Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

Climate Education – แก้ไขวิกฤตโลกร้อนจากห้องเรียน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในตอนนี้ เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญอย่างมาก

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในตอนนี้ เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นประเด็นภาวะโลกร้อน การตัดไม้ทำลายป่า ไปจนถึงมลพิษในอากาศ ซึ่งในปัจจุบัน เราเห็นเยาวชนคนรุ่นใหม่มีความใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมกันเป็นอย่างมาก และมักจะออกมาเรียกร้องให้ผู้นำร่วมกันแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังอยู่บ่อยครั้ง

งานศึกษาชิ้นหนึ่งเผยว่า จากการสำรวจเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 16 – 25 ปี จำนวน 10,000 คนทั่วโลก เยาวชนกว่า 84% ระบุว่าพวกเขามีความกังวลเรื่องผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศในระดับปานกลาง โดยปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากความรู้สึกว่ารัฐบาลยังไม่มีแผนการรับมือที่ดีพอ ในขณะที่เยาวชนกว่า 45% เผยว่า พวกเขามีความวิตกกังวลเรื่องสภาพภูมิอากาศ (Climate Anxiety) ซึ่งอาจนำไปสู่ความเครียดและความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง

ทว่า ท่ามกลางความกังวลของคนรุ่นใหม่ การสำรวจจาก UNESCO กลับพบว่า นโยบายด้านการจัดการศึกษาใน 78 ประเทศทั่วโลกมีการกล่าวถึงเรื่องสภาพภูมิอากาศอยู่ประมาณ 47% เท่านั้น และมีการกล่าวเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพอยู่เพียงแค่ 19% ทั้ง ๆ ที่ Climate Education หรือการศึกษาด้านสภาพภูมิอากาศถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการต่อสู้กับวิกฤตโลกรวน ผ่านการปลูกฝังจิตอนุรักษ์ การส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเสริมสร้างพลังเพื่อให้เด็ก ๆ รู้ว่าการตัดสินใจของพวกเขาก็มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงโลกของเรา

แต่ถึงแม้ว่าครู ผู้ปกครอง และนักเรียนในหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ และสหาราชอาณาจักร จะเห็นด้วยกับการนำเรื่องปัญหาสภาพภูมิอากาศเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา แต่ บุคลากรทางการศึกษากว่า 70% ในสหราชอาณาจักรระบุว่า พวกเขาไม่เคยได้รับการฝึกอบรมให้สอนเรื่องนี้ ทำให้รู้สึกว่ายังไม่มีความพร้อมที่จะสอนนักเรียน

ถึงอย่างนั้น บางประเทศก็เริ่มมีการนำ Climate Education เข้ามาอยู่ในหลักสูตรแล้ว เช่น อิตาลี ที่มีการนำ Climate Education เข้ามาอยู่ในการเรียนการสอนตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2020 และเป็นประเทศแรกในโลกที่มี Climate Education เป็นภาควิชาบังคับ ซึ่งหลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญจาก Columbia University และ Oxford University เพื่อให้มั่นใจว่าเนื้อหาต่าง ๆ จะมีความเหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย

โดยนักเรียนทุกชั้นปีจะได้เรียนเรื่อง ‘สภาพภูมิอากาศและการพัฒนาไปอย่างยั่งยืน’ ประมาณ 33 ชั่วโมงต่อปีการศึกษาผ่านการสอดแทรกเนื้อหาเข้าไปในวิชาอื่น ๆ ที่เด็ก ๆ ต้องเรียนอยู่แล้ว อย่าง ภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ เพื่อทำให้เด็ก ๆ รู้สึกว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัว นอกจากนี้ เด็กนักเรียนในช่วงอายุระหว่าง 6 – 19 ปีจะได้ใช้เวลาอาทิตย์ละหนึ่งชั่วโมงเพื่อเรียนเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษทางทะเล การใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน และทรัพยากรหมุนเวียน

ส่วนในประเทศไทยก็มีโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้นำเอาประเด็นสิ่งแวดล้อมและหลักสูตรของกระทรวงมาบูรณาการ และเป็นหนึ่งใน ‘วิชาเลือก’ ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย ซึ่งนักเรียนมัธยมต้นสามารถเลือกวิชา อย่าง “กินกอบกู้โลก” เพื่อเรียนรู้วิธีการบริโภคอย่างยั่งยืน ส่วนนักเรียนในชั้นมัธยมปลายก็สามารถเลือกวิชา “รู้สู้โลกร้อนและภัยพิบัติ” ที่จะสอนเรื่องผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติ โดยเป็นการสอนแบบเน้นกิจกรรมและกรณีศึกษา เพื่อให้เด็กเรียนรู้และเข้าใจว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ได้อยู่ไกลตัวแต่อย่างใด

ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ไม่ใช่อะไรที่แก้ไขได้ด้วยศาสตร์แขนงเดียว และ Climate Education รวมถึง Eco Education ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้เราปลูกฝังจิตสำนึกตั้งแต่ห้องเรียน ดังนั้น การใส่วิชาเหล่านี้เข้ามาเป็นวิชาบังคับก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะในวันที่เด็กและเยาวชนของเราเติบใหญ่ พวกเขาจะกลายเป็นผู้ที่ต้องเผชิญกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในขณะเดียวกัน การสอนเนื้อหาเหล่านี้จะทำให้พวกเขาได้คิดวิเคราะห์ หาถึงผลกระทบของการกระทำต่าง ๆ ของตัวเอง ซึ่งก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็น แต่อาจจะยังขาดอยู่ในการศึกษาไทย นอกจากนี้ อีกเรื่องหนึ่งที่เราควรให้ความสำคัญไม่แพ้กันก็คือ การดูแลสุขภาพจิตภายใต้ภาวะโลกรวน และการจัดการกับ Climate Anxiety เพราะอาจจะนำมาซึ่งความรู้สึกสิ้นหวัง และหมดกำลังใจกับโลกใบนี้

ดังนั้น ท่ามกลางสภาวะเช่นนั้น ถึงเวลาแล้วหรือไม่ ที่การเรียนรู้สู้วิกฤตโลกรวนจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาไทยอย่างเต็มรูปแบบ

Credit

Environman

Environman คือหนึ่งในสื่อออนไลน์ที่นำเสนอปัญหาสิ่งแวดล้อม เป้าหมายคืออยากทำให้โลกใบนี้ดีขึ้น ไม่เฉพาะการเป็นสังคมออนไลน์ที่แข็งแกร่ง แต่หวังให้ความรู้นำไปสู่การลงมือทำเพื่อเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นได้จริง