https://rmuti.ac.th/user/thanyaphak/Web%20EMR/Web%20IS%20Environmen%20gr.4/Mola4.html

https://thailand.un.org/th/sdgs

https://sdgdashboard.nesdc.go.th

https://www.thairath.co.th/futureperfect/articles/2778666

https://thaibizvision.com/archives/27893

Credit

Waranya W.

นักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่เรียกสั้น ๆ ว่า ‘มนุษย์เป็ด’