จิตใต้สำนึกสั่งให้ ‘ฉันต้องมีลูก’ เพนกวินจึงไปรับ (ลัก) ลูกตัวอื่น

เรื่องราวของลูกเพนกวินในแอนตาร์กติกาไม่ค่อยถูกบันทึกไว้ ทั้ง ๆ ที่ก็มีเรื่องที่น่าสนใจ (แต่ก็ไม่ได้สวยงาม) อย่างการที่มันมักจะถูกไปเลี้ยง หรือในบางกรณี… ลักพาตัว

เรื่องราวของลูกเพนกวินในแอนตาร์กติกาไม่ค่อยถูกบันทึกไว้ ทั้ง ๆ ที่ก็มีเรื่องที่น่าสนใจ (แต่ก็ไม่ได้สวยงาม) อย่างการที่มันมักจะถูกไปเลี้ยง หรือในบางกรณี…ลักพาตัว

ฝูงเพนกวินเล่นน้ำ อยู่ที่แอนตาร์กติกา

เพนกวินจักรพรรดิ (Emperor Penguin) เพนกวินที่ตัวใหญ่ที่สุดในโลก อาศัยอยู่ในแอนตาร์กติกา ปัจจุบันที่หลายคนยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความอดทนระหว่างพ่อแม่ลูกที่ต้องออกไปหาอาหารไกลหลายร้อยกิโลเมตรเพื่อเลี้ยงดูลูกน้อยให้เติบใหญ่ พวกมันช่างเป็นความน่ารักที่เห็นได้ทั่วกัน

แต่ธรรมชาติมักโหดร้ายเสมอ เมื่อมีครอบครัวที่อบอุ่น ก็ต้องมีครอบครัวที่สูญเสีย หลายครั้งพ่อหรือแม่ที่ออกไปหาอาหารไม่ได้มีโอกาสได้กลับมามองหน้าลูกของพวกเขาอีกครั้ง ทิ้งให้เพนกวินตัวน้อยที่ยังดูแลตัวเองไม่ได้ต้องอยู่โดดเดี่ยว โดยส่วนใหญ่แล้วพวกมันจะตายในท้ายที่สุด

ซึ่งทางทีมสารคดีบีบีซีเรื่อง ‘Dynasties’ พบว่า มันอาจตายจากการพยายามตามหาแม่ของมัน บางครั้งก็พยายามปีนขึ้นไปบนผาน้ำแข็งอย่างลนลาน จนอาจเกิดอุบัติเหตุตกลงมาบนพื้นถึงแก่ความตาย

แต่ไม่ใช่แค่มีเพียงลูกเพนกวินเท่านั้นที่สูญเสียพ่อแม่ไป พ่อแม่บางคู่ก็สูญเสียลูกน้อยไปเช่นกัน จนทำให้หลายครั้ง พ่อแม่ที่ลูกตายหลายคู่พยายามเอาลูกคนอื่นมาเป็นของตัว ถึงขั้นทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายกัน บางครั้งพวกเขาก็แย่งลูกกำพร้ากันเอง ซึ่งวิธีการแย่งก็รุนแรง บางครั้งพวกเขาจิกกัดเพนกวินน้อยจนเสียชีวิต

จากงานวิจัยเมื่อปี 1993 ที่ทำการศึกษาลูกเพนกวิน 2,068 ตัว พวกเขาพบว่า เพนกวินจักรพรรดิพ่อแม่รับเลี้ยงลูกเพนกวินประมาณ 28.7% แต่ที่น่าตกใจคือ เกินกว่าครึ่ง หรือ 53% เป็นการลักพาตัว!

และที่น่าเศร้า การรับเลี้ยงเหล่านี้มีเพียง 2% เท่านั้นที่เป็นการดูแลระยะยาว นั่นหมายความลูกเพนกวินเกือบทั้งหมดที่รับเลี้ยงมา ไม่ว่าจะกำพร้าจริง ๆ หรือถูกลักพาตัวมา ซึ่งส่วนใหญ่รับหรือลักมาแล้ว น้องเพนกวินก็ล้มตาย ส่วนการที่เพนกวินชอบรับเลี้ยงหรือลักพาตัวลูกตัวอื่นมานัเนเพราะมีระดับฮอร์โมนในสมองที่มีชื่อว่า ‘โปรแลคติน’ (Prolactin, PRL) หรือเรียกอีกชื่อว่า ‘ฮอร์โมนการเลี้ยงดู’ ซึ่งมีอยู่ในระดับสูงช่วงฤดูผสมพันธุ์ การค้นพบนี้เผยแพร่ในงานวิจัยเมื่อปี 2006 โดย PRL นี้ทำให้เพนกวินเกิดพฤติกรรมเลี้ยงดูลูกตลอด ถ้าเป็นลูกของตัวเองมันคงจะไม่มีปัญหาอะไร

เมื่อพ่อแม่ที่สูญเสียลูกของตัวเองไปแล้ว พวกเขาคงรู้สึกกดดันตัวเองตลอดเวลาว่า ‘ฉันจะต้องทำหน้าที่ดูแลเพนกวินตัวน้อย’ จนหลายครั้งความต้องการจากจิตใต้สำนึกนี้ก็ทำให้เกิดพฤติกรรมเลี้ยงหรือลักพาตัวลูกตัวอื่น เพนกวินที่มีระดับ PRL สูง มีแนวโน้มที่จะก่อเหตุลักพาตัวสูงตามไปด้วย

แม้ผลโดยรวมในตอนแรกจะเป็นไปในทางบวก ลูกเพนกวินได้รับอาหาร ได้รับการดูแล ได้รับการคุ้มครอง แต่ท้ายที่สุด เมื่อความพึงพอใจที่เกิดจากฮอร์โมนของผู้ลักพาตัวหมดลงไปแล้ว เพนกวินตัวน้อยหลายตัวก็ถูกทิ้ง เพราะไม่ใช้ลูกแท้ ๆ ของพวกมัน

หากมองอีกนัยหนึ่ง แม้เพนกวินจักรพรรดิจะมีพฤติกรรมเช่นนี้ แต่สำหรับคู่พ่อแม่ที่ดูแลลูกน้อยของพวกเขาจนสุดทางก็แสดงให้เห็นถึงความรัก ความผูกพัน ที่มากกว่าระดับฮอร์โมนในสมอง

พวกเขาช่างมีชีวิตที่ทรหดอดทนจนถึงที่สุด แต่ในตอนนี้ก็อยู่บนขอบเหวแห่งการสูญพันธุ์เต็มที่ เมื่อแอนตาร์กติกาที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งต้องเจอกับภาวะโลกที่กำลังทำลายบ้านของพวกเขา เราหวังว่าพวกเราเองจะช่วยให้เพนกวินสามารถดำเนินชีวิตไปตามที่พวกมันเป็นต่อไป นานเท่านาน

ข้อมูลจาก

  • Adoption in the emperor penguin, Aptenodytes forsteri – ScienceDirect
  • Penguin filmed caring for snowball | BBC Earth
  • Dynasties: From frozen eggs to stealing chicks – is the penguin story the most brutal ever? – Mirror Online
  • Young emperor penguins: where do they go? – Magazine Issue 15: 2008 – Australian Antarctic Program (antarctica.gov.au)
  • All About Penguins – Hatching & Care of Young| SeaWorld Parks & Entertainment
  • (252) Baby Penguin Transfer | Snow Chick: A Penguin’s Tale | BBC Earth – YouTube
  • Kidnapping of chicks in emperor penguins: a hormonal by-product? | Journal of Experimental Biology | The Company of Biologists
  • Reed Bio 342
  • (252) Fighting Over Abandoned Penguin Chick | Natural World: Penguins Of The Antarctic | BBC Earth – YouTube

Credit

Environman

Environman คือหนึ่งในสื่อออนไลน์ที่นำเสนอปัญหาสิ่งแวดล้อม เป้าหมายคืออยากทำให้โลกใบนี้ดีขึ้น ไม่เฉพาะการเป็นสังคมออนไลน์ที่แข็งแกร่ง แต่หวังให้ความรู้นำไปสู่การลงมือทำเพื่อเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นได้จริง

Related posts

KBank ชวนธุรกิจอาหารปรับตัวอย่างไร ในวันที่ความยั่งยืนไม่ใช่แค่การลด Food Waste

ท่ามกลางวิกฤตสิ่งแวดล้อมและแรงกดดันจากกฎระเบียบโลก KBank ได้เข้ามาเป็นพันธมิตรสำคัญเพื่อช่วยธุรกิจอาหารเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน

ความตายที่เงียบงัน : ธรรมชาติกำลังสูญเสียเสียง และมันเป็นสัญญาณที่น่ากังวล

ธรรมชาติเงียบเสียงลงมากขึ้นเมื่อเทียบกับหลายสิบปีก่อน มันแสดงให้เห็นว่าสิ่งต่าง ๆ กำลังสูญหายไป

มองโลกรวน ไซโคลน สงคราม ผ่านผู้ลี้ภัยในโมซัมบิกกับภารกิจของ UNHCR

ชะตากรรมในศูนย์พักพิงของคนที่ฝันอยากกลับบ้าน แต่กลับถูกซ้ำเติมด้วยภัยจากมนุษย์

แคดเมียม – สารเคมีอันตราย

สารโลหะหนักจำพวกเดียวกับปรอท ตะกั่ว สารหนู แคดเมียม สังกะสี ทองแดง อลูมิเนียม

‘อะไรอยู่ในท้องเต่า’ เพจที่ใช้ขยะมาเล่าเรื่องของเต่าและปัญหาในท้องทะเล

ของเหล่านี้มนุษย์เป็นคนใช้ แต่ใยไปจบอยู่ในท้องเต่า