Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

‘ธูปรักษ์โลก’ แบรนด์ธูปไทยลดควันที่ผลิตจากธรรมชาติ 100%

ว่าด้วยจุดเริ่มต้นที่อยากแก้สารก่อมะเร็งและลดมลพิษไปพร้อม ๆ กัน

ในความทรงจำตั้งแต่เล็กจนโตของหลาย ๆ บ้าน เราเชื่อว่าเรื่องการทำบุญไหว้พระคงเป็นอะไรที่คุ้นชินตากันแทบจะทุกคนแน่นอน เราเองก็เป็นหนึ่งในนั้น ภาพปู่ย่าจนมารุ่นพ่อแม่จุดธูปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในห้องพระ นั่งสมาธิ ไปวัดทำบุญตามโอกาส หรือในขณะเดียวกันก็จุดธูปไหว้บรรพบุรุษ ถวายเป็ด-ไก่ช่วงวันตรุษจีนเช่นกัน (เอ้า) แหงล่ะ บ้านเรามันพหุวัฒนธรรมตัวแม่อยู่แล้ว

สิ่งหนึ่งที่เรามักจะพบเห็นทุกเทศกาลบุญเอยบุญใจก็คือ ‘ธูป’ อันเป็นภาพแทนความเชื่อด้านศาสนา แต่ในยุคที่ผู้คนหันมาสนใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หลายครั้งเราก็อดคิดในใจไม่ได้ว่า 

‘จุดธูปเยอะ ๆ นี่มันปล่อยควันนะ’ 

‘จุดธูปเยอะแยะแบบนี้มันแสบบบบตาฉันเหลือเกิน’ 

แล้วจะทำยังไงถ้าใจยังศรัทธา แต่ก็ไม่อยากให้กระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ? (เชื่อเถอะว่าเราไม่ใช่คนแรกที่สงสัยและอยากหาทางออก แหะ ๆ) ด้วยความอยากรู้เลยลองเสิร์ชถามปู่เกิ้ลด้วยคีย์เวิร์ดตรงตัวแบบสุด ๆ คือ 

‘ธูปรักษ์โลก’ 

ลองดูซิ จะมีใครมาช่วยแก้ pain point ตรงนี้ไหม

ซึ่งผลการค้นหาก็ปรากฏชื่อแบรนด์หนึ่งขึ้นมาอย่างยืนหนึ่งยืนเดียว ชื่อว่าแบรนด์ ‘ธูปรักษ์โลก’ (เป็นชื่อที่ตรงคีย์เวิร์ด SEO แบบทำถึง ทำเกินร้อย) ด้วยความสงสัยจึงซื้อมาลองใช้ ไปจนถึงการติดต่อพูดคุยกับ ‘ชัชวาล สันทัดกรการ’ ถึงเบื้องหลังกว่าจะมาเป็นธูปรักษ์โลกที่ชื่อว่า ‘ธูปรักษ์โลก’

ก่อนพูดคุยกัน เราคาดเดาในใจมาพอตัวว่าธูปรักษ์โลกน่าจะเกิดจากการอยากลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก แต่จะจริงหรือไม่นั้น เราขอชวนทุกคนมาหาคำตอบไปในบทสนทนานี้ไปด้วยกัน 

ช่วงเริ่มบทสนทนา เราเปิดด้วยความสงสัยใน ‘ปัญหาของผู้บริโภค’ ที่ชัชวาลมองเห็นจนหยิบจับมาเป็นแบรนด์ธูปรักษ์โลก

เขาเล่าว่า จุดเริ่มต้นเลยนั้นได้มีโอกาสหยิบจับธุรกิจธูปไม้หอมที่เป็นมรดกสูตรตั้งแต่สมัยอยุธยามาต่อยอด โดยรับจากอาจารย์ท่านหนึ่งมาขายต่อ จำหน่ายได้สักพักก็เจอกับจุดเปลี่ยนสำคัญคือ มีช่วงหนึ่งที่มีข่าวว่าธูปมีสารก่อมะเร็ง ทำให้คนเลิกซื้อธูปกันไปเยอะมากและยอดขายตก ประกอบกับช่วงนั้นเจอวิกฤตน้ำท่วมปี 2554 ทำให้โรงงานทำธูปเสียหายหนัก จนเกิดเป็นเส้นทางใหม่จากธูปหอมมาเป็นธูปธรรมดา 

“ก่อนหน้านี้เราทำธูปกลิ่นหอม แต่ก็โดนแบรนด์จีนตีตลอด ขายไม่ค่อยได้ ก็เลยเปลี่ยนมาเป็นธูปดี ๆ ซึ่งปรับราคาแพงขึ้นมา แต่สุดท้ายก็แข่งกับตลาดยากอีก คนก็ไม่ค่อยสู้ด้วย เรามาก่อนกาลเกินไป”

ธูปรักษ์โลกที่เริ่มจากรักสุขภาพก่อน

เวลาที่เราบอกว่า ‘จุดธูปเสี่ยงมะเร็ง’ แม้จะเป็นคนที่ใช้ธูปเองหรือคนที่อยู่แวดล้อม เราก็คิดว่าทุกคนคงระแวงไปตาม ๆ กัน ซึ่งอันตรายนี้ก็เป็นเรื่องจริงและเป็นเรื่องที่คนอาจไม่ค่อยตระหนักรู้ 

หรือรู้ตัวอีกที มันก็อาจจะมาเคาะประตูที่ปอดเราแล้ว

จากผลสรุปงานวิจัย “สารก่อมะเร็ง : ภัยเงียบที่มากับควันธูป” ของ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ และ ดร.พนิดานวสัมฤทธิ์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ระบุว่า ในควันธูปมีสารก่อมะเร็ง 3 ชนิด ได้แก่ เบนซิน บิวทาไดอีน และเบนโซเอไพรีน ซึ่งก็มาจากการเผาไหม้กาว น้ำหอมสกัด ไม้ และสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม

ที่มา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

โจทย์หลักที่ยากที่สุดของธูปรักษ์โลกจึงเป็นการหาวัสดุใหม่ที่ไร้สารก่อมะเร็ง

“วัสดุธรรมชาติที่ให้ความหอมยังไงก็มีอันตราย ทั้งผงดอกธูปที่ใช้ขี้เรื่อยไม้ยางพารา ซึ่งนิยมในตลาดมาก ด้วยความที่ต้นมีมอดเยอะ ก็ต้องใส่ยาฆ่าแมลง เคลือบยาค่ามอด จนทำให้เป็นสารเคมีในเนื้อไม้

หรือบางเจ้าก็มีการเพิ่มน้ำหนักธูปโดยการใส่ปูนขาว ใช้แคลเซียมคาร์บอนเนตทำให้ธูปเยอะขึ้น” เขาเล่าถึงเบื้องหลังธูปให้ฟัง

ธูปรักษ์โลกจึงรับเอาโจทย์นี้มาปรุงแต่งใหม่โดยใช้วัสดุธรรมชาติมาเป็นวัตดุดิบ 100%

ทั้งผงธูปที่ทำมาจากถ่านไม้ยางบงและซังข้าวโพดที่มาจากขยะในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ นำไปตากให้แห้งแล้วมาบดเป็นผงธูป

ก้านธูปผลิตจากไผ่สีสุกที่ผ่านการต้มสกัดน้ำส้มควันไม้ออก (ส่วนที่เป็นสารพิษในเนื้อไม้) แล้วนำมาตากแห้ง 

โดยในการทดสอบสารก่อมะเร็ง พบว่าในควันไม่มีสารเบนซีนและบิวทาไดอีนอันเป็นสารก่อมะเร็งเหมือนในธูปทั่วไป เท่ากับว่า ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 

รวมถึงผลการนำไปทดสอบควันธูปในห้องปฏิบัติการเทียบกับค่ามาตรฐาน WHO ระบุว่า ธูปรักษ์โลกผ่านการทดสอบสารก่อมะเร็งทั้ง 7 สาร และค่าการก่อให้เกิดปริมาณฝุ่นโดยรวมมีเพียง 0.125 มก./ลบ.ม. ซึ่งน้อยกว่าค่ามาตรฐาน 15 มก./ลบ.ม.

แม้ตั้งเป้าหมายจะชัดเจน แต่ก็ยังมีอุปสรรคในท้องตลาด

“ความท้าทายคือราคาเราสูงกว่าในท้องตลาด และเรามาก่อนกาลเกินไปก่อนหน้านั้น ในยุคที่คนยังไม่ค่อยสนใจเรื่องนี้”

ชัชวาลเล่าว่า ด้วยความครึ่ง ๆ กลาง ๆ ของกลุ่มเป้าหมายเลยทำให้ธุรกิจพุ่งไปในทางที่คาดหวังไม่ได้เท่าที่ควร อย่างคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมก็อาจจะไม่ได้ทำบุญไหว้พระบ่อยนัก ในขณะที่กลุ่มที่ทำบุญไหว้พระ ต้องใช้ธูปบ่อย ๆ ก็เป็นกลุ่มที่ไม่ได้ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือผลกระทบเท่าไหร่ จึงทำให้เรื่องของการขยายกลุ่มเป้าหมายนั้นค่อนข้างยาก

ความศรัทธาในพุทธศาสนาและความรักในการผลิตเครื่องหอมหลอมรวมกันจนเกิดเป็นแบรนด์ธูปรักษ์โลกและอีกหนึ่งแบรนด์ที่ชื่อว่า ‘อะกาลิโก’ ของชัชวาล อันเป็นแบรนด์เครื่องหอมที่ตั้งขึ้นก่อนหน้านี้

 ‘อะกาลิโก’ คำนี้ ฟังดูมงคลและคุ้นหูไปพร้อม ๆ กัน แม้จะเคยได้ยินในบทสวดบ่อย ๆ แต่เราก็ไม่เคยรู้คำแปลอย่างถูกจริง ๆ เสียที 

อะกาลิโก แปลว่า ไม่ขึ้นกับกาลเวลา 

ชัชวาลเล่าว่าที่เขาหยิบอะกาลิโกมาตั้งเป็นชื่อแบรนด์เครื่องหอมนั้นก็เพราะมองว่า เรื่องของเครื่องหอมนั้นมีอายุมาเป็นพัน ๆ ปี รวมถึงมีคุณสมบัติแห่งกลิ่นหอมที่ยาวนาน ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นที่ถูกผลิตออกมาจึงอยากให้เป็นตัวแทนแห่งความหอมที่ไม่มีวันจางหาย ต่อเนื่องมาจนธูปรักษ์โลกที่ขยายในภายหลังและหยิบเอาเรื่องของการรักษ์โลกและดีต่อสุขภาพเข้ามาผสม อันเป็นเหมือนจุดกึ่งกลางที่เชื่อมระหว่างความศรัทธาและการลดผลกระทบต่อสิ่งรอบตัวไปพร้อม ๆ กัน

แล้วถ้ามองไปไกลกว่านั้นล่ะ? เราทำอะไรกับปัญหาฝุ่นควันได้บ้าง?

เมื่อธูปรักษ์โลกแปะป้ายตัวเองว่าเป็นธูปควันน้อย ธูปที่ลดสารก่อมะเร็งแล้ว เราก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ในมุมมองของชัชวาล เขามองเห็นปัญหาเรื่องของฝุ่น PM2.5 หรือมลพิษทางอากาศที่เรากำลังประสบปัญหากันอย่างไรบ้าง

มองเรื่องการแก้ปัญหาฝุ่นควัน มลพิษทางอากาศยังไงบ้าง?

“ผมอยากให้หน่วยงานภาครัฐจริงจังกับเรื่องนี้มากขึ้น คุณส่งตัวแทนไปทั่วโลก แต่กลับไม่จริงจังกับมัน อย่างเรื่องฝุ่น PM2.5 โครงการต่าง ๆ ความยั่งยืนก็ไม่มี เราเองไม่ได้หวังผลทางธุรกิจ แต่หวังว่าอากาศจะดีขึ้น จากที่คนต้องเดินหนีธูปแบบอี๋ มะเร็ง เราอยากให้มันมีทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ แล้วต่อมาก็ค่อยดีต่อโลกตามไป

อย่างเรื่องธูปเอง ผมมองว่าถ้าเราบอกให้คนต้องหันมาสนใจธูปรักษ์โลกเราเพราะรักษ์โลกเป็นหลักก็คงยาก แต่ถ้าเป็นเรื่องสุขภาพ เรื่องโรคมะเร็ง ผลที่เกิดตามมา มันก็เป็นเรื่องใกล้ตัวที่คนน่าจะต้องสนใจกันมากขึ้น

ในไทยเรานี่คนแก่กันก่อนจะรวยอีก คือเอาชีวิตรอดยังยากเลย จะไปบอกให้เขาสนใจสิ่งแวดล้อมก็ยาก หรืออย่างคนรุ่นที่หันมาสนใจมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ใช่ทุกคนอีก ดังนั้น มันก็อาจจะเป็นเรื่องของผลกระทบ สุขภาพที่เขาจะต้องเจอด้วยเหมือนกัน”

ตอนนี้ผลิตภัณฑ์ของธูปรักษ์โลกมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ได้แก่ ธูปรักษ์โลก บูชาพระกลิ่นมะลิ / ธูปรักษ์โลก บูชาพระกลิ่นเทพประทานพร และ ธูปรักษ์โลก ธูปตะไคร้หอมไล่ยุง ราคาอยู่ที่ 60-75 บาท ใครที่สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ Line ID : @raklokincense หรือ Facebook Fanpage: ธูปรักษ์โลก 

Credit

Environman

Environman คือหนึ่งในสื่อออนไลน์ที่นำเสนอปัญหาสิ่งแวดล้อม เป้าหมายคืออยากทำให้โลกใบนี้ดีขึ้น ไม่เฉพาะการเป็นสังคมออนไลน์ที่แข็งแกร่ง แต่หวังให้ความรู้นำไปสู่การลงมือทำเพื่อเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นได้จริง