Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

โลกได้รับผลกระทบอะไร เมื่อ ‘เอลนีโญ’ สิ้นสุดแล้ว ‘ลานีญา’ กำลังเข้ามา - EnvironmanEnvironman

โลกได้รับผลกระทบอะไร เมื่อ ‘เอลนีโญ’ สิ้นสุดแล้ว ‘ลานีญา’ กำลังเข้ามา

ลานีญากำลังมา ในขณะที่มนุษย์โลกก็ยังคงปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โลกจึงไม่ได้หยุดพัก แต่มันจะรุนแรงขนาดไหน?

‘เอลนีโญ’ (El Niño) สิ้นสุดแล้ว ‘ลานีญา’ (La Niña) กำลังเข้ามา เมื่อมหาสมุทรแปซิฟิกเสียสมดุล สภาพอากาศโลกก็จะติดตามไปทำให้คาดเดาได้ยากและรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ปัจจัยเหล่านี้กำหนดรูปแบบสภาพอากาศทั้งโลกได้อย่างไร? 

มหาสมุทรแปซิฟิกนั้นเป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีขนาดใหญ่เกือบถึง 2 เท่าของมหาสมุทรแอตแลนติก โดยพื้นที่กว้างใหญ่เหล่านี้สร้างกระแสลมและอุณหภูมิที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ที่เรียกว่า ‘ปรากฏการณ์เอนโซ่’ (ENSO) หรือ El Niño Southern Oscillation 

ซึ่งจะประกอบด้วย 3 ระยะได้แก่ ‘เอลนีโญ’ (El Niño), ‘ลานีญา’ (La Niña) และระยะกลางที่อยู่ระหว่างสองระยะก่อนหน้า แต่ทั้งหมดนี้ต่างส่งผลต่อปริมาณน้ำฝนตามฤดูกาล ความร้อน พายุ และภัยแล้งทั่วโลก โดยในสถานการณ์ปกติแล้ว นักวิทยาศาสตร์สามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้อย่างค่อนข้างแม่นยำ แต่เมื่ออุณหภูมิโลกพุ่งสูง มหาสมุทรแปซิฟิกก็แปรปรวน และมันทำให้ทุกอย่างวุ่นวาย

“ในศตวรรษที่ 20 เราจะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญแบบสุดขั้วประมาณ 1 ครั้งทุก 20 ปี” Wenju Cai หัวหน้านักวิจัยจากองค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งสหราชอาณาจักร กล่าว “แต่ในอนาคตและในศตวรรษที่ 21 โดยเฉลี่ยแล้วเราจะเจอปรากฏการณ์สุดขั้วประมาณ 1 ครั้งในทุก 10 ปี ดังนั้นมันจึงเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า” 

ปรากฏการณ์เอนโซ่นั้นจะสลับระหว่าง เอลนีโญ และ ลานีญา กันทุก ๆ 3-7 ปีในช่วงที่ผ่านมา ทาง NOAA หรือองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐฯ ระบุว่าในตอนนี้เอลนีโญกำลังสิ้นสุดลงแล้ว และมีโอกาส 60% ที่จะเกิดลานีญาในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมปี 2024 

แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กังวลคือ “ลานีญาครั้งนี้เป็นลานีญาที่คาดเดาไม่ได้ คำถามคือมันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่และรุนแรงแค่ไหน?” Michael McPhaden นักวิทยาศาสตร์อาวุโสของ NOAA กล่าว 

ลานีญาคืออะไร?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ลานีญาคือรูปแบบสภาพอากาศรูปแบบหนึ่งในปรากฏการณ์เอนโซ่ โดยจะทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียฝนตกหนัก และทวีปอเมริกาใต้แห้งแล้งแทน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดพายุเฮอริเคนถล่มมหาสมุทรแอตแลนติกเพิ่มมากขึ้นด้วย 

แต่เรื่องนี้ มนุษย์โลกกำลังทำให้ทุกอย่างซับซ้อนขึ้นเมื่อยังคงปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนเกินที่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างต่อเนื่อง ท้ายที่สุดมันก็ไปทำให้อุณหภูมิของโลกและมหาสมุทรเพิ่มขึ้น

[หากคุณสงสัยว่าเอลนีโญคืออะไร ง่ายที่สุดเลยมันคือสิ่งที่ตรงข้ามกับลานีญา นั่นคือทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียแห้งแล้ง และทำให้ทวีปอเมริกาใต้ฝนตกหนักแทน]

ปรากฏการณ์เอนโซ่มีผลต่อสภาพอากาศส่วนต่าง ๆ ของโลกได้อย่างไร? 

สิ่งเหล่านี้ต่างเป็นผลพวงมาจากอุณหภูมิของน้ำในมหาสุทรแปซิฟิก กล่าวคือในช่วงที่เกิดลานีญา น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกจะเย็นกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเอลนีโญ ซึ่งจะทำให้แปซิฟิกบริเวณเส้นศูนย์สูตรดูดซับพลังงานความร้อนจากชั้นบรรยากาศ 

ความแตกต่างของอุณหภูมิดังกล่าวจะสร้างกระแสลม Jet stream ซึ่งเป็นแถบอากาศที่เคลื่อนที่เร็วและแคบและอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง โดยจะพาความชื้นและปัจจัยทางสภาพอากาศไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในโลก นอกจากจะทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงแล้ว ยังทำให้ปริมาณฝนและความร้อนในบางภูมิภาครุนแรงขึ้นมากขึ้น

“ในฤดูฝนจะมีฝนตกหนักมา แต่ถ้าเป็นฤดูแล้งก็มีแนวโน้มที่จะแห้งแล้งมาก” Mickey Glantz นักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาผลกระทบของปราฏการณ์เอนโซ่ จากมหาวิทยาลัยโคโลราโดโบลเดอร์ กล่าว 

ดังนั้นมันจึงหมายความสำหรับประเทศไทยในตอนนี้ที่เป็นฤดูฝนว่า ‘จะเกิดฝนตกหนักมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม’ 

แต่ผลที่ตามมาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ มันทำให้มีโอกาสเกิดพายุเฮอริเคนที่สุดขั้วในมหาสมุทรแอตแลนติกมากยิ่งขึ้น โดยเกิดจากการปัจจัย 2 ประการได้แก่ อุณหภูมิของน้ำและเสถียรภาพอากาศ

มหาสมุทรที่วุ่นวายทำให้สภาพอากาศโลก ‘วิปริตร’ 

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ามหาสมุทรต้องมีอุณหภูมิประมาณ 26°C หรือมากกว่านั้นจึงจะเกิดเฮอริเคนได้ และอากาศเหนือมหาสมุทรจะตัองคงที่ แต่ในปีที่ผ่านมาโลกเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญซึ่งทำให้แปซิฟิกร้อนขึ้น ซึ่งยังคงถือว่าร้อนจัดในทุกวันนี้ 

ขณะเดียวกันโลกปัจจุบันกำลังเข้าใกล้ปรากฏการณ์ลานีญาซึ่งทำให้อากาศมีเสถียรภาพมากขึ้น ท้ายที่สุดทั้งสองปัจจัย (มหาสมุทรร้อนกับอากาศเสถียร) ก็จะก่อให้เกิดพายุเฮอริเคนจำนวนมาก 

บริษัท Weather Company และ Atmospheric G2 คาดการณ์ว่าฤดูพายุเฮอริเคนในปี 2024 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนถึง 30 พฤศจิกายน จะมีพายุที่มีชื่อเรียก 24 ลูก มากกว่าค่าเฉลี่ยที่ 14 ลูก ส่วนผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ ต่างให้น้ำหนักไปในทางเดียวกัน 

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโคโลราโดคาดว่าจะมีพายุที่มีชื่อเรียก 23 ลูก นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียคาดว่าจะมีพายุที่มีชื่อเรียก 33 ลูกในมหาสมุทรแอตแลนติกในปีนี้ แต่อย่างที่เห็น ทั้งหมดระบุว่าจะมีพายุมากกว่าค่าเฉลี่ยในระดับ ‘มากถึงมากที่สุด’ 

ประเด็นก็คือสิ่งเหล่านี้คาดการณ์ได้ยากยิ่งขึ้น “(รูปแบบสภาพอากาศปัจจุบัน) ไม่ใช่ระบอบภูมิอากาศแบบเดียวกับที่เราเคยทำนายไว้ก่อนหน้านี้ ดังนั้นมันจึงพยากรณ์ได้ยากขึ้น” Glantz กล่าว แม้แต่เอลนีโญเองก็ตาม หลายเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างคาดเดาไม่ได้ซึ่งแต่ละครั้งสุดขั้วอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

พื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดหลายแห่งของโลก เช่น ภูมิภาคแอนดีสในอเมริกาใต้ แอฟริกาใต้สะฮารา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงระหว่างปีที่มีฝนตกและปีที่มีอากาศแห้ง ระหว่างฤดูร้อนที่สงบและมีพายุ และระหว่างฤดูหนาวที่อุ่นขึ้นและเย็นลง

สิ่งสำคัญคือทั้งประชาชนทั่วไปและรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ จะต้องตระหนักถึงความรุนแรงด้านวิกฤตสภาพอากาศที่กำลังเกิดขึ้นในโลก พร้อมกับทำความเข้าใจถึงพื้นที่ที่อยู่อาศัยว่าจะได้รับผลกระทบอะไรเพิ่มเติม และมีแนวทางรับมือหรือแก้ไขอย่างไร

“มันน่าเสียดายถ้าเราท้อแท้กับการเปลี่ยนแปลงในระดับใหญ่เหล่านี้และสรุปว่า ‘ไม่มีอะไรที่เราทำได้'” John Burns นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล จากมหาวิทยาลัยฮาวาย กล่าว “มันไม่ง่ายอย่างนั้นแน่นอน … และเราต้องการกลยุทธ์ที่อิงตามสถานที่เพื่อปกป้องระบบเหล่านี้”

แล้วประเทศไทยพร้อมแค่ไหนกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป?

ที่มา

Anthropogenic impacts on twentieth-century ENSO variability changes I Nature

How La Niña will shape heat and hurricanes this year I Vox

EL NIÑO/SOUTHERN OSCILLATION (ENSO) DIAGNOSTIC DISCUSSION I CLIMATE PREDICTION CENTER/NCEP/NWS

When climate change throws the Pacific off balance, the world’s weather follows I Popular Science

Credit