Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

How to แก้ปัญหาฉบับไทย ๆ ทำยังไงกับเหล่าเอเลี่ยนสปีชีส์? - EnvironmanEnvironman

How to แก้ปัญหาฉบับไทย ๆ ทำยังไงกับเหล่าเอเลี่ยนสปีชีส์?

ไล่ก็ไม่ได้ กินก็ไม่ไหว พลิกวิกฤตยังไงล่ะทีนี้?

เป็นกระแสมาสักพักแล้วกับการรุกรานของสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นอย่าง ‘ปลาหมอคางดำ’ ที่แพร่ระบาดไปในหลายจังหวัดอย่างรวดเร็ว แถมยังกินบุฟเฟ่กุ้ง หอย ปู ปลา ของชาวบ้านจนเงินที่ลงทุนจมไปอยู่ในท้องปลาหมอแทบหมด 

แต่เจ้าปลาหมอคางดำก็ไม่ใช่วิกฤติแรกที่ไทยจะต้องเผชิญ พืชบางชนิดหรือสัตว์บางตัวที่เราเห็นมานานจนชินตา ก็อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่มาจากการนำเข้ามาของมนุษย์ และมีเหตุบานปลายจนทำลายระบบนิเวศดั้งเดิม โดยปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีสิ่งมีชีวิตจากถิ่นอื่น มาตั้งรกรากอาศัยในดินแดนนี้มากกว่าร้อยสายพันธุ์ และบางชนิดก็ก่อปัญหาได้อย่างไม่รู้จบ

เราไปดูกันดีกว่าว่าที่ผ่านมา ชาวไทยเรารับมือกับการ ‘รุกราน’ จากเหล่าเอเลี่ยนสปีชีส์ยังไงบ้าง

ผักตบชวา มหาภัยในสายคลอง

Photo by Yosafat Herdian on Unsplash

มาเริ่มกันที่ศัตรูพืชคู่อาฆาตแหล่งน้ำไทย ‘ผักตบชวา’ ไม้น้ำสีเขียวที่ลอยเด่นเป็นสง่าอยู่แทบทุกสายคลอง เพราะระบาดในไทยมานานหลักร้อยปี ตั้งแต่ช่วงน้ำท่วมสมัยรัชกาลที่ 5

ด้วยคุณสมบัติที่สามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว มันจึงใช้เวลาไม่นานนักที่จะแผ่ตัวปกคลุมหน้าน้ำให้มิดได้ ซึ่งขัดขวางการไหลของน้ำในคลอง ทำให้น้ำระบายได้ช้าลงในตอนน้ำท่วม ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการสัญจรทางน้ำ และท้ายสุดคือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงต่างๆ แถมยังเป็นบ้านของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคอีกด้วย 

ในส่วนของการกำจัดผักตบชวา ถ้ามันกินได้ คงไม่วายได้เห็นเมนูเด็ดร้อยแปดพันอย่าง แต่น่าเสียดายที่เราไม่สามารถนำผักตบชวามาปรุงอาหารกินได้ เพราะน้ำในคลองซึ่งเป็นแหล่งอาหารหลักของมันไม่สะอาดเท่าไหร่นัก การกินผักตบชวาจึงเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยปลอดภัย เลยต้องหาประโยชน์ด้านอื่นๆ แทน

ปัญหาระดับชาติอย่างการรุกรานของผักตบชวา ถือเป็นเรื่องที่ต้องสุมหัวกันแก้ไข หลายสถาบันจึงได้มีการวิจัยเพื่อหาประโยชน์จากเจ้าผักเอเลี่ยนชนิดนี้ เพราะมันมีมากจนกำจัดไม่ไหว ซึ่งก็นับว่าได้ผลดี เพราะในปัจจุบันเราได้เห็นสารพัดประโยชน์จากผักตบชวา ทั้งสินค้าจักสาน ตัวกันกระแทก ไปจนถึงการใช้นวัตกรรมช่วยพัฒนาจนเกิดเป็นเส้นใยจากผักตบชวา ที่นำไปผลิตเป็นเสื้อ หมวก หรือผลิตภัณฑ์มากมาย 

ในน้ำมีปลา ในนามีหอยเชอรี่

Photo: RMA Agriculture

ต่อด้วยอีกหนึ่งศัตรูพืชที่นำเข้ามาเพื่อนำมาเลี้ยงประดับตู้ปลา แต่หลังจากที่มันมีปริมาณมากเกินจากที่ต้องการ จึงมีคนนำมาปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะ และเกิดเป็นการแพร่ระบาดในช่วงปี 2531 ตามท้องนาหลายจังหวัด พร้อมเป็นปฏิปักษ์ต่อชาวนาตั้งแต่นั้นมา เพราะมันดันชอบกินยอดไม้อ่อนๆ อย่างกล้าข้าวเสียเหลือเกิน และทำให้ชาวนาเสียรายได้จากการที่กล้าข้าวเสียหายเป็นปริมาณมาก แถมยังสามารถออกไข่ได้คราวละหลักพันฟอง ภายในเวลาเพียง 2-3 เดือน

ภายหลังเมื่อชาวไทยเราได้รู้ว่า แค่เอาเส้นเมาที่ตัวน้องออกเราก็สามารถนำหอยเชอรี่มาปรุงสารพัดเมนูอาหารเสิร์ฟขึ้นโต๊ะได้เลย ไม่ว่าจะ ต้ม ผัด แกง ทอด ต้ม ยำ ตำ แกง ก็ได้ ทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ไม่นานจากตัวร้ายทำลายข้าวก็ได้กลายเป็นเหยื่อเสียเอง

มาจนถึงตอนนี้หอยเชอรี่กลายเป็นอีกหนึ่งสัตว์เศรษฐกิจ และเป็นอีกหนึ่งช่องทางการสร้างรายได้ของชาวบ้านจากการเก็บหอยมาขาย ไปจนถึงการทำฟาร์มหอยเชอรี่เป็นธุรกิจสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเลยด้วย

ปลาซัคเกอร์ อึด ถึก ทน ตกน้ำก็ไหล ตกแดดไม่ไหม้

Photo: FB/บ่อตกปลาบำรุงเกาะฟาร์ม นครราชสีมา Bamrungko Farm Fishing Korat

และตัวอย่างสุดท้ายนั่นก็คือ ‘ปลาซัคเกอร์’ อีกหนึ่งสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่รุกรานระบบนิเวศไทย จากความสะเพร่าของคนบางกลุ่ม ที่นำเข้ามาเพื่อความสวยงามของตู้ปลา แต่ไม่รู้ด้วยเหตุผลอะไร ถึงได้หลุดไปอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติได้ และระบาดไปหลายสายแม่น้ำตั้งแต่เจ้าพระยาสู่แม่น้ำโขง

ความอึด ถึก ทน ของเจ้าปลาซัคเกอร์ ทำให้เราไม่สามารถจำกัดมันด้วยการนำมาตากแดดให้แห้งไปเฉยๆ ได้ เพราะต่อให้วางไว้กลางแดดค่อนวัน พอลงน้ำไปก็กลับมาว่ายน้ำได้อย่างเดิม และดำรงชีวิตด้วย พืชน้ำ สัตว์น้ำตัวเล็กๆ และคุกคามสัตว์น้ำท้องถิ่น จนส่งผลให้ประชากรสัตว์ท้องถิ่นลดน้อยลงไป

แล้วทำไมไม่กินล่ะ ?

ในช่วงที่มีการระบาดแรกๆ ได้มีการรณรงค์ให้จับปลาซัคเกอร์มาบริโภค เหมือนกับวิกฤตปลาหมอคางดำในตอนนี้ ทว่าคนก็ไม่ค่อยนิยมเพราะหน้าตามันไม่ชวนให้หิวอาหารเท่าไหร่นัก การแก้ปัญหาปลาซัคเกอร์เลยทำได้เพียงใช้เวลาให้ระบบปรับตัวกับสมาชิกใหม่ตัวนี้ และยอมรับว่ามันเป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศของเราไปแล้ว

บทเรียนหน้าใหม่: ปลาหมอคางดำ

มาจนถึงมหันตภัยล่าสุดที่กำลังเป็นประเด็นร้อนกรุ่น อย่าง ‘ปลาหมอคางดำ’ ที่ระบาดได้กว้างและไกลถึง 19 จังหวัดในประเทศไทย เพราะมันมีความสามารถในการเอาตัวรอดอยู่ได้ทุกแหล่งน้ำ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย หรือแม้กระทั้งน้ำเค็ม แต่สิ่งที่เลวร้ายที่สุด มันเป็นปลาจอมตะกละกินทุกอย่างที่ขวางหน้า ในกระชังที่เคยมีกุ้ง หอย ปู ปลา กลับกลายเป็นปลาหมอคางดำเสียอย่างนั้น 

ชะตากรรมของปลาหมอคางดำก็ไม่พ้นไปลงเอยอยู่ หม้อและกระทะเพราะหลังจากการระบาดไม่นาน แต่ละท้องที่ก็ได้มีการรณรงค์ให้ช่วยกันจับมาบริโภค บางท้องถิ่นได้มีการแข่งขันจับปลาหมอคางดำมาแลกเป็นเงิน โดยขายให้โรงงานนำไปทำปุ๋ยและอาหารสัตว์

สถานการณ์ของปลาหมอคางดำในตอนนี้ เรียกได้ว่าอยู่ในช่วงการปรับให้ลงตัวกับระบบนิเวศ แต่การจับไปกินหรือหาวิธีการกำจัด ก็ทำได้เพียงทำให้ปัญหาทุเลาลง และรอเวลาที่ผู้ก่ออาชญากรรมสิ่งแวดล้อมที่นำเข้าปลาชนิดนี้ มารับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับระบบนิเวศ รวมถึงสิ่งที่ประชาชนสูญเสียไปด้วย

ระบบนิเวศก็คือสายน้ำที่ไม่ไหลย้อนกลับ

จากทุกกรณีที่ได้เล่าไป เราจะเห็นได้ว่าคนไทยมีทางออกให้แทบจะทุกปัญหา แถมยังพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้อย่างดี แต่ก็ยังมีส่วนที่เราแก้ไม่ได้ อย่างเจ้าปลาซัคเกอร์ที่ต้องปล่อยให้ธรรมชาติเยียวยาตัวเอง 

ถึงแม้ว่าเราจะจัดการวิกฤตต่างๆ ได้ และเอเลี่ยนสปีชีส์เหล่านั้น ก็ได้กลายเป็นสิ่งมีชีวิตประจำถิ่นในท้ายที่สุด แต่ทางเลือกที่ดีกว่าอาจเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา การนำสิ่งมีชีวิตอื่นเข้ามาในประเทศ เสมือนกับการชักศึกเข้าบ้าน หากว่ามันเล็ดลอดออกไปยังระบบนิเวศแล้ว เราจะไม่มีทางทำให้ระบบนิเวศกลับมาเป็นอย่างเดิมได้อีก

เหมือนกับที่ ดร.สุชนา ชวนิทย์ ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “ไม่ว่าอย่างไร ระบบนิเวศก็จะเปลี่ยนไป ขึ้นอยู่กับว่ามันจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน” เมื่อเทียบกับกรณีล่าสุดอย่างปลาหมอคางดำ ที่หลายหน่วยงานเชื้อเชิญให้เราบริโภคเพื่อกำจัดมันให้หมดไป ทว่าเราทำได้เพียงกินเพื่อบรรเทาความรุนแรง จากพลังทำลายล้างของมัน รอเวลาที่การแพร่พันธุ์ของมันคงที่ และพยายามพลิกแพลงหาประโยชน์จากมันให้ได้

สุดท้ายเราก็ต้องยอมรับในการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ ‘ปลาหมอคางดำ’ ก็จะผันตัวเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่เราต้องกลับมาเปิดดูซ้ำ 

ฉะนั้นแล้วการไม่สร้างปัญหาคือทางออกที่ดีที่สุด หากจำเป็นจะต้องนำสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นเข้ามาในประเทศ ก็ต้องมาพร้อมกับความเข้มงวดในการจัดการ วางแผนนโยบายอย่างรัดกุม ตั้งแต่การขออนุญาต การนำเข้า การควบคุมดูแล รวมไปถึงการกำหนดโทษสำหรับผู้ที่ควรรับผิดชอบ หากเกิดเหตุการณ์เอเลี่ยนสีปีชีส์หลุดไปสร้างความเสียหายแก่สาธารณะอีกครั้ง

ไม่ว่าใครจะเป็นคนนำสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นทั้งหลายเข้ามา คนที่จะต้องรับมือกับความเสียหายต่างๆ ตลอดมา ก็มีเพียงประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องเท่านั้น

อ้างอิง

https://thbif.onep.go.th/specifics/invasive-species/browse?status=1

https://onedptportal.dpt.go.th/portal/apps/MapSeries/index.html?appid=a1b5bc95edae4533a606a2f8a2a869f8

https://www.bangkokbiznews.com/tech/973845

https://thecitizen.plus/node/47399

https://www.amarintv.com/news/detail/224099

https://www.kroobannok.com/422

https://old.khonkaenlink.info/home/news/8459.html

https://thecitizen.plus/node/87088

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2801885

การสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิทย์ รองผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ  และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล  คณะวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Credit

22°C

Part-time Writer, Full-Time Lover สาวสระบุรี มีลูกเป็นต้นไม้ ไม่ชอบเมืองใหญ่ อยากไปสำรวจโลก